++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

“หมัก” บรรลัย! ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ชี้พ้นสภาพผู้นำ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 กันยายน 2551 18:02 น.


มติศาลรธนเอกฉันท์ 9 เสียงเชือด “หมัก”พ้นเก้าอี้นายก-รมว.กห.ระบุ “รับจ้าง”เป็นพิธีกรชิมไปบ่นไป เข้าข่ายเป็น “ลูกจ้าง” แถมยังมีพฤติการณ์เสมือนเป็นหุ้นส่วนบริษัทที่ได้รับประโยชน์ขัดรัฐธรรมนูญม าตรา 267 ขณะเดียวกันยังส่อพิรุธทำหลักฐานย้อนหลังหวังตบตาให้พ้นความผิด จึงให้พ้นจากตำแหน่ง พร้อมชี้ ครม.ยังสามารถรักษาการต่อไปจนกว่าจะชุดใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่




     วันนี้ ( 9 ก.ย.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีกำหนดนัดอ่านคำวินิจฉัยในคำร้องที่ประธานวุฒิส ภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ประกอบมาตรา 182 ( 7) ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม อันเนื่องจากเป็นพิธีกรรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ในเวลา 14.00 น. ซึ่งปรากฏว่า บรรยากาศภายในบริเวณศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างคึกคักตั้งแต่ช่วงเช้า โดยคณะตุลาการฯได้มีการประชุมและแถลงด้วยวาจาก่อนลงมติ ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 100 กว่านาย ที่มาคอยดูแลรักษาความเรียบร้อยบริเวณโดยรอบ ขณะที่สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 200 คนต่างไปเฝ้ารอทำข่าว
      
       อย่างไรก็ตามเมื่อใกล้ถึงเวลานัดอ่านคำวินิจฉัย คู่กรณี นำโดยผู้ร้องคือ นาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา พ.อ.สันธิรัตน์ มหัทธนชาติ เลขาอนุสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวของกกต. ที่ได้รับมอบอำนาจ และนาย ธนา เบญจาธิกุล ทนายความผู้รับมอบจากนายสมัคร เดินทางรอฟังคำวินิจฉัย ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มผู้ชุมนุมที่สนับสนุนนายสมัคร จำนวน 30 คน เดินทางมาชุมนุมหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยถือป้ายระบุข้อความให้กำลังใจนายสมัคร และตะโกนให้กำลังใจนายสมัครอย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีฝนตกลงมาอย่างหนัก ลมกระโชกแรง แต่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ยังปักหลักอยู่ แต่ได้กระจายกันหลบฝนอยู่ใต้อาคารพาณิชย์ ฝั่งตรงข้ามศาลรัฐธรรมนูญ
      
       แต่เมื่อถึงเวลานัด 14.00 น. ปรากฏว่า ทางเจ้าหน้าที่ศาลฯยังไม่ยอมให้ผู้ที่เดินทางมารับฟังคำพิพากษาเข้าสู่ห้องพ ิจารณาคดี และนาย ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนการอ่านคำวินิจฉัยไปเป็นเวลา 15.30 น. โดยปฏิเสธที่จะบอกถึงเหตุผลที่เลื่อนเวลาออกไป และปฏิเสธข่าวที่ระบุว่าการเลื่อนเวลาอ่านคำวินิจฉัยเพราะรอนายสมัครที่กำลั งเดินทางกลับมาจากประชุมครม.สัญจรที่จ.อุดรธานี มารับฟังคำวินิจฉัยด้วยตัวเอง
      
       เมื่อถึงเวลา 15.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนำโดยนาย ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยโดยสาระสำคัญระบุว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้อง คำชี้แจง การแก้ข้อกล่าวหา เอกสารประกอบ พยานหลักฐานอื่นทีเกี่ยวข้อง และคำเบิกความจากพยานบุคคลแล้ว เห็นว่าคดี มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ โดยมีการกำหนดประเด็นที่พิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรค 1 (7) ประกอบมาตรา 267 เพราะเหตุผู้ถูกร้องดำรงตำแหน่งใดใน บริษัทเฟซ มีเดียจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่มุ่งหาผลประโยชน์ กำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวหรือไม่ เห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 บัญญัติห้ามนายกฯและรัฐมนตรีเป็นลูกจ้างของบุคคลใด เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของนายกฯ และรัฐมนตรี เป็นไปโดยชอบ ป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ อันจะก่อให้เกิดสถานะ การขาดจริยธรรมซึ่งยากในการตัดสินใจ ทำให้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะเมื่อผู้ดำรงตำแหน่ง คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์สาธารณะ ฐานขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่จึงขัดกันใน ลักษณะที่ประโยชน์ส่วนตัว จะได้มาจากการเสียไปซึ่งประโยชน์สาธารณะ
      
