++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

รายงานพิเศษ : “ประชามติ”...แผน “ต่อลมหายใจสุดท้าย” ของ รบ.ส่อแห้ว!!

อมรรัตน์ ล้อถิรธร...รายงาน
       
       แ ม้ว่าประตู “ลาออก-ยุบสภา” จะเปิดกว้างขึ้นทุกทีสำหรับ “รัฐบาลนายสมัคร” แต่ นายสมัคร ก็ยังท่องคาถาแต่ว่า “ไม่ยุบ-ไม่ออก” แถมยังพยายามดิ้นเฮือกสุดท้ายด้วยการจับประชาชนเป็น “ตัวประกัน” เพราะเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่จะหนุนรัฐบาลให้อยู่ในตำแหน่งต่อไป จึงผุดแผนจะทำ “ประชามติ” ให้ประชาชนเลือกข้าง ว่า จะเลือก “รัฐบาล” หรือ “พันธมิตรฯ” โดยไม่สนว่า วิธีการดังกล่าวจะเป็นการ “ตอกลิ่ม” ความแตกแยกของคนในชาติให้บานปลายขยายวงกว้างอีกขนาดไหน และรัฐบาลเองยังหลงเหลือความชอบธรรมอันใดที่จะใช้ประชามติเป็นเครื่องมือสร้ างความชอบธรรมให้ตัวเอง นี่ยังไม่รวมว่าการทำประชามติครั้งนี้ส่อว่าจะขัดต่อ รธน.อีกด้วย
      
       แม้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาลจะถูกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมขับไล่เป ็นเวลา 100 กว่าวันแล้ว แต่ นายสมัคร ยังพยายามโกหกประชาชน ว่า ตนไม่เคยทำอะไรผิด และไม่ได้เป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งที่ตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา นายสมัคร และพรรคพลังประชาชน หายใจเข้า-หายใจออก ก็มีแต่เรื่องแก้ รธน.มาตรา 237 และ 309 เพื่อหนีคดียุบพรรค และเพื่อช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวหลุดพ้นจากคดีต่างๆ แถม ส.ส.พรรคพลังประชาชนยังจ้องล้มองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญ ไ ม่เว้นแม้แต่ศาลยุติธรรมอย่างศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมื องที่ใกล้จะชี้ชะตา พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานในเร็วๆ นี้ พรรคพลังประชาชนก็พยายามตัดมือไม้กลไกการพิจารณาของศาลดังกล่าว ด้วยการคว่ำร่างกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมื องในการประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยอ้างว่า การพิจารณาคดีต้องให้มีการอุทธรณ์ได้ 3 ศาล ไม่ใช่ศาลเดียวจบ ทั้งที่ระเบียบกฎหมายการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งท างการเมืองก็เป็นเช่นนี้มานานแล้ว เคยมีนักการเมืองที่ทุจริตติดคุกมาแล้ว (เช่น นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีต รมต.สาธารณสุข) ก็ไม่เห็นเคยมีใครออกมาร้องแรกแหกกะเฌอแบบ ส.ส.พรรคพลังประชาชน
      
       นี่ยังไม่รวมกรณีที่ นายสมัคร และ ครม.กระทำการขัด รธน.มาตรา 190 กรณีเห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ยกอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาไปขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน แต่ นายสมัคร และรัฐบาลก็ไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ ดังนั้น ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความไร้คุณธรรมจริยธรรมอีกมากมายนับไม่ถ้วนของรัฐบาลนอมิน ีชุดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายข้าราชการที่เคยร่วมตรวจสอบกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ และคดีซื้อเสียงพรรคพลังประชาชน, การโยกย้ายอธิบดีกรมสนธิสัญญา เพื่อไม่ให้ขัดขวางการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา, การไม่เร่งรัดคดีที่รัฐมนตรีที่เคยอยู่ในรัฐบาลหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (นายจักรภพ เพ็ญแข), การปล่อยให้ 3 รัฐมนตรีคดีหวยบนดินนั่งบริหารประเทศต่อไป (นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี, นางอุไรวรรณ เทียนทอง, นายอนุรักษ์ จุรีมาศ), การปรับ ครม.โดยนำอดีตรัฐมนตรีที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พ้นจากตำแหน่งกรณีซุกหุ้นภรรยา (นายไชยา สะสมทรัพย์)กลับมาเป็นรัฐมนตรีอีกครั้ง ฯลฯ
      
