++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

การเปรียบเทียบผลการสอนตามรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้กับรูปแบบการสอนของ สสวท. ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวนุชจรี ศรีสวัสดิ์ กศ.ม. วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2548
อ.ที่ปรึกษา รศ.ดร.ไพฑูรย์ สุขศรีงาม

บทคัดย่อ
วิทยาศาสตร์มีบทบาทที่สำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต ซึ่งทำให้มนุษย์ได้พัฒนาความคิดเชิงเหตุผลและทักษะในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในการพัฒนาประเทศชาตินั้นจะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการคิดตัดสินใจและรับเลือกการดำรงชีวิตที่เหมาะสมทันกับสภาพความเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น ทุกประเทศจึงจัดให้มีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึง ระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ประชาชนมีความแตกฉานทางด้านวิทยาศาสตร์ การจัดการเรียนการสอนจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะเป็นคนเก่ง คนดี และมีสุขได้ การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการเรียนรู้การ สอนแบบวัฎจักร การเรียนรู้และการสอนแบบ สสวท. ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดยโสธร ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้การจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ด้าน 40 ข้อ และความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ จำนวน 5 ด้าน จำนวน 60 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way ANOVA) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุคูณสองทาง (Two- way MANOVA)

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้

1. นักเรียนโดยส่วนรวมและจำแนกตามเพศ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หลังเรียน โดยรวมและเป็นรายด้าน 6 ด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจัดประเภทสิ่งของ ด้านการวัด ด้านการใช้เลขจำนวนและการคำนวณ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และด้านการจัดกระทำข้อมูลและสื่อความหมาย เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ หลังเรียนโดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน คือ ด้านการยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น ด้านการตีความ ด้านการสรุปความ และด้านการประเมินข้อโต้แย้ง เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนของวัฏจักรการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจัดประเภทสิ่งของ ด้านการใช้เลขจำนวนและการคำนวณ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และด้านการจัดกระทำข้อมูลและสื่อความหมาย และมีความคิดเชิงวิพากวิจารณ์ โดยรวมและเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น ด้านการตีความ ด้านการนิรมัย ด้านกาารสรุปความและด้านการประเมินข้อโต้แย้ง มากกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนของ สสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน และความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ โดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

4. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและรูปแบบการสอนที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้าน
โดยสรุป นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนของวัฏจักรการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นและความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ โดยรวมและเป็นรายด้านมากกว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนของ สสวท. ครูวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น พื้นฐานและความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ของนักเรียนในระดับชั้นต่างๆให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น