++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การดำรงชีพชอบโดยทิศ ๖ ของฆราวาส




“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ในอริยวินัย มีการนอบน้อมทิศทั้งหกอย่างไร พระเจ้าข้า !
พระองค์จงทรงแสดงธรรมที่เป็นการนอบน้อมทิศทั้งหกในอริยวินัยเถิด”

คหบดีบุตร ! เมื่อใด อริยสาวกละเสียได้ซึ่งกรรมกิเลส ๔ ประการ
ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้งสี่
และไม่เสพทางเสื่อม (อบายมุข) แห่งโภคะ ๖ ทาง,
เมื่อนั้น เขาชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากกรรมอันเป็นบาป รวม ๑๔ อย่าง
เป็นผู้ปิดกั้นทิศทั้งหกโดยเฉพาะแล้ว;

ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า เขาปฏิบัติแล้วเพื่อชนะโลกทั้งสอง,
ทั้งโลกนี้และโลกอื่น เป็นอันเขาปรารภกระทำครบถ้วนแล้ว(อารทฺโธ),
เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย, ดังนี้.

กรรมกิเลส ๔ ประการ อันอริยสาวกนั้น ละเสียได้แล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?
คหบดีบุตร !
ปาณาติบาต เป็นกรรมกิเลส.
อทินนาทาน เป็นกรรมกิเลส.
กาเมสุมิจฉาจาร เป็นกรรมกิเลส.
มุสาวาท เป็นกรรมกิเลส.
กรรมกิเลส ๔ ประการเหล่านี้ เป็นกรรมอันอริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว.

อริยสาวก ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้ง ๔ เป็นอย่างไรเล่า ?
ผู้ถึงซึ่งฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ชื่อว่ากระทำกรรมอันเป็นบาป,
ผู้ถึงซึ่งโทสาคติ (ลำเอียงเพราะเกลียด) ชื่อว่ากระทำกรรมอันเป็นบาป,
ผู้ถึงซึ่งโมหาคติ (ลำเอียงเพราะโง่เขลา) ชื่อว่ากระทำกรรมอันเป็นบาป,
ผู้ถึงซึ่งภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) ชื่อว่ากระทำอันเป็นบาป.

คหบดีบุตร ! เมื่อใดอริยสาวกไม่ถึงซึ่งฉันทาคติ
ไม่ถึงซึ่งโทสาคติ ไม่ถึงซึ่งโมหาคติ ไม่ถึงซึ่งภยาคติ;
เมื่อนั้น ชื่อว่า ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้, ดังนี้.

อริยสาวก ไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ ทาง เป็นอย่างไรเล่า ?
คหบดีบุตร !
การตามประกอบในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเนื่องด้วยของเมา
คือสุราและเมรัย เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,
การตามประกอบในการเที่ยวตามตรอกซอกในเวลาวิกาล เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,
การเที่ยวไปในที่ชุมนุมแห่งความเมา (สมชฺชาภิจรณ) เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,
การตามประกอบในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือการพนัน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,
การตามประกอบในบาปมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,
การตามประกอบในความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ.

คหบดีบุตร ! อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้งหกโดยเฉพาะแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?
คหบดีบุตร ! พึงทราบว่า ทิศทั้งหกเหล่านี้ มีอยู่ คือ
พึงทราบว่า มารดาบิดา เป็นปุรัตถิมทิศ (ทิศเบื้องหน้า),
พึงทราบว่า อาจารย์ เป็นทักขิณทิศ (ทิศเบื้องขวา),
พึงทราบว่า บุตรภรรยา เป็นปัจฉิมทิศ (ทิศบื้องหลัง),
พึงทราบว่า มิตรสหาย เป็นอุตตรทิศ (ทิศเบื้องซ้าย),
พึงทราบว่า ทาสกรรมกร เป็นเหฏฐิมทิศ (ทิศเบื้องต่ำ),
พึงทราบว่า สมณพราหมณ์ เป็นอุปริมทิศ (ทิศเบื้องบน).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น