       นั่นเป็นเพียงแค่ตัวอย่างของความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลนายสมัคร ที่นอกจากจะไม่เคยรู้สึกผิดแล้ว ยังมองประชาชนที่ออกมาขับไล่ว่าเป็นศัตรูที่ต้องถูกกำจัด และรัฐตำรวจยุคนี้ก็พร้อมสนองฝ่ายการเมืองด้วยการยัดข้อหา “กบฏ” ให้แกนนำพันธมิตรฯ ไม่เพียงนายสมัครจะถูกหลายฝ่ายประณามว่าใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเล่นงานพันธ มิตรฯ อย่างไม่ชอบธรรม แต่ นายสมัคร ยังเป็นคนที่พูดจากลับกลอก เช่น ป ากยืนยันว่า จะไม่มีการใช้กำลังสลายการชุมนุม แต่พอวันรุ่งขึ้นกลับมีตำรวจยกพลพร้อมอาวุธไปสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้งที่ทำเนียบ และสะพานมัฆวาน จนบาดเจ็บกันไปหลายสิบคน จากนั้นทั้ง นายสมัคร และตำรวจก็โบ้ยความผิดให้ศาล โดยอ้างว่า ตำรวจแค่ทำตามคำสั่งศาล ทั้งที่ศาลแค่ให้ปิดหมายบังคับคดีเท่านั้น ไม่ได้สั่งให้ทำร้ายประชาชน พอผู้ชุมนุมไปเรียกร้องให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลจัดการผู้ที่สั่งให้สลายกา รชุมนุม ก็ถูกตำรวจตอบแทนด้วยการยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่จนได้รับบาดเจ็บอีกหลายสิบคน!
      
       แต่ดูเหมือนจะยังไม่สะใจ นายสมัคร สังคมจึงได้เห็นการจัดฉากของ ส.ส.พรรคพลังประชาชนและแกนนำ นปก.ที่จ้างคนมาบุกพันธมิตรฯ (เมื่อ 2 ก.ย.) กระทั่งเกิดการปะทะจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เพื่อที่ นายสมัคร จะได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้การจัดฉากจะเป็นไปตามแผน แต่นายสมัครก็พลาด เพราะแทนที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว จะสามารถสั่งทหารให้จัดการสลายการชุมนุมของพันธมิตรฯ ได้ กลับตรงกันข้าม เพราะ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ไม่เล่นด้วย โดยยืนยันว่า จะไม่ใช้กำลังสลายการชุมนุม แต่จะใช้วิธีเจรจาแทน
      
       เมื่อความไม่ชอบธรรมและธาตุแท้ตัวตนของรัฐบาลเริ่มเปิดเผยมากขึ้นเรื ่อยๆ ส่งผลให้ประชาชนนิสิตนักศึกษาออกมาร่วมชุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ มากขึ้นๆ ขณะที่หลายภาคส่วนทั่วประเทศเรียกร้องให้ นายสมัคร และรัฐบาล รับผิดชอบ หรือเสียสละด้วยลาออก หรือยุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน แต่ นายสมัคร ก็เอาแต่ท่องคาถาว่า “ไม่ยุบสภา-ไม่ลาออก” เพราะตนแพ้ไม่ได้ ตนต้องรักษาประชาธิปไตยเอาไว้ ทั้งที่หลายฝ่ายยืนยันว่า การยุบสภา หรือลาออกก็เป็นทางออกตามระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน แต่นายสมัครก็ไม่ฟัง ขนาดรัฐมนตรีต่างประเทศ (นายเตช บุนนาค) ที่เป็นรัฐมนตรีเพียงคนเดียวในรัฐบาลนี้ที่ประชาชนยอมรับ ยังลาออก เพราะทนทำงานกับรัฐบาลต่อไปไม่ได้ แต่ นายสมัคร ก็ไม่สนใจ และงัดมุกใหม่เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองสามารถบริหารประเทศได้ต่อไปโดย จะใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน ด้วยการอ้างว่าจะทำ “ประชามติ” เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจว่า จะเลือกอยู่ข้างรัฐบาล หรือฝ่ายพันธมิตรฯ จะให้รัฐบาลอยู่ต่อไปหรือไม่?
      
