ทญ.ณัฐพร ยูรวงศ์ นักศึกษาโครงการปริญญาเอก
กาญจนาภิเษก (คปก.) ภาควิชาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ทำวิจัยเรื่องโรคฟันผุในเด็ก ที่ได้รับสารตะกั่วบริเวณอู่ต่อเรือ กล่าวว่า จากการศึกษาบริเวณอู่ต่อเรือ ตำบลเขาแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา พบว่า ในจำนวนเด็กที่สำรวจ 292 คน มี 60 คน หรือร้อยละ 30 มีสารตะกั่วในเลือดอยู่ในปริมาณที่สูงกว่า 10 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ถือเป็นระดับที่อันตราย ต่อการพัฒนาสติปัญญาและร่างกายมนุษย์ ประกอบกับมีข้อมูลจากต่างประเทศระบุว่า จากการตั้งข้อสังเกตพบว่า การที่มีระดับตะกั่วสูงในเลือด อาจจะมีผลให้เกิดโรคฟันผุสูงขึ้น จึงทำวิจัยเพื่อศึกษาว่า สารตะกั่วมีความสัมพันธ์กับฟันผุจริงหรือไม่ อย่างไร พบว่าเด็กทั้งหมด มีฟันผุในปากอย่างน้อย 1 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 90
ทญ.ณัฐพรกล่าว ทญ.ณัฐพรกล่าวต่อว่า จากตัวเลขแสดงถึงความชุกของโรคฟ\'นผุมีสูงและรุนแรงมาก และพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับสารตะกั่วในเลือดกับฟันผุในฟันน้ำนม คือเมื่อระดับ ตะกั่วเพิ่มขึ้น ก็จะพบจำนวนฟันผุและอุดในฟันน้ำนมสูงขึ้นตามไปด้วยการที่ยังไม่พบโรคฟันผุ ในฟันแท้ที่ชัดเจน อาจเนื่องจากเป็นช่วงที่เปลี่ยนจากฟันน้ำนมมาเป็นฟันแท้ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า บริเวณอู่ต่อเรือแห่งนี้ ชาวประมงนิยมใช้เสนิ ซึ่งมีลักษณะเป็นผง มาเป็นส่วนผสมในการซ่อมเรือ โดยเสนินี้เป็นสารประกอบตะกั่วออกไซด์ ฉะนั้น โอกาสของการปนเปื้อนของสารตะกั่วของคนงานบริเวณอู่ต่อเรือ และประชาชนที่อยู่อาศัย รอบๆอู่ต่อเรือจึงมีสูง เพราะสารตะกั่วสามารถแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในดิน น้ำ ฝุ่น และอากาศ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น