++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

การสร้างสื่อการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารและสิ่งเป็นพิษในอาหาร ช่วงชั้นที่ 3


ชื่อเรื่อง การสร้างสื่อการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารและสิ่งเป็นพิษในอาหาร ช่วงชั้นที่ 3 ( ม.2) ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวทิติยา ศรีภักดี วท.ม. (เคมีศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2547
อ.ที่ปรึกษา รศ.เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส

บทคัดย่อ

บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นรูปแบบหนึ่งของบทเรียนสำเร็จรูป ที่จะช่วยในการเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น ส่งผลให้การเรียนดีขึ้น ดังนั้น การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อสร้างสื่อการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารและสิ่งเป็นพิษในอาหาร ช่วงชั้นที่ 3 (ม.2) ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ (3) เพื่อเปรียนเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่องสารอาหารและสิ่งเป็นพิษในอาหาร (4) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น และ (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (ม.2) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (ม.2) จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสารอาหารและสิ่งเป็นพิษในอาหาร จำนวน 8 หน่วยการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.66 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.77 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารและสิ่งเป็นพิษในอาหาร ช่วงชั้นที่ 3 (ม.2) มีประสิทธิภาพ 92.83/93.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เท่ากับ 0.76 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ความคงทนในการเรียนรู้หลังจากเรียนแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่า คะแนนความคงทนเฉลี่ยลดลง 0.43 คิดเป็นร้อยละ 8 โดยสามารถคงทนความรู้ได้ร้อยละ 92.00 แสดงว่า ความคงทนในการเรียนรู้หลังเรียนแล้ว 2 สัปดาห์กับหลังเรียนไม่แตกต่างกัน และนีกเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยา ศาสตร์เรื่อง สารอาหารและสิ่งเป็นพิษในอาหารอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
โดยสรุป บทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารและสิ่งเป็นพิษในอาหาร ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้นและจดจำความรู้ได้เป็นอย่างดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น