       ทันทีที่ ครม.และพรรคร่วมรัฐบาล มีมติให้ทำประชามติดังกล่าวเมื่อวานนี้ (4 ก.ย.) ปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ ในสังคมก็เกิดขึ้นตามมา โดยส่วนใหญ่หนักไปในทางคัดค้านการทำประชามติ
      
       ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มองกรณีที่รัฐบาลจะทำประชามติ ว่า รัฐบาลพยายามจะหาความชอบธรรมให้ตัวเองอยู่ได้ ขณะเดียวกันก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้กลุ่มพันธมิตรฯ ขาดความชอบธรรม ทั้งที่โดยหลักการของการทำประชามติแล้ว ไม่ได้ใช้เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง อ.สมบัติ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การทำประชามติครั้งนี้มีจุดอ่อน เพราะพรรคพลังประชาชนซึ่งเคยไม่ยอมรับการทำประชามติรับร่าง รธน.2550 แต่กลับจะมาทำประชามติเพื่อให้รัฐบาลตนเองได้อยู่ต่อไป จึงอาจเป็นการทำที่เสียเปล่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับผลประชามติ
      
       ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส. ว.กทม.มองว่า การทำประชามติไม่ได้ทำให้ปัญหาจบ แต่จะเป็นการเสียเงินมากกว่า 2,000 ล้านบาท เพื่อต่ออายุการทำงานของรัฐบาลให้ยาวขึ้นเท่านั้น นายกฯ ควรแก้ไขปัญหาด้วยการยุบสภา เพื่อให้ประชาชนเลือกรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศจะดีกว่า
      
       ขณะที่นายทองใบ ทองเปาด์ อดีต ส.ว.มหาสารคาม แสดงความข้องใจว่า รัฐบาลจะทำประชามติเพื่ออะไร เพราะรัฐบาลเป็นผู้อาสาเข้ามาบริหารประเทศ ย่อมมีนโยบายเป็นของตัวเอง ไม่ใช่มาถามประชาชนว่าจะทำอย่างไร จึงอยากฝากไปถึงรัฐบาลให้ถามตัวเองดีกว่า ว่าจะดำเนินการแก้ปัญหาอย่างไร เพราะรัฐบาลเป็นผู้ตอบปัญหาตัวเองได้ดีที่สุด
      
       เช่นเดียวกับนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ที่บอกว่า ประชามติเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะโยนภาระมาให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ เพราะอำนาจบริหารเป็นหน้าที่ของรัฐบาล รัฐบาลต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเดินไปทางไหน
      
       ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานมูลนิธิ 14 ตุลาฯ ก็ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติว่ารัฐบาลควรอยู่ต่อไปหรือไม่ เพราะรัฐบาลไม่มีความชอบธรรมที่จะอยู่ต่อไปแล้ว
      
