ต้องรู้!!! “น้ำมะนาว” จากผลมะนาวกินแล้วเป็นด่าง ส่วน “น้ำมะนาวเทียม” คือกรด!!! ล้วนๆ
อาหารที่เป็นกรดหรือด่างไม่ใช่หมายถึงรสชาติของอาหารนั้นๆ แต่หมายถึงว่าอาหารที่เรากินเข้าไปเมื่อถูกย่อยจนหมดแล้ว จะได้สารสุดท้ายที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นด่าง เช่น น้ำมะนาวมีรสเปรี้ยวเพราะเป็นกรด แต่เมื่อผ่านกระบวนการย่อยแล้วจะมีสภาพเป็น “ด่าง” เป็นต้น
แม้จะมีข้อมูลข่าวว่า พบปริมาณกรดซิตริกในน้ำมะนาวเทียม 3.3-10.8 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร (แล้วแต่ยี่ห้อ) น้ำมะนาวที่คั้นจากผลมะนาว พบปริมาณกรดซิตริก 6.9 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร แต่!!!...กรดซิตริกสังเคราะห์ไม่มีคุณสมบัติเปลี่ยนเป็นด่างเมื่อเข้าสู่กระบวนการย่อยของร่างกาย
ผู้ที่อ้างว่าปริมาณกรดซิตริกที่พบในน้ำมะนาวเทียม เป็นปริมาณที่พบได้ในน้ำมะนาวตามธรรมชาติ นั้นไม่ได้ตระหนักว่า น้ำมะนาวธรรมชาติจะปรับตัวเป็นด่างเมื่อผ่านกระบวนการย่อย ดังนั้นการกินน้ำมะนาวเทียมจึงเท่ากับเรากิน “น้ำกรด” เข้าไปดีๆ นั่นเอง
สำหรับผู้ที่วิตกกังวลเรื่องกรดซิตริกสังเคราะห์ ถ้าจำเป็นต้องหาความเปรี้ยวจากธรรมชาติมาทดแทนมะนาวในการปรุงอาหาร มีทางเลือก เช่น การใช้มะขามเปียก มะม่วงดิบ มะดัน มะยม ตะลิงปลิง ส้มโอ ส้มซ่า มะเฟือง ซึ่งนอกจากจะให้รสเปรี้ยวแล้ว ผลไม้เหล่านี้ยังช่วยปรับสมดุลความเป็นกรดด่างในทางเดินอาหารและลำไส้รวมทั้งช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ด้วย
******* *******
เครดิต: เรื่อง ชีวอโรคยา เรียบเรียงจาก สรรพคุณสมุนไพรไทย (มะนาว) และ ข่าว “มะนาวเทียม X-RAY สุขภาพ” เดลินิวส์ 29 เมษายน 2555
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
แบ่งปันความรู้ทั่วไป เพื่อความพอเพียง และสุขภาพที่ดี โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
ชีวอโรคยา อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่พึ่งสารเคมี ไม่ต้องรอให้ป่วยไปเสียค่ารักษาพยาบาลแพงๆ
ติดตามข้อมูลข่าวสารการดูแลตัวเองวิถีธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมีได้ที่ Facebook ชีวอโรคยา
www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น