++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

เข้าวัดไหว้พระสะสมบุญ

To:

พลิกตำนาน ๔๕๕ ปี วัดแก้วฟ้า

วัดแก้วฟ้า เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๔๕ หมู่ ๕ ต.บางขนุน
อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูปลัดไพศาล
กิตฺติภทฺโท (บำรุงแคว้น)

จากหลักฐานทางเอกสารกล่าวว่า สร้างสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๑๖ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑)
แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง

ชื่อ วัดแก้วฟ้า ตรงกับพระนามของพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ ๑๔ คือ
สมเด็จพระเจ้าแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) (พ.ศ. ๒๐๙๐-๒๐๙๑)
ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราชกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์

โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่

๑.อุโบสถหลังเก่า ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย แบบทรงโรง
มุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา ไม่เคลือบสี ตรงกลางมีเทพพนม
ชายคามีเทพพนมอุดปลาย อาคารเครื่องก่อ ผนังรับน้ำหนัก ฝาผนังหุ้มกลอง
ก่ออิฐดอกไก่ ขนาด ๕ ห้อง ขนาดกว้าง ๙.๕๐ เมตร ยาว ๒๒.๗๐ เมตร
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป พระประธานที่เรียกว่ากันว่า หลวงพ่อโต
หรือหลวงพ่อใหญ่ บนฐานชุกชี ด้านหน้ามีประตู ๒ ประตู ด้านหลังทึบ
ไม่มีประตู ด้านข้างอุโบสถมีหน้าต่างด้านละ ๔ ช่อง พร้อมกับซุ้มหน้าต่าง
มีลวดลายปูนปั้น ฐานอุโบสถมีลักษณะแอ่นโค้งแบบเรือสำเภา
ด้านหน้าอุโบสถมีพาไล วัดแก้วฟ้า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๒๑๑๐
และผูกพัทธสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๑๑๔

๒.กำแพงแก้ว เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย
ลักษณะเป็นกำแพงบัวหลังเจียดมีเสาประตูกำแพงแก้วเป็นเสาหัวเม็ดทรงมัณฑ์
อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ด้านละ ๑ ช่อง

๓.ใบเสมา ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ทำด้วยศิลาทรายสีแดง มีลวดลายจำหลัก
ตั้งอยู่บนฐานเท้าสิงห์ ในซุ้มทรงกูบช้าง ซุ้มใบเสมาทั้งหมด ๘ ซุ้ม
ตั้งล้อมรอบอุโบสถ

๔.เจดีย์ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย มีอยู่ ๒ แบบ คือ
๑.เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่มุมกำแพงแก้ว ด้านนอก ทั้ง ๔ มุม และ
๒.เจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ฐานสิงห์ยอดบัวกลุ่ม องค์ใหญ่ จำนวน ๑ องค์
ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถนอกกำแพงแก้ว
ลักษณะเจดีย์แบบนี้เป็นประเพณีที่สร้างตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา
จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

โบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่

๑.พระประธานในอุโบสถหลังเก่า พระประธานองค์นี้เรียกกันว่า หลวงพ่อโต
หรือหลวงพ่อใหญ่ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยศิลาทรายสีแดง
ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมถอดเป็นชิ้นๆ ได้
ต่อมาได้ลงรักปิดทองทั้งองค์
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นปูชนียวัตถุที่เคารพนับถือของชาวบ้านว่าเป็นพระพุทธ
รูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก

๒.พระพุทธรูปองค์รองทั้งหมดในอุโบสถหลังเก่า
ทำด้วยศิลาทรายสีแดงศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย และ ๓.สมุดข่อย หรือสมุดไทย
ทำด้วยกระดาษจากต้นข่อยลักษณะแบบไทยมีภาพประกอบ
เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์อักษร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕


