++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประสาทแดก




                     โรคประสาท (neurosis) เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแบบ
                     ลักษณะสำคัญของโรคประสาท
                     เกิดขึ้นฉับพลัน มักทราบว่าอาการเกิดขึ้นเมื่อใด ก่อนเกิดอาการมักมีสาเหตุที่กระตุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ เช่น การตาย ฯลฯ
                     เป็นความแปรปรวนชนิดอ่อน ส่วนมากยังทำงานหรือเข้าสังคมได้แต่สมรรถภาพไม่ดีเท่าที่ควร
                     บุคลิกภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
                     อยู่ในสภาพของความเป็นจริงและคงสภาพตัวเองได้
                     รู้ตัวว่าไม่สบาย กังวลผิดปกติ ตามลักษณะอาการ
                     ประเภทของโรคประสาท ตามลักษณะอาการ
                     ชนิดวิตกกังวล มีอารการวิตกกังวลเป็นสำคัญ ไม่สบายใจ หวาดหวั่นไม่สมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ใจสั่น อาจตัวร้อน ชาเป็นแถบ ๆ หายใจไม่อิ่ม เบื่ออาหาร มีเหงื่อออกตามมือและเท้า ก่อนหลับมีอาการสะดุ้งคล้ายตกเหว
                     ชนิดฮิสทีเรีย เกิดจากความขัดแย้งทางจิตใจหรือความวิตกกังวลได้เปลี่ยนเป็นอาการทางกายที่เกี่ยวกับระบบความรู้สึกหรือส่วนของร่างกายที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ ตรวจไม่พบอาการผิดปกติ ลักษณะสำคัญ คือ มีบุคลิกภาพฮิสทีเรียมาก่อน เจ้าอารมณ์ หลงตัวเอง มีปัญหาทางเพศมาเกี่ยวข้อง ไม่สนใจอาการที่เกิดขึ้น มีความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องความสามารถจากคนอื่นหรือมีผลตอบแทนที่เกิดจากการที่เกิดขึ้นและมีลักษณะชักจูงง่าย
                     ชนิดหวาดกลัว มีความกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ อาการหวาดกลัวแสดงออกในรูปการเป็นลม อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาการหายไปเมื่อพ้นสภาพการณ์ สิ่งที่กลัวมักได้แก่ กลัวการอยู่ตามลำพัง กลัวสถานการณ์บางอย่าง กลัววัตถุ กลัวกิจกรรม
                    ชนิดย้ำคิดย้ำทำ เกิดจากสภาวะที่ความวิตกกังวล ถูกแก้ไขด้วยการคิดหรือการกระทำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้
                   ชนิดซึมเศร้า เป็นความแปรปรวนซึ่งมักเกิดจากความขัดแย้งภายในใจ หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย ทำให้มีความรู้สึกเศร้า ขาดความสนใจ ความคิดช้า เคลื่อนไหวช้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้องผูก ฯลฯ
                    ชนิดท้อแท้ อาการมีหลายแบบส่วนมากเป็นแบบท้อแท้ใจ หมดแรง ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ
ชนิดบุคลิกวิปลาส จะรู้สึกว่าส่วนของร่างกาย บุคลิกภาพตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกสับสน ไม่รู้ตัวเองเป็นใคร ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ฯลฯ
                    ชนิดไฮโปคอนดิเคิล มีความวุ่นวายเกี่ยวกับร่างกายและย้ำคิดเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองโดยที่ร่างกายอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนทั่วไป
                     แต่ผู้คนทั่วไปมักจะชอบใช้คำว่า"ประสาทแดก"ในทางการแพทย์ก็จะเรียกโรคประสาทไปได้อีกคำพูดหนึ่งคือโรคเครียด
