วันเข้าพรรษา ความหมาย และความสำคัญ
เข้าพรรษา แปลว่า พักฝน หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ
วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล
มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์
และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ
วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน
ในฤดูฝน วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ
วันเข้าปุริมพรรษา คือเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11
วันเข้าปัจฉิมพรรษา คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9
ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12
เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย
พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้
โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน
ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ
ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์
จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน
เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า
ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า
อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ
หรือว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ
แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้
(ว่า 3 ครั้ง)
หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน
ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป
เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ
ในวันเข้าพรรษานี้ตามประวัติ
ชาวไทยเราได้ประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา
มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งมีทั้งพิธีหลวง และ พิธีราษฎร์
ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ
ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร
ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น
อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง
บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน
ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง
กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา
1. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา เพื่อใช้จุดบูชาพระบรมธาตุ
พระพุทธปฏิมา พระปริยัติธรรม ตลอดทั้ง 3 เดือน ถวายธูป เทียน ชวาลา
น้ำมันตามไส้ประทีปแก่พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในพระอาราม
2. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัยไทยธรรม แก่ภิษุสามเณร
3. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา เจริญภาวนา รักษาอุโบสถศีล
4. ธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ
การอธิษฐานตนว่าจะประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของศีลห้า ศีลแปด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น