       “ การทำประชามติ มันต้องมีเวลาในการสร้างความเข้าใจกับประชาชนมากมายเลย และมันไม่ต้องไปถามประชาชนแล้ว ประชาชนเขาแสดงออกมากมายแล้วว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมที่จะอยู่ต่อไปแล้ว (ถาม-คิดว่ารัฐบาลกำลังใช้เสียงส่วนใหญ่ที่รัฐบาลคิดว่าหนุนตัวเอง เป็นเครื่องมือ?) ใช่ เป็นเครื่องมือ มันไม่ชอบธรรม ไม่เกิดประโยชน์อะไร ก็เป็นความดิ้นรนของรัฐบาล เขาก็คงดิ้นรนไป แต่ในความเห็นของผมก็คิดว่าไม่ใช่ทางแก้ปัญหา เพราะรัฐบาลนอกจากไม่แก้ปัญหาแล้ว ยังเป็นตัวปัญหา ที่ผ่านมา เนี่ยเป็นตัวปัญหา ปัญหาใหญ่ของ ประเทศเวลานี้คือปัญหาความแตกแยกของคนในสังคมที่รุนแรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่ อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย และรัฐบาลนี้ก็มาเพิ่มความแตกแยกเข้าไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ก่อนที่จะมีกรณีในช่วง 2-3 วันนี้ รัฐบาลก็สร้างก็เพิ่มความแตกแยกมาเรื่อยๆ ก็รู้ว่าจะแก้ รธน.เพื่อพวกตัวเอง แล้วจะเกิดปัญหา ก็ดึงดันที่จะแก้ ที่จริงพันธมิตรฯ ที่มีการชุมนุม ก็ชัดเจน พันธมิตรฯ ประกาศว่าทันทีที่มีการยื่นแก้ไข รธน.เขาก็จะออกมา ก็ชัดเจน และที่ออกมาตอนนี้ก็มาจากตรงนั้นนั่นแหละ และยังมีปัญหาอื่นๆ อีกหลายอย่างที่รัฐบาลทำ ไม่ว่าจะเป็นการปราบปราม มีส่วนในการสร้างความรุนแรง ไม่ป้องกันความรุนแรง และหลังเกิดเหตุแล้ว ยังมีท่าทีที่ดึงดันก่อนจะเปิดสภาเพื่อแก้ปัญหา ก็แสดงความไม่จริงใจอย่างชัดเจนที่จะแก้ปัญหา เพราะไปตกลงกันแล้วว่าจะไปอย่างนี้ ก็ไปเปิดสภาเป็นละครขึ้นมา”
      
       
ด้านนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ก็มองกรณีที่รัฐบาลจะทำประชามติว่าประชาชนต้องการให้รัฐบาลอยู่ต่อไป หรือไม่ว่า เป็นการหาเรื่องมาแก้ตัวไปเรื่อยๆ โดยหวังว่าจะช่วยยืดระยะเวลาการอยู่ในตำแหน่งต่อไปเท่านั้น
      
       “ เหมือนกับเลื่อนสนามไปเรื่อยๆ จากสนามหนึ่งไปอีกสนามหนึ่ง คือ หาเรื่องแก้ตัวมาเรื่อยๆ พยายามเสาะหาวิธีการต่างๆ ที่จะยืดระยะเวลาเท่านั้นเอง (ถาม-จะสอดคล้องกับที่คุณสมัครและแกนนำ พปช.บอกว่า นี่คนส่วนน้อยที่ต้านตัวเอง แต่คนส่วนใหญ่หนุนตัวเองมั้ย?) ผมคิดว่านี่มันเป็นข้ออ้างเสมอมา มันต้องอยู่ที่ว่า คนเรานะ หลักนิติธรรมที่ดีเนี่ย ที่มาของการได้อำนาจมันต้องสุจริต การใช้อำนาจของตนนั้นต้องสุจริต ถ้าขาดหลักนี้แล้ว ไม่ว่าจะเสียงส่วนใหญ่ คือเสียงที่ได้นั้นต้องสุจริต มันจะได้ทำอะไรอยู่บนความสุจริตและความชอบธรรม แต่ถ้าเสียงส่วนใหญ่หรือความพยายามที่จะจัดฉากให้มันเป็นความชอบธรรมโดยอาศั ยแต่เสียงส่วนใหญ่อย่างเดียว มันไม่ใช่หลักนิติธรรมที่ถูกต้อง เพราะเราจะเห็นได้ในประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว คนที่ถือเสียงส่วนใหญ่ แม้กระทั่งนายกฯ โทนี แบลร์ ก็ยังต้องยอมรับการไต่สวน เวลาการกระทำของตัวเองไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะประกาศสงครามอิรักหรืออะไรต่างๆ ต้องยอมรับ และต้องสามารถสอบผ่านด้วย แต่ถ้าของเรา (รัฐบาล) มันไม่สอบผ่าน แล้วยังดื้อดึงอยู่ มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ผมคิดว่ากลไกที่จะแก้ไข ก็คือ (รัฐบาล) ต้องแก้ไขที่ตัวเอง และต้องบอกตัวเองให้ได้ว่าการดำเนินการทั้งหมดนั้น ได้กระทำโดยสุจริตหรือโปร่งใส อย่าไปอ้างเสียงส่วนใหญ่อย่างเดียว คงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง มันขัดต่อหลักของการใช้อำนาจและหลักนิติธรรม”
      
