++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สัสสตทิฏฐิ สสฺสต ( เที่ยงแท้ , มั่นคง , ยั่งยืน ) + ทิฏฐิ ( ความเห็น )

สัสสตทิฏฐิ
สสฺสต ( เที่ยงแท้ , มั่นคง , ยั่งยืน ) + ทิฏฐิ ( ความเห็น )

ความเห็นว่าเที่ยง   หมายถึง   ความเห็นผิดที่ยึดถือว่าสภาพธรรมไม่เปลี่ยนแปลง  ไม่

เกิดดับ  เช่น   ขณะที่มีความคิดเห็นว่า    โลกเที่ยง  ตายแล้ววิญญาณล่องลอยไปเกิด

ใหม่   เกิดเป็นมนุษย์ก็จะเป็นมนุษย์ตลอดไป   เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็จะเป็นเดรัจฉาน

ตลอดไป  เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 193

                        อรรถกถามหาตัณหาสังขยสูตร

         มหาตัณหาสังขยสูตรมีบทเริ่มต้นว่า  เอวมฺเม  สุตํ.

         พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น  บทว่า  ทิฏฺฐิคตํ  นี้  ในอลคัททสูตร

กล่าวบทว่า  ทิฏฐิว่าเป็นลัทธิ. ในที่นี้  ท่านกล่าวว่า  เป็นสัสสตทิฏฐิ.  ก็ภิกษุนั้น

เป็นผู้สดับมาก  แต่ภิกษุที่สดับน้อยกว่าชาดก  ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ประชุมเรื่องชาดกว่า

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ครั้งนั้น  เราได้เป็นเวสสันดร  ได้เป็น

มโหสถ  ได้เป็นวิธูรบัณฑิต  ได้เป็นเสนกบัณฑิต    ได้เป็นพระเจ้ามหาชนก

ดังนี้. ทีนั้น เธอได้มีความคิดว่า  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขารเหล่านี้  ย่อมดับไป

ในที่นั้น ๆ นั่นแหละ  แต่วิญญาณย่อมท่องเที่ยว  ย่อมแล่นไปจากโลกนี้สู่โลก

อื่น  จากโลกอื่นสู่โลกนี้  ดังนี้  จึงเกิดสัสสตทิฏฐิ.  เพราะเหตุนั้น  เธอจึงกล่าว

ว่า  วิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยวไป  ย่อมแล่นไป  ไม่ใช่อย่างอื่น  ดัง

นี้.  ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  เมื่อปัจจัยมีอยู่ความเกิดขึ้นแห่ง

วิญญาณจึงมี  เว้นจากปัจจัย  ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี  ดังนี้. เพราะ

ฉะนั้น  ภิกษุนี้ชื่อว่า  ย่อมกล่าวคำที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้  ย่อมให้การประ

หารชินจักร  ย่อมคัดค้านเวสารัชชญาณ  ย่อมกล่าวกะชนผู้ใคร่เพื่อจะฟังให้

ผิดพลาด  ทั้งกีดขวางทางอริยะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์  เพื่อความ

ทุกข์แก่มหาชน
  มหาโจรเมื่อเกิดในราชสมบัติของพระราชา  ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ

สิ่งมิใช่ประโยชน์  เพื่อความทุกข์แก่มหาชนชื่อฉันใด  บัณฑิตพึงทราบ

ว่า  โจรในคำสั่งของพระชินเจ้า  เกิดขึ้นแล้วเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์  เพื่อ

ความทุกข์แก่มหาชน  ฉันนั้น.                                               ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น