++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

ผาบ่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

เรียบเรียงโดย ณัฐฏ์ รัตนกานต์

      "แม่ฮ่องสอน" เมืองที่สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา เมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นชาวเขาเผ่าปกากญอ หรือ ชาวไทยใหญ่ คนในชุมชนเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลซึ่งจัดว่ามีความยากลำบาก ในการรับบริการทางสุขภาพกับระบบบริการสุขภาพที่รัฐจัดให้


      ผาบ่อง หนึ่งในตำบลที่อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้นำชื่อ นายอภิชาติ ปัญญามูลวงษา เป้น นายก อบต. ที่เป็นคนในพื้นที่และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาบ้านเกิดของตน มีมุมมองเกี่ยวกับกองทุนฯ ว่า "มุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพดี " และวางเป้าหมายหลักของกองทุนไว้ว่า เน้นการดูแลสุขภาพของประชาชนให้ดีที่สุด คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด ถึงแม้ว่าลักษณะพื้นที่ในท้องถิ่นไม่อำนวยก็ตาม

      "ที่ผ่านมาโครงการส่งเสริมสุขภาพมักมาจากเจ้าหน้าที่อนามัย เพราะเรื่องสุขภาพนี่เรายกให้เขาดำเนินการ และเรากฌสนับสนุนงบประมาณให้ เพราะประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องกองทุนฯ ในระยะแรกก็รู้อยู่ว่า พื้นที่รับผิดชอบของเราอยู่ไกลมาก กว่าเขาจะเดินทางเข้าร่วมประชุมได้ บางหมู่บ้านต้องใช้เวลาเดินเป็นวัน"


      อย่างที่นายก อบต. ได้กล่าวไว้ ช่วงแรกในการดำเนินงาน ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อนามัย กับ อบต. เป้นผู้จัดการในการดำเนินโครงการ เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นสำคัญ ต่อมาภายหลัง จึงเกิดการพัฒนาขึ้น ดังที่ นายก อบต.เล่าให้ฟังว่า

     " ที่ผ่านมามีปัญหาการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนฯ เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจเพราะเป็นเรื่องใหม่ และสภาพพื้นที่ลำบากในการเข้าถึง แต่ภายหลังที่ อบต.เรียกประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนฯ ระหว่าง อบต. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตัวแทนหมู่บ้านและ อสม. จึงทำให้ตัวแทนทุกหมู่บ้านประชาสัมพันธ์ต่อ หรือประชุมชี้แจงในที่ประชุมประจำเดือนและให้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของแต่ละหมู่บ้าน"


     สิ่งที่กล่าวไปนั้นทำให้เรียนรู้ว่า การประชาสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง แต่ที่สำคัญมากกว่านั้น คือ วิธรการในการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง ทั้งที่บริบทที่หลากหลายของคนในพื้นที่นั้นน่าจะก่อให้เกิดปัญหา แต่นักพัฒนาอย่างผู้นำสามารถหาวิธีทดสอบ ลองผิดลองถูก แล้วนำผลที่ได้จากการปฏิบัติ มาวางเป็นแนวทางในการดำเนินงานใหม่ต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง



     โครงการที่วางแผนงานจากความต้องการของชุมชนในผาบ่องเช่น "โครงการน้ำเต้าหู้" โครงการนี้มีส่วนในการดูแลเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุรวมถึงสุขภาพจิตด้วย เพราะการเข้าไปดำเนินงานในโครงการนั้น ทีมงานจะมีการพุดคุยกับผู้สูงอายุเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนางานต่อไป และตัวผู้สูงอายุเอง มีความรู้สึกใกล้ชิดและอุ่นใจขึ้นในเรื่องสุขภาพเมื่อมีคนเข้าไปดูแล โครงการนี้ยังก่อให้เกิดความเข้าใจ และทำให้ทราบความต้องการของผู้สูงอายุ ว่าต้องการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้นอีกด้วย

      "ตอนนี้เงินที่เขาให้มาก็ไม่มีแล้ว เราจะทำยังไงให้เงินในกองทุนฯเพิ่มขึ้นมา ก็มีความคิดร่วมกันว่า เราจะทำยังไง เราต้องคุยกันทั้ง อบต. เจ้าหน้าที่อนามัย อสม. ต้องร่วมกันคิดว่าจะให้หลักประกันสุขภาพเรา ให้เรามีเงินสมทบขึ้นมาหน่อยนึงต้องทำยังไง"

      นี่เป็นจุดเริ่มต้น ที่เป็นจุดเปลียนแนวความคิดของคนในชุมชนว่า ชาวบ้านเองก็อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลกองทุนฯ ด้วยตนเอง เพราะเขาเริ่มมีความรู้สึกว่า สุขภาพเป็นเรื่องของเขา เขาจึงอยากร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมเป็นเจ้าของ โดยให้คณะกรรมการกองทุนฯ เป็นเพียงผู้สนับสนุนโครงการ

      เห็นไหมเล่าว่า ฟ้ากว้าง ทางไกลหรือ ชาติพันธุ์ไหนๆ ใครๆต่างก้อยากสร้างหลักประกันสุขภาพที่มั่นคง ให้เกิดขึ้นกับชุมชนของตนกันทั้งนั้น ดูจากชาวชุมชนผาบ่องนั่นอย่างไร

ข้อมูลประกอบการเขียนโดย
วราพร วันไชยธนวงศ์
เจนนารา สิทธิเหรียญชัย
อัญชลี นิลเป็ง
จินตนา พรสัมฤทธิ์โชค
สุภาพร อิศรางกูร ณ อยุธยา
วพบ.เชียงใหม่




ที่มา ถอดบทเรียน การดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
(กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต. และเทศบาล) ในพื้นที่ต้นแบบทั่วประเทศ กรณีศึกษา ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง
เลข  ISBN : 978-974-379-047-8
ธันวาคม 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น