รวมบุญสร้างโบสถ์หลังใหม่

พระครูปลัดไพศาล บอกว่า ขณะนี้วัดแก้วฟ้ามีการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่
เป็นอาคารคอนกรีตเสริม
โดยในอนาคตจะจัดทำแผนแม่บทวางแผนผังในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา
การพัฒนา การปฏิบัติธรรม รวมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถหลังเก่า
ตลอดจนซุ้มเสมา กำแพงแก้วและเจดีย์ ทั้งนี้วัดนำพระถ้ำเสือ กรุวัดหลวง
อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และ พระสมเด็จนางพญากรุเก่า จ.พิษณุโลก
ออกมาให้บูชาเพื่อสมบททุนการก่อสร้าง

สำหรับที่มาของพระถ้ำเสือนั้น
เป็นพระที่ขุดพบโดยพระลูกวัดหลวงเมื่อวันที่ ๑๙ ส.ค. ๒๕๔๙
ขณะไปถางหญ้าเตรียมที่สำหรับปลูกต้นไม้
และได้ขุดดินลงไปพบบรรจุอยู่ในไหโบราณจำนวนหนึ่ง
หลังจากนั้นได้ทำพิธีบวงสรวงและนำมามอบให้วัดแก้วฟ้าเพื่อนำออกให้ผู้ที่
สนใจทำบุญบูชานำรายได้สมทบทุนบูรณะอุโบสถวัดหลวง

ส่วนพระสมเด็จนางพญากรุเก่า เดิมทีเป็นสมบัติของ พระมงคลทิพย์มุนี
(หลวงพ่อเมี้ยน) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ท่าเตียน)
อดีตพระหมอที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านรักษาต่อกระดูกอาบน้ำมนต์
โดยหลวงพ่อเมี้ยนได้รับพระสมเด็จกรุนางพญาจากเจ้าอาวาสวัดนางพญา
จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นสหธรรมิกกัน เมื่อครั้งที่ตามเสด็จ สมเด็จพระสังฆราช
(ป๋า) วัดพระเชตุพนฯ ออกตรวจการณ์คณะสงฆ์ที่วัดนางพญา มณฑลพิษณุโลก
อย่างไรก็ตามก่อนมรณภาพได้มอบให้ พระเทพสิทธิวิมล (ประเสริฐ)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ ซึ่งต่อมาเจ้าคุณประเสริฐเห็นว่า
อุโบสถหลังเก่าอายุ ๔๕๔ ปีของวัดแก้วฟ้าทรุดโทรมอย่างมาก
จึงนำมามอบให้วัดแก้วฟ้า
เพื่อมอบเป็นของขวัญแก่ท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์
อุโบสถหลังนี้ให้เป็นมหาวิหารที่คงทนถาวรสืบไป

พระครูปลัดไพศาล บอกด้วยว่า
เพื่อให้บังเกิดความเข้มขลังในพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์อย่างเต็มที่
ทางวัดจึงจัดพิธีพุทธาภิเษก สมโภชถึง ๒ วาระ โดยครั้งแรก ณ
อุโบสถเก่าแก่ของวัดแก้วฟ้า เมื่อวันที่ ๓๑ ส.ค. ๒๕๔๙
โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานจุดเทียนชัย
พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคร่วมประจุพุทธาคมอย่างเข้มขลัง เช่น
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน หลวงพ่ออั๊บ วัดท้องไทร หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม
หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว ฯลฯ และครั้งที่ ๒
ได้เข้าร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษก "สมเด็จพระนวมินทรศาสดา" ของมูลนิธิ ๕
ธันวามหาราช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เมื่อวันที่
๑๑ ก.ย.๒๕๔๙

อย่างไรก็ตามพุทธศาสนิชนท่านใดสนใจเช่าบูชาพระถ้ำเสือ
เพื่อสมบททุนสร้างอุโบสถวัดแก้วฟ้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โท.๐-๒๔๔๗-๕๔๔๖, ๐-๒๘๗๙-๙๙๗๑
โทรสาร.๐-๒๔๔๖-๗๕๔๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น