ไขแสง โพธิโกสุม และคณะ. "การกำหนดเวลามาตรฐานและการศึกษาปรากฏการณ์การปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานในกิจกรรมการพยาบาล และการจัดอัตรากำลังกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลหาดใหญ่", วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 : 60-86 ; มกราคม-เมษายน, 2546.
ได้ศึกษาปริมาณและเวลาการทำกิจกรรมการพยาบาลด้านการ ดูแลผู้ป่วยและด้านวิชาชีพ ศึกษาเวลามาตรฐาน ศึกษาปรากฏการณ์การปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงาน และศึกษาการจัดอัตรากำลังของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลหาด ใหญ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรพยาบาลใน 22 หอผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เอกสารวิธีปฏิบัติงานที่ประกาศใช้ของกลุ่มงานการพยาบาล แบบบันทึกที่ใช้รวบรวมความถี่ และการสังเกตการใช้เวลาการทำกิจกรรมการพยาบาลได้ผ่านการหาความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน
และหาความเที่ยงโดยสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติของบุคลากรเป็นคู่ แบบสอบถามความคิดเห็น
ของบุคลากรต่อการใช้วิธีปฎิบัติงาน ได้ผ่านการหาความตรงจากผู้ทรงคุณวุติ 3 คน และหาความ
เที่ยงของแบบสอบถามมีค่าแอลฟ่าเท่ากับ .88 คู่มือการจัดอัตรากำลังแบบใหม่และแบบฟอร์มสร้างโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน และทดลองเก็บข้อมูลจริง 10 รายก่อนนำไปใช้จริง การเก็บข้อมูล ใช้การสังเกต การสอบถาม การสนทนากลุ่มและการสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลจากการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) กิจกรรมการพยาบาลด้านการ
ดูแลผู้ป่วย เป็นกิจกรรมการพยาบาลทางตรง 26 กิจกรรมโดยมีปริมาณการวัดสัญญาณชีพมากที่สุด รองลงมา คือ กิจกรรมการบันทึกทางการพยาบาล และเป็นกิจกรรมพยาบาลทางอ้อม 77 กิจกรรม โดยมีปริมาณการให้ยาทางปากสูงสุด รองลงมา คือ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ รวมถึงมีสัดส่วนการใช้เวลา (ร้อยละ) ของเวรเช้า : เวรบ่าย : เวรดึก = 41.62: 30.64: 27.73
2) เวลาที่ใช้ในกิจกรรมด้านวิชาชีพ มีกิจกรรมด้านวิชาการสูงสุด คือ การประชุม ( ค่าเฉลี่ย = 633.3 นาที/วัน) รองลงมา คือ การประชุมปรึกษาก่อน - หลังการพยาบาล และพบกิจกรรมด้านการวิจัยเพียง .33 นาที/วัน
3) เวลามาตรฐานในการทำกิจกรรมการพยาบาลด้านการดูแลผู้ป่วย 5 ลำดับแรก คือ การทำ
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การดูแลผู้ป่วยที่ล้างไตทางหน้าท้อง การรับผู้ป่วยใหม่ในหน่วยวิกฤติ
การจำหน่ายผู้ป่วยเสียชีวิต และการรับผู้ป่วยใหม่ มีค่าเฉลี่ยเวลาเท่ากับ 116.84, 85.36, 48.98, 47.89 และ 44.69 นาที ตามลำดับ
4) ปรากฏการณ์การปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงาน จำแนกได้เป็น 3 ระยะ
คือ ระยะเกิดความสับสนวุ่นวายและทำความเข้าใจวิธีปฎิบัติงาน ระยะการใช้ความพยายามทำตาม
วิธีปฏิบัติงานและระยะเข้าใจ และทำตามวิธีปฏิบัติงาน ซึ่งมีลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีกลยุทธ์ที่
ใช้เกี่ยวข้องใน 3 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านผู้นำ และการบริหารจัดการ และด้านคุณภาพการ
ทำงาน
5) วิธีการจัดอัตรากำลังแบบใหม่ ใช้วิธีการสังเกต โดยใช้สูตรจำนวนบุคลากร 24 ชั่วโมง
ข้างหน้าเท่ากับปริมาณกิจกรรมการพยาบาลใน 24 ชั่วโมงข้างหน้าคูณกับเวลามาตรฐาน และหาร
ด้วยชั่วโมงการทำงานของบุคลากรแต่ละคนในแต่ละเวร
6) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจำนวน
บุคลากรตามวิธีการจัดอัตรากำลังแบบเดิมสูงกว่าวิธีการจัดอัตรากำลังแบบใหม่ อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.5 เมื่อคิดเวลาการทำงานของพยาบาลต่อเวรที่ 6 1/2, 7 และ 8 ชั่วโมง
+ + + + + + + + + + + + + + + +
คนจุดตะเกียง : กลุ่มคนอยากเขียนในสิ่งที่อยากถ่ายทอดโดยไร้ขีดจำกัด
ทุกเรื่องที่อยากสื่อสารจากใจ
เชิญร่วมโหวต ศิลปินลูกทุ่งหญิงไทยในดวงใจของคุณ
http://onknow.blogspot.com/2007/05/blog-post_241.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น