       “การทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผล จึงไม่ใช่แปลความคำว่าลูกจ้างในรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เพียงหมายถึงลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือตามกฎหมายภาษีอากรเท่านั้นเพราะกฎหมายแต่ละฉบับย่อมมีเจตนารมณ์ที่แตกต่ างกันไปตามเหตุผล และการบัญญัติกฎหมายนั้นๆ ทั้งกฎหมายดังกล่าวก็ยังมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในกา รปกครองประเทศและยังมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการกระทำที่เป็นการกระทำขัดกันแ ห่งผลประโยชน์แตกต่างจากกฎหมายดังกล่าวอีกด้วย”
      
       นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การปกครองประเทศ เนื่องจากตั้งรับรองสถานะของสถาบันและสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กำหนดพื้นฐานการดำเนินการของรัฐ เพื่อให้รัฐได้ใช้เป็นหลักใช้ปรับกับสภาวะการหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ ดังนั้นคำว่าลูกจ้างตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 จึงมีความหมายกว้างกว่าคำนิยามของกฎหมายอื่น โดยต้องแปลตามความหมายทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำว่าลูกจ้างว่า หมายถึง ผู้รับจ้างทำการงานผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร โดยมิคำนึงถึงว่าจะมีการทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หรือได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง สินจ้าง หรือค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น หากมีการตกลงเป็นผู้รับจ้างทำการงานแล้ว ย่อมอยู่ในความหมายของคำว่าลูกจ้าง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ทั้งสิ้น มิเช่นนั้นผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ที่รับจ้างรับค่าจ้างเป็นรายเดือนในลักษณะส ัญญาจ้างแรงงาน เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีก็สามารถทำงานต่ อไปได้ โดยเปลี่ยนค่าตอบแทนจากค่าจ้างรายเดือน มาเป็นสินจ้างตามการทำงานที่ทำ เช่น แพทย์เปลี่ยนจากเงินเดือนมาเป็นค่ารักษาตามจำนวนคนไข้ ที่ปรึกษากฎหมายก็เปลี่ยนจากเงินเดือนมาเป็นค่าปรึกษาหรือค่าทำความเห็นมาเป ็นรายครั้ง ซึ่งก็ยังผูกพันกันในเชิงผลประโยชน์ กันอยู่ระหว่างเจ้าของกิจการกับผู้ที่รับทำงานให้ เห็นได้ชัดเจนว่ากฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์ให้หาช่องทางหลีกเลี่ยงให้ทำได้โด ยง่าย
      
       ข้อเท็จจริงได้จากการไต่สวนนายสมัคร หลังจากผู้ถูกร้องเข้ารับตำแหน่งนายกฯ แล้วยังเป็นพิธีกรในรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ” ยกโขยงหกโมงเช้า” ให้กับบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด เมื่อพิเคราะห์ถึงลักษณะกิจการงานที่บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ได้กระทำร่วมกันกับผู้ถูกร้องมาโดยตลอดเป็นเวลาหลายปี โดยบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด เพื่อมุ่งค้าหากำไร ไม่ใช่เพื่อการกุศลสาธารณะ และนายสมัคร ได้รับค่าตอบแทนอย่างสมฐานะ และภารกิจเมื่อได้กระทำในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ จึงเป็นการกระทำและนิติสัมพันธ์ที่อยู่ในขอบข่ายที่มาตรา 267 ประสงค์จะป้องปรามเพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับภาคธุรกิจเอกชนแล้ว ทั้งยังปรากฏจากคำให้สัมภาษณ์ของผู้ถูกร้องในหนังสือสกุลไทย ฉบับที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 23 ต.ค. 44 หน้า 37 อีกด้วยว่า การทำหน้าที่พิธีกรกิตติมศักดิ์รายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป ที่ออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 10.30 น. - 11.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผลิตรายการโดยบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัดนั้น นายสมัคร ได้รับเงินเดือนจากบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด เดือนละ 8 หมื่นบาท
      