       
ขณะที่นายบรรจง นะแส เลขาธิการคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ ก็ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติเช่นกัน โดยชี้ว่า เป็นเพียงเกมทางการเมืองของรัฐบาลที่จะใช้ประชามติเป็นเครื่องมือสร้างความช อบธรรมให้ตัวเองอยู่ในตำแหน่งต่อไป
      
       “เป็น เกมทางการเมือง คงจะใช้เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมที่จะอยู่ต่อไป (ถาม-ยังคิดว่าคุณสมัครจะไม่ลาออก ไม่ยุบสภาตามที่พูดมั้ย?) ผมไม่เชื่ออย่างนั้น เพราะคำพูดนี่มันไม่ใช่เป็น commit (คำมั่นสัญญา-ข้อผูกมัด) กับคนทั่วไปไง เพราะฉะนั้นการที่เขาบอกว่าจะไม่ยุบสภาไม่ลาออก ก็ไม่เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น (ถาม-คุณสมัคร บอกว่า จะพูดออกสื่อมากขึ้นและให้คนของฝ่ายตัวเองออกสื่อมากขึ้น คิดว่าจะทำให้คนเข้าใจรัฐบาลมากขึ้นมั้ย?) เขาจะพังเร็วขึ้น ในทัศนะผมนะ มันจะพังเร็วขึ้น เพราะปัญญาชนจะออกมามากขึ้น คนที่อยู่เฉยๆ อาจจะทนไม่ได้ที่เห็นนายกฯ บิดเบือนหรือพูดไม่ตรง แทนที่คนเขาจะอยู่เป็นกลาง อาจจะเดินลงมากระโดดลงมาร่วมกับพันธมิตรฯ ผมมองอย่างนั้น”
      
       
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มองว่า การทำประชามติเพื่อถามประชาชนว่ารัฐบาลควรทำงานต่อไปหรือไม่ หรือถามว่าพันธมิตรฯ ควรยุติการชุมนุมหรือไม่ คงไม่สามารถทำได้ เพราะน่าจะขัดต่อ รธน.มาตรา 165 ที่ห้ามทำประชามติเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคล นายเสรี ยังชี้ด้วยว่า นอกจากการทำประชามติของรัฐบาลในเรื่องนี้จะขัดต่อ รธน.แล้ว ยังจะก่อให้เกิดความคิดเห็นที่แตกแยกในหมู่ประชาชนมากขึ้นด้วย ขณะที่คนที่ไม่ได้คิดจะเลือกข้าง ก็จำต้องเลือกข้างเวลาลงประชามติ
      
       “ ถ้าหากไปถามว่าให้ รัฐบาล อยู่ต่อหรือไม่เนี่ย ผมว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน มันจะก่อให้เกิดความเห็นที่แตกแยกของประชาชนมากขึ้น การทำประชามติมันเป็นเรื่องที่ว่า ถามแล้ว รัฐบาลต้องไปปฏิบัติ ใช่มั้ย และไม่ได้มีปัญหาในบ้านเมืองตามมา แต่ที่มีปัญหาตอนนี้ก็คือ คนมีการชุมนุมกัน ออกมาต่อต้านมาขับไล่รัฐบาล รัฐบาลบอกว่าไปถามคนเสียงส่วนใหญ่ว่าต้องการให้รัฐบาลอยู่ต่อหรือไม่ สมมติว่า ประชาชนบอกว่าให้อยู่ต่อ และจะไปบังคับคนที่เขาออกมาไล่ได้ยังไง ใช่มั้ย มันก็ไม่มีผลในเชิงปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติเนี่ย ใครทำประชามติ มันต้องเป็นเรื่องที่รัฐบาลไปถามแล้ว รัฐบาลนำไปปฏิบัติ แต่ที่เกิดวันนี้ ผลที่ออกมาเหมือนกับไปบังคับคนหรือกลุ่มคนหรือคณะบุคคล ซึ่งขัดกับ รธน.มาตรา 165 วรรค 4 ซึ่งระบุว่า การทำประชามติจะขัดต่อ รธน.ไม่ได้ หรือจะใช้กับบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ได้ และผลที่ออกมาก็เหมือนกับเอาเสียงส่วนใหญ่ไปบังคับเสียงส่วนน้อย ผมว่ามันก็ขัดกับ รธน.”
      
