++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

พลูโต ดาวเคราะห์ลึกลับ แห่งสุริยะ

ดาวดวงเด่นดัง ที่กำลังถูกกล่าว ขวัญถึง อย่างอึงคะนึงในขณะนี้ ไม่ใช่ดาราหุ่นเซ็กซี่ แต่เป็นดาวแท้ๆ ที่มีชื่อว่า พลูโต หรือดาวเคราะห์ น้องน้อยดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ เรื่องราวความลับของ ดาวพลูโต ถูกนักดาราศาสตร์ นำมาแฉจน หมดเปลือก ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ อันสวยหรูของพลูโตอาจจะ ไม่ได้เป็นเหมือน อย่างที่เคย ซึ่ง ทีมงานต่วย\'ตูน ขอนำมาถ่ายทอดใน ซันเดย์ สเปเชียล หนนี้ นับแต่วันที่นักดาราศาสตร์ ไคลด์ ทอมบาฟ ค้น พบดาวพลูโตเมื่อปี 1930 พลูโตก็ได้รับ ตำแหน่งดาวลึกลับชวนพิศวงมาตั้งแต่นั้น ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ถูกยานสำรวจไปแอบ ถ่ายภาพ พื้นผิวอันเปล่าเปลือยมาให้ชาวโลกเชยชมหมดแล้ว เหลือเพียงดาวพลูโตดวงเดียว ความที่มันอยู่ไกล จากดวงอาทิตย์ที่สุด จึงไม่มีสิ่งใดสามารถเจาะทะลุเข้าไปล้วงความลับ ของมันได้ ยกเว้นกล้องโทรทรรศน์ประสิทธิภาพสูง บนพลูโตมีแต่ ความมืดมิด แม้ในยาม กลางวัน ดวงอาทิตย์เป็นเพียง จุดเล็กๆ อยู่ห่างออกไป หกพันล้านกิโลเมตร บรรยากาศหนาว เย็น -230 องศาเซลเซียส ปีหนึ่งของที่นี่เท่ากับ 248 ปีบนโลก พลูโตน่าจะเป็น ดาวเคราะห์ในฝันของ สาวๆ ชาวโลก ที่นี่พวกเธอจะอ่อนเยาว์ ตลอดกาล เพราะต่อให้หนังเหนียว จนเหี่ยวอย่างไร ก็ไม่มีวันมีอายุครบ หนึ่งขวบ บนนี้ยังมีแรง ดึงดูดน้อยมาก สาวๆ ชาวโลกที่อ้วนเผละถึง 83 กก. จะมีนํ้าหนัก ลดฮวบเหลือแค่ 3 กก. ในพริบตา หลายคนยกตำแหน่ง "ดาวตลก" ให้กับดาวพลูโต เพราะมันชอบทำตัวเพี้ยนๆ ไม่สมกับมาตรฐานของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ ประกอบด้วยก๊าซ และของเหลว แต่พลูโตเป็นแค่ก้อนหินและ นํ้าแข็ง ดาวเคราะห์ดวงอื่น โคจรรอบ ดวงอาทิตย์ เป็นวงกลม พลูโตแหกคอก ด้วยการโคจรเป็นวงรี บางครั้งยังเที่ยว แวะเวียนเข้าไปในวงโคจรของ ดาวเนปจูน โดยปกติของทุกอย่างจะเย็นขึ้น เมื่อยิ่งอยู่ ไกลแหล่งความร้อน แต่พลูโตกลับร้อนขึ้น เมื่อยิ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ไม่มีใครรู้ว่าทำไม มาถึงเรื่องขนาด ซึ่งชาวโลกถือว่าสำคัญนัก สำคัญหนา พลูโตถูกตำหนิว่ามีขนาดเล็ก ที่สุดและ ใหญ่ไม่ถึงครึ่ง ของดาวเคราะห์ ดวงอื่นๆ พูด แล้วจะหาว่านินทา ขนาดของ มันเล็กยิ่งกว่า ประเทศสหรัฐฯเสียอีก! เป็นเหตุให้มีเสียง ค่อนแคะ ค่อนข้างมากว่า แล้วอย่างนี้ ยังมีหน้า จะดำรงตำแหน่ง ดาวเคราะห์ อยู่อีกหรือ? นักดาราศาสตร์ หลายคน จึงเห็นว่า น่าจะลดระดับ มันให้เป็นแค่ ดาว เคราะห์น้อย พลูโตยังบกพร่อง ในเรื่องการบริหาร บริวารดวงเดียว องมันที่ชื่อ คารอน ดวงจันทร์ดวงอื่นๆ ต่างก้มหน้าก้มตา โคจรรอบ ดาวเคราะห์ไปอย่างนอบน้อม แต่คารอนกับพลูโตกลับแกว่งไกว หมุนรอบกันไป มาราวกับเป็นเพื่อนคู่หูกันเสีย มากกว่า คารอนได้ครองตำแหน่งดวงจันทร์ ที่ใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะ (เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ที่มันเป็นบริวาร) เพราะใหญ่ เกินหน้า เกินตากว่าครึ่งค่อนของพลูโต นักดาราศาสตร์หลายคนพยายาม หาสาเหตุของพฤติกรรม ไม่อยู่กับ ร่องกับรอยของพลูโต พลางสงสัยว่า บริเวณสุดขอบระบบ สุริยะของเราจะต้อง มีอะไรมากกว่า ความเวิ้งว้างว่างเปล่า ในปี 1950 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เจอราร์ด ไคเพอร์ ไขปริศนาว่า ใกล้ๆ พลูโต จะต้องมีวัตถุนํ้าแข็งขนาดเล็กๆ กระจัด กระจายอยู่เป็นแถบ ซึ่งต่อมามีชื่อ เรียกตามเขาว่า แถบไคเพอร์ สมัยนั้น การส่องกล้องดูพลูโต ก็เหมือน กับการ พยายามอ่าน เลขท้าย ที่อยู่บน ใบเรียงเบอร์ โดยยืนห่างออกไป 80 กม. นั่นแหละ ต่อมาในปี 1992 เดฟ เจวิทท์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย กับ เจน ลู แห่งมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย ได้ส่องกล้อง โทรทรรศน์ไปพบวัตถุ อันเลือนรางโคจร อยู่รอบดวงอาทิตย์ มันอยู่ไกล พอๆ กับพลูโต พวกเขาสงสัยว่า อาจได้พบวัตถุดวงแรก ในแถบไคเพอร์ (Kuiper Belt Objects-KBOs) เข้าให้แล้ว? ถ้าแทงหวย พวกเขาก็คงรวย วัตถุก้อนนั้น ในวันนี้มีชื่อเรียกว่า 1992QB1 เป็นเศษหินและ นํ้าแข็งที่หลงเหลือ จากการก่อ กำเนิดระบบสุริยะ มีเส้นผ่า ศูนย์กลางราว 300 กม. นับแต่นั้นก็ได้ค้น พบวัตถุในแถบไคเพอร์อีกมากกว่า 500 ดวง จากจำนวน ทั้งหมดที่ นักดาราศาสตร์ คำนวณไว้คือ 70,000 ดวง มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 100-900 กม. โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 12,000-15,000 ล้าน กม. จึงมักถูกเรียกว่าปราการสุดท้ายของ ระบบสุริยะ การค้นพบครั้งนี้ทำให้ล่วงรู้ไปถึงกำพืดของพลูโต นักดาราศาสตร์พบว่า วัตถุในแถบไคเพอร์ มีขนาดและรูปร่างไม่ต่างจากพลูโต จึงได้รับฉายาว่า พลูโตน้อย แล้วมี อีกอย่างที่เหมือนพลูโต คือ บรรดาพลูโตน้อยโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยใช้เวลายาวนานกว่าเนปจูนประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ความลับที่พลูโตเก็บงำมานาน เปิดเผยออก มาหมด เช่นว่า ทำไมพลูโตถึงได้มี ดวงจันทร์ ขนาดใหญ่อย่างนั้น? ก็ เพราะพลูโตกับชารอน เป็นซี้เก่ามาตั้งแต่ หลายพันล้านปีก่อน ทั้งคู่เติบโตมาด้วยกัน ในแถบไคเพอร์ จนกระทั่งวันหนึ่งถูก ดาว เนปจูนล่อลวง ออกจากกลุ่ม ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดว่า พลูโตคือเศษก้อนหิน ในแถบไคเพอร์ ซึ่งโชคชะตาดลบันดาล ให้มันมา อยู่ ในที่ที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะเหม็ง จนในที่สุดก็มีคนเล็งเห็นและเลื่อนขั้น ให้มันเป็น "ดาวเคราะห์" ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ ยังมีสิ่งน่าสนใจที่ผลุบโผล่ออกมาจากแถบไคเพอร์ ล่าสุดนักดาราศาสตร์สองคนได้พบ วัตถุขนาดยักษ์ชื่อว่า ควอวาร์ หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า 2002LM60 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,300 กม. เท่ากับครึ่งหนึ่งของพลูโต และนับว่าใหญ่ที่สุดในบรรดา วัตถุในแถบไคเพอร์กว่า 500 ดวงที่ถูกค้นพบ ขณะเดียวกัน นักดาราศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ที่ริมขอบระบบสุริยะยัง น่าจะมีอะไร ที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก อาจมีดาวเคราะห์เอ็กซ์หรือดาวเคราะห์ดวงที่สิบของระบบสุริยะ แอบซ่อนอยู่ก็เป็นได้ ทั้งนี้ เพราะวงโคจรที่ส่ายไปมาไม่สม่ำเสมอของยูเรนัสและเนปจูนฟ้องว่า น่าจะมีดาวเคราะห์ลึกลับขนาดมหึมาอยู่เบื้องหลัง ซึ่งมีแรงดึงดูดให้ยูเรนัสและเนปจูน ออกนอกลู่นอกทางโครจรของตัวเอง นี่คือความลับ ที่ริมขอบระบบสุริยะ อีกข้อหนึ่ง ซึ่งรอการค้นพบจากยานสำรวจ นิวฮอไรซันส์ ของนาซา ซึ่งจะออกเดินทาง ในปี 2006 และไปค้นหาความจริง บนดาวพลูโตและ คารอนในปี 2015 บรรดานักวิทยาศาสตร์ตั้งความหวังว่า จะได้พบโลกที่ลึกลับซับซ้อน ประกอบด้วย บริเวณที่ "มืด ดำยิ่งกว่าถ่าน" และ "ขาวโพลนยิ่งกว่าหิมะ" จากนั้นในปี 2026 ยานอวกาศจะมุ่งหน้าไป สำรวจแถบไคเพอร์ เป็นอันดับต่อไป แต่กว่าจะถึงวันนั้น ก็ได้แต่หวังว่าดาวเคราะห์ เอ้อ...เศษหินอย่างพลูโต ผู้เป็นซินเดอเรลลา แห่งห้วงอวกาศ จะคง ยังไม่หมดราศีและความน่าพิสมัยไปเสียก่อน.

ทีมงาน ต่วย\'ตูน และ "วัชรีวรรณ วรศิลป์"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น