++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

ผลของความชื้นต่ออัตราการฟักและผลของชนิดอาหารต่ออัตราการเติบโตของลูกตะพาบน้ำ AMYDA CATILAGINEA

การศึกษาเปรียบเทียบผลของความชื้นต่ออัตราการฟักไข่ตะพาบน้ำ Amyda cartilaginea ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิด และในวัสดุฟักที่มีความชื้นแตกต่างกัน 7 ระดับ (5-50%) พบว่า การฟักไข่ตะพาบน้ำในวัสดุที่มีความชื้น 30% ให้อัตราการฟักสูงสุดเท่ากับ 35.15% โดยใช้เวลาเฉลี่ยในการฟักไข่ไม่แตกต่างกันในแต่ละระดับความชื้น ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 74 –95 วัน เ มื่อศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิภายนอกกล่องฟักและภายในกล่องฟักทุกระดับความชื ้น พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน แต่อุณหภูมิภายนอกกล่องฟักแตกต่างจากอุณหภูมิของวัสดุฟักในทุกระดับความชื้น (P <> เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคว ามยาว ความกว้าง ความสูง และน้ำหนักของแม่ตะพาบน้ำ พบว่า มีความสัมพันธ์กัน แต่ลักษณะต่างๆข้างต้น ไม่มีความสมพันธ์กับจำนวนไข่ ขนาดไข่ และน้ำหนักไข่ แต่น้ำหนักของไข่ตะพาบน้ำมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักลูกตะพาบน้ำ (r=0.65, p <>จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของไข่ที่สังเกตได้จากภายนอก พบว่า ไข่ที่มีการพัฒนาของตัวอ่อนจะเกิดจุดกลมขาวของไข่ด้านบนของไข่ภายใน 48 ชั่วโมงหลังการวางไข่ การศึกษาผลของชนิดอาหารต่ออัตราการเติบโตของลูกตะพาบน้ำในช่วงเวลา 13 ส ัปดาห์ พบว่า การเติบโตของลูกตะพาบน้ำทั้งความกว้าง ความยาว และน้ำหนัก เมื่ออนุบาลด้วยอาหารตะพาบและอาหารปลากินเนื้อ ไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละสัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบการกินอาหารในเวลา 8.00 . และ 16.00 . พบว่า ตะพาบน้ำมีการกินอาหารเวลา 8.00 . มากกว่าเวลา 16.00 . โดยกินอาหารทั้งสองชนิดในปริมาณรวมที่ไม่แตกต่างกันในแต่ละสัปดาห์ แต่ตะพาบน้ำที่อนุบาลด้วยอาหารตะพาบจะมีอัตราการแลกเนื้อ (Fc. Ratio) ต่ำกว่า และอัตราการรอดภายหลัง 13 สัปดาห์เท่ากับ 100% ทั้งสองการทดลอง

คณะผู้วิจัย วชิระ กิตติมศักดิ์, กำธร ธีรคุปต์



+ + + + + + + + + + + + + + + +
คนจุดตะเกียง : กลุ่มคนอยากเขียนในสิ่งที่อยากถ่ายทอดโดยไร้ขีดจำกัด
ทุกเรื่องที่อยากสื่อสารจากใจ

เชิญร่วมโหวต ศิลปินลูกทุ่งหญิงไทยในดวงใจของคุณ
http://onknow.blogspot.com/2007/05/blog-post_241.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น