ผศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวในบทความเรื่อง "เตียงมหาภัย"
ที่ตีพิมพ์ในจดหมายข่าวมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ว่า
เมื่อเกิดเหตุการณ์เสียชีวิตของเด็กแต่ละครั้ง เรามักโทษผู้ดูแลเด็กเสมอ
แต่ผู้ดูแลเด็กเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น โดยหลักการแล้ว
เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ ต้องการการเฝ้าดูแลตลอดเวลา
แต่มีบางเวลาที่ผู้ดูแลเด็กมีโอกาสเผอเรอชั่วขณะได้ ดังนั้น
การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยรอบตัวเด็ก
จึงเป็นหัวใจของการป้องกันภัยแก่เด็ก
การติดค้างของศีรษะเป็นอันตรายที่ทำให้เด็กเล็กเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ไม่ว่าจะเป็นช่องรูที่เกิดจาก เตียง เก้าอี้ รถเข็นเด็ก ราวบันได
ระเบียงบ้าน หรือที่พบบ่อยคือเครื่องเล่นปีนป่าย
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บ
ในเด็กคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าขนาดช่อง 9-23 เซนติเมตร
มีความเสี่ยงต่อการติดค้างของศีรษะ ช่องรูของเฟอร์นิเจอร์
และเครื่องเล่นเด็กต้องเล็กกว่า 9 เซนติเมตร หรือใหญ่กว่า 23 เซนติเมตร
เพื่อหลีกเลี่ยงการติดค้างของศีรษะ.
Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ชี้นิ้วโทษคนดูแลอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ให้เด็กด้วย
ชี้นิ้วโทษคนดูแลอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ให้เด็กด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น