Hoffman, F.M., et. al., "Financial management for nurse managers". Journal of Nursing Administration. 16(2), 17-19 ; 1986.
Hoffman et al. (1986 : 17-19) ได้ทำการศึกษาชั่วโมงทำการมาตรฐาน โดยการ
สำรวจจำนวนเวลาที่บุคลากรพยาบาลได้ใช้ในการปฏิบัติงาน จำนวนเวลาที่ปฏิบัติงานทุกอย่าง
ให้แก่ผู้ป่วย โดยการสุ่มสังเกตในหน่วยงานพยาบาลแต่ละแห่งรวมกัน แล้วเฉลี่ยออกมาเป็นค่า
มาตรฐานความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละประเภท โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
ผู้ป่วยประเภทที่ 1 ผู้ป่วยที่มีอาการเบา ต้องการการดูแลน้อย
ผู้ป่วยประเภทที่ 2 ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง ต้องการการดูแลปานกลาง
ผู้ป่วยประเภทที่ 3 ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องการการดูแลมาก
ผู้ป่วยประเภทที่ 4 ผู้ป่วยที่มีอาการหนักมาก ต้องการการดูแลมากที่สุด
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ค่าเฉลี่ยจำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานใน 24 ชั่วโมงจำแนกตาม
ประเภทบุคลากรพยาบาล เป็นดังนี้
พยาบาล 77.5 ชั่วโมง
ผู้ช่วยพยาบาล/เจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด 24.5 ชั่วโมง
พนักงานผู้ช่วยพยาบาล 22.5 ชั่วโมง
พยาบาลผู้ปฏิบัติทางคลินิก / หัวหน้าตึก 3.5 ชั่วโมง
ส่วนจำนวนเวลาที่ต้องการการดูแลของผู้ป่วยแต่ละระดับเป็นดังนี้
ผู้ป่วยประเภทที่ 1 4.6 ชั่วโมง/คน/วัน
ผู้ป่วยประเภทที่ 2 5.1 ชั่วโมง/คน/วัน
ผู้ป่วยประเภทที่ 3 8.2 ชั่วโมง/คน/วัน
ผู้ป่วยประเภทที่ 4 14.2 ชั่วโมง/คน/วัน
ข้อเสนอแนะที่ผู้วิจัยได้ให้ไว้มี 3 ข้อ คือ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในระดับหน่วย
งานพยาบาล (Nursing Unit) ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (ได้แก่ อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์เฉพาะโรค
กุมารเวชห้องพักผู้ป่วยหนัก เป็นต้น) และใช้เป็นข้อมูลระดับโรงพยาบาล+ + + + + + + + + + + + + + + +
คนจุดตะเกียง : กลุ่มคนอยากเขียนในสิ่งที่อยากถ่ายทอดโดยไร้ขีดจำกัด
ทุกเรื่องที่อยากสื่อสารจากใจ
เชิญร่วมโหวต ศิลปินลูกทุ่งหญิงไทยในดวงใจของคุณ
http://onknow.blogspot.com/2007/05/blog-post_241.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น