++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ปาฐกถาชุด "พุทธธรรม"




             " พุทธธรรมคือสิ่งๆ หนึ่ง ที่จะทำให้คนธรรมดากลายเป็นพุทธะ
คือผู้ตรัสรู้ ผู้เบิกบาน, เป็นสิ่งธรรมดาอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่เบื้องหลังของชีวิต,
รุ่งเรืองสว่างไสวอยู่เสมอ ไม่รู้จักดับ ทรงตัวเองอยู่ได้ตลอดกาลและพร้อม
อยู่เสมอที่จะสัมผัสกับใจ ถ้าหากลอกเอาเครื่องหุ้มห่อจิตออกเสียได้เมื่อใด
ก็จะพบสิ่งๆ นั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้แต่ความสงบ เยือกเย็น ความสะอาด และ
ความแจ่มแจ้ง ในปัญหาของชีวิตทุกอย่าง. สิ่งๆ นี้เป็นสัจธรรมอันเดียว
ที่สูงยิ่งกว่าสัจธรรมทั้งหลาย. ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่พบสัจธรรมนี้
ความปลอดภัยที่แท้จริงของชีวิต ยังมีไม่ได้.
             สาเหตุที่คนส่วนมากไม่สนใจในเรื่องนี้ เป็นเพราะไปเข้าใจเสียว่า
เรื่องพุทธธรรมไม่เกี่ยวกับคนเรา หรือเห็นไปเสียว่า ไม่จำเป็นต้องรู้ก็อาจหาความสุขได้ บางคน
เห็นว่า ถ้าสนใจกับเรื่องนี้แล้ว จะต้องทำตัวเป็นฤาษีชีไพร ต้องทำตัวให้เหินห่างจากความสนุก
เพลิดเพลินในโลกทุกอย่าง และบางคนถึงกับเห็นไปว่า เรื่องพุทธธรรมนั้นวิเศษจริง แต่ก็ยาก
ที่คนอย่างเราจะเข้าใจได้. อันที่จริง ความเข้าใจเช่นนั้น เป็นการหลอกตัวเองให้เข้าใจผิดทั้งสิ้น.
              ข้อที่เข้าใจว่า พุทธธรรมไม่จำเป็นต้องรู้ ก็อาจหาความสุขได้นั้น ก็เป็นความจริง, แต่
ท่านคงไม่เคยรู้สึกว่า ความสุขที่เราแสวงหาและมีๆ กันอยู่นั้น เป็นของหลอกลวงเกือบทั้งสิ้น และ
มักมีพิษในภายหลังเสมอ. ถ้าได้สัมผัสกับพุทธธรรมเสียบ้าง พิษที่เกิดจากความสนุกนั้นจะลด
น้อยลง และสามารถแสวงหาความสุขที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป.
             ข้อที่ว่า ถ้าคนสนใจกับเรื่องนี้ จะต้องออกไปเป็นฤาษีชีไพร เข้าไปแตะต้องกับความสุข
ในทางโลกไม่ได้เลยนั้น ข้อนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดถนัด. พุทธศาสนาไม่มีการบังคับให้เชื่อ หรือ
บังคับให้ทำตาม. ท่านจะเป็นฤาษีหรือไม่ สุดแล้วแต่ความพอใจ. และก็ไม่ใช่เป็นกฎตายตัวว่า
ต้องเป็นฤาษีหรือนักบวชเท่านั้น จึงจะเข้าใจพุทธธรรมได้. เรื่องนี้ท่านผู้แสดงได้ชี้แจงไว้
ดีที่สุดแล้ว ในปาฐกถาของท่าน.
              ข้อที่ว่า คนธรรมดาไม่ใช่นักบวชหรือนักปราชญ์เข้าใจเรื่องนี้ไม่ได้นั้น ก็ยังขัดต่อ
ความจริง ในครั้งพุทธกาล ปรากฏว่าคนอายุ ๗ ขวบทั้งหญิงทั้งชาย หรือฆราวาสผู้ครองเรือน
เข้าใจเรื่องนี้ได้ ก็มีอยู่ ข้อที่ว่าเราเห็นว่ายากนั้น อาจเป็นเพราะเราไม่สนใจอย่างแท้จริง หรือ
เพราะอ่านหนังสือที่ทำอย่างไรเสียก็ไม่อาจเข้าใจได้ ก็ได้..."



http://www.buddhadasa.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น