       
นายเสรี ยังแนะด้วยว่า เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองสุกงอมมาขนาดนี้ ทางออกที่แต่ละฝ่ายจะเสียหายน้อยที่สุด ก็คือ การยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ โดยยังไม่ต้องมองไกลไปถึงว่า คนกลุ่มเก่าจะได้รับเลือกเข้ามาอีกหรือไม่ หวังแค่ว่า ในการเลือกตั้งใหม่ อย่าโกงการเลือกตั้ง ก็น่าจะดีที่สุดแล้ว
      
       ขณะที่นายสมชาย หอมลออ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน ก็เห็นเช่นกันว่า การที่รัฐบาลจะทำประชามติดังกล่าวอาจขัดต่อ รธน.มาตรา 165 และการทำประชามติเกี่ยวกับบุคคลหรือคณะบุคคล จะส่งผลให้เกิดระบอบเผด็จการและสร้างความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น และว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะจบลงอย่างไร สิ่งที่คนในประเทศต้องการคือ การปฏิรูปการเมือง ทุกฝ่ายจึงควรร่วมกันหารือว่าจะปฏิรูปอย่างไร ไม่ให้การเมืองเก่าๆ ที่เปิดโอกาสให้นักการเมืองเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบคงอยู่ต่อไป
      
       ด้านมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย(พีเน็ต) ก ็ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติของรัฐบาล เพราะนอกจากอาจขัดต่อ รธน.แล้ว ยังใช้งบประมาณมากพอๆ กับการเลือกตั้ง ดังนั้นพีเน็ตจึงได้ออกแถลงการณ์ในวันนี้(5 ก.ย.)จี้ให้รัฐบาลแก้ปัญหาด้วยการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันกดดันให้นายกฯ ยุบสภา หากไม่สำเร็จ ขอให้ ส.ส.ทยอยกันลาออกเพื่อแก้วิกฤตชาติ และระหว่างการเลือกตั้ง ขอให้มีการแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการที่เป็นกลาง เพื่อเป็นหลักประกันว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง
      
       สำหรับท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ ต่อการทำประชามติของรัฐบาลนั้น นายสมศักดิ์ โกศัยสุข 1 ในแกนนำพันธมิตรฯ ชี้ว่า การจะทำประชามตินั้น จะทำกรณีที่ต้องการสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อปร ะชาชนส่วนใหญ่ เช่น การแก้ไข รธน. เป็นต้น ไม่ใช่มาทำประชามติว่าพันธมิตรฯ ควรชุมนุมต่อไปหรือไม่ หรือรัฐบาลควรลาออกหรือไม่ ถือว่าไม่มีกฎหมายรองรับให้ทำประชามติเช่นนี้
      
       น ายสมศักดิ์ ยังยืนยันด้วยว่า นอกจากการทำประชามติของรัฐบาลจะผิดกฎหมายแล้ว รัฐบาลยังไม่มีความชอบธรรมพอที่จะทำประชามติด้วย เพราะลำพัง กกต.มีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคพลังประชาชนจากกรณีซื้อเสียง(ยังไม่รวมอีก 2 พรรคในรัฐบาลที่ถูก กกต.เสนอให้ยุบพรรคเช่นกัน คือ พรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย) ก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลชุดนี้หมดความชอบธรรม ดังนั้นพันธมิตรฯ จะไม่รับฟังประชามติที่มาจากความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลแน่นอน!!

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 กันยายน 2551 18:22 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น