                     โรคนี้เกิดขึ้นกับผู้คนมานานมากแล้วนานจนผู้เขียนไม่อยากจะเอ่ยถึงเพราะมันนานหลายอายุขัยกันทีเดียว เพียงแต่มีแพทย์มาศึกษาแล้วเอายามารักษาคนไข้ให้อาการทุเลาลงหรือหายไปได้เกือบหมดกับคนไข้บางคนที่รู้จักปรับตัวเองให้คุ้นชินและได้ญาติมิตรช่งยเหลือจนหายไปไดด้เหมือนกัน
                     จิตแพทย์เป็นอาชีพที่เฟื่องฟูอาชีพหนึ่งในสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะชาวตะวันตก ที่เห็นว่าการเข้าพบจิตแพทยืเพื่อปรึกษาเรื่องโรคนี้เป็นเรื่องธรรมดา แก้ไขได้เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น การพบแพทย์แต่ละครั้งมีการนัดหมายและคิดค่ารักษากันตามระยะเวลาที่แพทย์ให้คำปรึกษา
                     ในเมืองไทยจิตแพทย์มีงานทำล้นเหลือ เพราะผู้คนปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นทุกที ไม่นับนิสัยหรือบุคคลิกแปรปรวนในแต่ละคนที่มีมาแต่เดิม
                     ในโรงพยาบาลเอกชนในเมืองไทยหลายๆแห่งค่าที่ปรึกาาจิตแพทยืก็คิดกันตามเวลา ราคาค่ารักษาก็ค่อนข้างสูง ยิ่งรวมค่ายาเข้าไปด้วยเป็นหลักหมื่นบาทหรือหลักหลายๆหมื่นบาทต่อครั้ง คนไข้เห็นบิลล์ค่ารักษาพยาบาลพาลจะสลบเหมือดหรือประสาทกลับเอาเสียงั้น
                      ในทางพุทธศาสนาคนเป็นโรคประสาทน่าจะหมายถึงเป็นพวกจิตอ่อนแอ ไม่แข็งแรงพอที่จะทนหรือรับแรงกดดันอะไรๆได้มากไปเท่ากับคนอื่นหรือมากกว่าคนอื่น
                      เมื่อจิตอ่อนแอย่อมตกเป็นเหยื่อของความโง่งมงายที่เรียกว่าอวิชชาครอบงำ โดยมีอาหารแห่งอวิชชาคือนิวรณ์ทั้งห้าอันมี
                      ถีนมิทธะความหดหู่ท้อถอย ซึมเซาง่วงเหงาหาวนอน
                      วิจิกิจฉาความลังเลสงสัย ไม่แนใจ
                      กามฉันทะความหลงในกามหรือความพอใจ ติดใจในกามคุณคือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส  พยาบาท ความมุ่งร้ายต่อผู้อื่น
                     และอุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจอันเป็นอาหารของอวิชชา ครอบงำทำให้จิตอ่อนแอหนักเข้าไปอีก พาลทำให้โรคประสาทกำเริบไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
                      พุทธศาสนามียาแก้โรคจิตอ่อนแอด้วยหลักธรรมมากมาย ที่สมเด็จพระบรมครูทรงตรัสสอนเอาไว้ให้พุทธศาสนิกชนศึกษาจะได้ทำใจให้แข็งแรง
                      ด้วยการฝีกใจให้รับรู้ความจริงและยอมรับความจริงทั้งมวลด้วยธรรมอุปการะแห่งการเจริญสติที่แปลว่าความรู้สึกตัวอันรวมไปถึงความระลึกได้ที่เป็นปัญญาขั้นต้นเพื่อไปสู่ปัญญาขั้นละเอียดในมหาสติปัฎฐานสี่นั้นเอง
                     การเจริญภาวนาไม่ว่าจะเป็นสมถะภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาล้วนแล้วแต่เป็นหนทางแห่งการฝึกจิตให้เข้มแข็งไม่อ่อนแอจนเกิดพละห้า
                     พละห้าอันหมายถึงธรรมอันเป็นกำลังที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรคหรือหนทางที่ไปสู่ความสงบล่วงจากทุกข์สิ้นเชิง พละห้าอันประกอบด้วย
                      สัทธาพละ ความเชื่อ เลื่อมใส สรัทธาที่เป็นกำลังให้อดทนและเอาชนะธรรมอันเป็นข้าศึกเช่นตัณหา เป้นต้น
                      วิริยะพละ ความเพียรพยายามเป็นกำลังให้ต่อสู้กับความขี้เกียจ
                      สติพละ มีความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฎฐาน อันเป็นกำลังให้ต้านทานความประมาท พลั้งเผลอ