       สำหรับหนังสือของนายศักดิ์ชัยที่มีถึงนาย สมัคร ลงวันที่ 15 ธ.ค. 50 ปรึกษาว่าจะดำเนินการอย่างไรในการเป็นพิธีกรรับเชิญในรายการชิมไปบ่นไป และหนังสือของนายสมัครมีถึงนาย ศักดิ์ชัย ลงวันที่ 25 ธ.ค. 2550 แจ้งว่า “ จะทำให้เปล่าๆ โดยไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นค่าน้ำมันรถเหมือนอย่างเคย “ นั้น นายสมัครไม่เคยแสดงหนังสือทั้ง 2 ฉบับนี้มาก่อนจนถูก กกต. เรียกให้ชี้แจง โดยนายสมัคร ชี้แจงเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 51 และยังคงยืนยันเสมือนว่าก่อนเดือนธ.ค. 50 ได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าน้ำมันรถเท่านั้น ซึ่งขัดแย้งกับคำเบิกความของนางดาริกา รุ่งโรจน์ พนักงานบัญชีของ เฟซ มีเดีย จำกัด และหลักฐานทางภาษีอากร ที่ว่าก่อนหน้านั้นว่า นายสมัครได้รับค่าจ้างแสดง ไม่ใช่ค่าน้ำมันรถ อันเป็นข้อพิรุธ ส่อแสดงว่าเป็นการทำหลักฐานย้อนหลัง เพื่อปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าตอบแทนของนายสมัคร อีกทั้งนายสมัครเองเบิกความว่าไม่ได้รับค่าน้ำมันรถ และค่าใช้จ่าย น่าจะเป็นการนำเงินไปให้คนขับรถมากกว่า ก็ขัดแย้งกับคำชี้แจงของนายสมัครเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 51 ที่ให้การว่า การที่ได้รับเชิญไปในรายการ “ชิมไปบ่นไป” น่าจะได้รับค่าพาหนะ โดยค่าพาหนะจะได้รับเฉพาะเมื่อได้ไปออกรายการเท่านั้น ถ้าไม่ไปออกรายการตามที่เชิญมากก็ไม่ได้รับค่าพาหนะ จึงรับฟังเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
      
       “พยานหลักฐานทั้งหมดมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า นายสมัคร ทำหน้าที่พิธีกรในรายการ “ชิมไปบ่นไป” หลังจากเข้าดำรงตำแหน่งนายกฯ แล้ว โดยยังคงได้รับค่าตอบแทนที่มีลักษณะเป็นทรัพย์สินจาก บริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด ดังนั้นการที่เป็นพิธีกรให้แก่บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด จึงเป็นการรับจ้างการทำงานตามความหมายของคำว่า “ลูกจ้าง” ตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 267 แล้ว เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร จึงสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) “
      
       อย่างไรก็ตามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 คน เห็นว่านายสมัคร เป็นลูกจ้างของบริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาว่า นายสมัครดำรงตำแหน่งใดในบริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด หรือไม่อีก ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 3 คน เห็นว่าการเป็นพิธีกร การใช้ชื่อรายการ “ชิมไปบ่นไป” และใช้รูปใบหน้าของนายสมัคร ในรายการของบริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด เป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แก่กิจการที่ทำ ในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนร่วมกัน ดังนั้นการกระทำของผู้ถูกร้องให้แก่บริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด จึงเป็นการดำรงตำแหน่งในห้างหุ้นส่วน โดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน และไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาว่า นายสมัคร เป็นลูกจ้างบริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 หรือไม่อีก
      
       อาศัยเหตุผลข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ จึงวินิจฉัยว่านายสมัคร กระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง(1) แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร ที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ เป็นการสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลือ จึงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181
      
       รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 เสียงที่เห็นว่า การรับจ้าง เข้าข่ายเป็นลูกจ้าง ตามนัยมาตรา 267 ของรัฐธรรมนูญนั้น ประกอบด้วยนาย ชัช ชลวร นาย วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นาย จรูญ อินทจาร นายจรัญ ภักดีธนากุล นาย เฉลิมพล เอกอุรุ นาย อุดมศักดิ์ นิติมนตรี ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3 เสียงที่เห็นว่าพฤติการณ์ของนายสมัครเข้าข่ายการเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท เฟชมีเดีย จำกัด ประกอบด้วย นายบุญส่ง กุลบุปผา นายสุพจน์ ไข่มุกด์ และนาย นุรักษ์ มาประณีต
      
       สำหรับบรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาล ทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ส่งเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีอ ย่างกึกก้อง ขณะที่บริเวณสะพานมัฆวาน กลุ่มนิสิตนักศึกษาเยาวชนพันธมิตรฯ (Young PAD)ที่มาชุมนุมขับไล่นายสมัคร ได้โห่ร้องแสดงความยินดีเช่นกัน หลังจากนั้น "หรั่ง ร็อคเคสตร้า" ได้ขึ้นเวทีนำร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ตามด้วยเพลงเราสู้
      
       หลังจากนั้น ตัวแทนนักศึกษาได้ขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยว่า ถ้า ส.ส.พรรคพลังประชาชนยังลงมติเลือกนายสมัครกลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง ทางกลุ่มนิสิตนักศึกษาก็จะยังปักหลักชุมนุมขับไล่อยู่ที่นี่ต่อไป หลังจากนั้นได้มีมีการเปิดวีดีโอเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก ตามด้วยคำให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศของนายสมัคร ในช่วงเข้ารับตำแหน่งนายกฯ ใหม่ๆ ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ไม่มีคนตายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่มีคนตายที่สนามหลวงเพียงแค่คนเดียว
      
       ด้าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายมหาชน ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินเช่นนี้ออกมา นายสมัครก็ไม่ควรจะกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก เพราะเป็นเรื่องที่ขัดต่อคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองที่ทั่วโลกยึดถือปฏิ บัติ
      
       “มันคงอธิบายให้โลกทั้งโลกเข้าใจไม่ได้ว่า เมื่อศาลตัดสินมาแล้วว่าคนเป็นนายกรัฐมนตรีทำกันในสิ่งที่ขัดกันของผลประโยช น์ ทั้งหมดเป็นเรื่องสำนึกของจริยธรรมที่ลึกซึ้ง” นายบวรศักดิ์กล่าว
      
       นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ถือว่ามีลักษณะค่อนข้างยึดเจตนารมณ์ตามกรอบรธน. เช่น การวินิจฉัยคำว่าลูกจ้าง ถ้าว่ากันตามความเข้าใจของนักกฎหมายทั่วไป ก็ตีความตามกฎหมายแพ่ง ตามกฎหมายแรงงาน แต่ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ก็ตีความว่าทำให้เอกชนมีอำนาจเหนือหน้าที่ หรืออย่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหาร ก็ตีความกว้างว่า คือรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า สนธิสัญญาที่ต้องขอความเห็นชอบจากสภานั้นคือสัญญาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอ าณาเขตไทย แต่ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ก็มองว่า อาณาเขตไทยไม่ใช่ต้องได้มาหรือเสียตรงๆ แต่อาจทำให้อาณาเขตไทยมีปัญหาก็เข้ามาตรานี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เสียหาย แต่เป็นสิ่งที่ดีสังคมไทยจะได้ไม่ต้องมาถกเถียงกันอีก หรืออย่างเรื่องเมื่อมีคำวินิจฉัยให้นายกฯขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งแล้วจะ รักษาการต่อได้หรือไม่ รัฐธรรมนูญก็เขียนไม่ชัด ซึ่งอาจทำให้เข้าใจว่า นายกฯพ้นตำแหน่ง ครม.พ้นตำแหน่ง ก็รักษาการต่อได้ ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกชัดเจนว่า ครม.รักษาการต่อได้ ยกเว้นนายกฯ
      
       พปช.ด้านดัน"หมัก"นั่งต่อ คาดพรุ่งนี้เสนอชื่อเข้าสภาฯ
      
       ด้านนายกานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พปช.) กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ทางพรรคพลังประชาชนจะสนับสนุนให้นายสมัคร มาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เว้นแต่นายสมัครจะถอดใจ ไม่ยอมรับตำแหน่งเอง อย่างไรก็ตามทางพรรคได้เตรียมชื่อของนายกฯสำรองไว้แล้ว ซึ่งทางพรรคจะเรียกประชุมด่วน เพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว รวมถึงการเสนอชื่อนายกฯคนใหม่ คาดว่าวันพรุ่งนี้ (10 ก.ย.) จะนำเสนอเป็นวาระด่วนเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้
      
       "รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 มีหลายมาตรา ที่ทำให้การบริหารประเทศเดินต่อไปไม่ได้ ซึ่งคดีนี้หยุมหยิมเกินไป เพราะทำรายการเพียงเล็กน้อยก็ยังทำไม่ได้ จึงควรมีการพิจารณาแก้ไข" นายกานต์ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น