                      สมาธิพละ ความตั้งใจมั่นจดจ่อในอารมณืกรรมฐาน ทำให้เกิดกำลังต่อสู้เอาชนะความฟุ้งซ่าน
                      ปัญญาพละ เป้นกำลังปัญญาที่เข้มแข้ง วึ่งทำให้เอาชนะโมหะคือความโง่ ความหลงหริออวิชชาดังกล่าวได้
                      เมื่อจิตสงบจนมีกำลังกล้าแข็งพอแล้ว จนรู้จักความจริงและยอมรับมันเท่านั้นว่าเป็นเช่นนั้น ก็สามารถจะดำเนินวิถีชีวิตไปสู่หนทางแห่งความสุขสงบ
                      ไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นโรคทันยุคทันสมัยเช่นผู้คนอื่นๆอีกต่อไปที่เรียกว่าประสาทแดกดังชื่อแก่นธรรมตอนนี้ ยิ่งพบความสุขสงบอันประณีตมากเท่าไรแล้ว ก็มีแต่ท่านจะรู้ได้เพียงลำพังเท่านั้น ขอญาติโยมทั้งหลายเจริญในธรรมด้วยความไม่ประมาทเทอญ เอวัง

                                                                    นักปฎิบัติอ่อนหัด

                       โรคประสาท โรคเครียดหรือจิตอ่อนแองอแง ล้วนแล้วมาจากใจหรือจิตที่ไม่ได้ฝึกให้สงบ หาความสันโดษหรือยินดีพอใจในสิ่งที่มีและสื่งที่ไม่มีได้ ในภาวะสังคมมากอารยธรรมหลากหลายและสับสน แข่งกับเวลา อีกทั้งยังต้องเผชิญภัยพิบัติภัยอีกมากมาย
                       มาตั้งกายให้ตรงให้จิตตั้งมั่นกันเถิดนะครับท่านผู้อ่านจะได้แดกประสาทด้วยจิตสงบกัน
                       ขออนุโมทนาแด่ท่านผู้เขียนบทความตอนนี้ และขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ
                                                                    สาธุการครับ
                                                                     สะมะชัยโย
                     
                       หมายเหตุ ขอขอบคุณแหล่งที่มาของบทความนี้
                       1 Russon, John (2003). Human Experience: Philosophy, Neurosis, and the Elements of Everyday Life. State University of New York Press. ISBN 0791457540. See also Kirsten Jacobson, (2006), "The Interpersonal Expression of Human Spatiality: A Phenomenological Interpretation of Anorexia Nervosa," Chiasmi International 8, pp 157-74.
Jump up ↑ Horwitz and Wakefield (2007). The Loss of Sadness. Oxford. ISBN 9780195313048.
Jump up ↑ The American Heritage Medical Dictionary. Houghton Mifflin. 2007. ISBN 9780618824359.
Jump up ↑ Wilson, Mitchell, (1993), "DSM-III and the Transformation of American Psychiatry: A History". The American Journal of Psychiatry, 150,3, pp 399-410.
                      โรคประสาทจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                      หนังสือ สติเป็นธรรมเอก พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
                      หมายเหตุแก่นธรรม
                      ผู้เขียนและคณะเป็นผู้เขลาทางปัญญา หากมีข้อผิดพลาดบกพร่อง ขอน้อมรับทุกประการ บุญกุศลที่เกิดจากบทความนี้ขอน้อมถวายแด่หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ และอุทิศให้แก่บรรพบุรุษ อันมีพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นปฐม เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ทั้งหลายในสากลโลกนี้ รวมทั้งท่านผู้อ่านทุกท่าน ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น