++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชี้จุดอันตราย MOU 43 ต้องเลิกก่อนที่ความสุ่มเสี่ยงเสีย 1.8 ล้านไร่จะกลายเป็นจริง

"ดร.สมปอง" ชี้จุดอันตรายของ MOU 43 เส้นเขตแดนรุกล้ำไทย 1.8 ล้านไร่ แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนบิดเบือนไม่ยึดตามสนธิสัญญา 1904 และ 1907 ไม่ใช้แนวสันปันน้ำ ไทยต้องไม่นิ่งเฉยแต่ต้องคัดค้าน จี้รัฐบาลต้องบอกเลิก MOU 43 ก่อนที่ "ความสุ่มเสี่ยง" จะกลายเป็น "ความจริง"

ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล ทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2502-2505 ได้เขียนบทความเผยแพร่ชี้ "จุดอันตรายของ MOU ’43" ผ่านเว็ปไซต์ของ ทีมงานฟิฟทีนมูฟ(http://www.15thmove.net/) บทความระบุว่า...

จุด อันตรายของ MOU ’43
1. จุดอันตรายของ MOU 2543 อยู่ที่ข้อ 1 วรรค 1 ค. :
แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชาในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 แสดงเส้นเขตแดนที่ฝรั่งเศสฝ่ายเดียวเป็นผู้ลากเส้น ซึ่งผิดเพี้ยนจากอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญากับพิธีสาร ค.ศ. 1907 โดยเกินเลยรุกล้ำเข้ามาในผืนแผ่นดินไทยตลอดแนว คิดเป็นเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,800,000 ไร่

2. จุดอันตรายของ MOU 2543 แอบแฝงอยู่ในแผนที่ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชาในข้อ 1 วรรค 1 ค. ดังนี้
ก. แผนที่ผนวก 1 ไม่ใช่แผนที่อันเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันผสมฝรั่งเศส-ไทย เพราะฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำแผนที่ฉบับนี้แต่ฝ่ายเดียวโดยไทยไม่มีส่วนร่วม
ข. แผนที่ผนวก 1 มิได้ลากเส้นเขตแดนตรงตามบทนิยามเขตแดนในอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญากับพิธีสาร ค.ศ. 1907 แต่บิดเบือนและผิดเพี้ยนไปจากสันปันน้ำอันเป็นเส้นเขตแดนที่ตกลงร่วมกัน
ค. ไทยจึงไม่อาจยอมรับหรือแสดงท่าทีนิ่งเฉยต่อข้อสันนิษฐานเมื่อไทยได้รับ เอกสารรวมทั้งแผนที่ผนวก 1 โดยมิได้โต้แย้งหรือชี้แจงข้อผิดพลาดหรือความคลาดเคลื่อนที่ปรากฏอย่าง ชัดเจนในคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารโดยเฉพาะ คำพิพากษาแย้งของ เซอร์ เพอร์ซี่ สเปนเดอร์ ผู้พิพากษาชาติออสเตรเลีย
ง. เพราะฉะนั้น การรับแผนที่ฉบับนี้จากกัมพูชาภายหลัง พ.ศ. 2505 โดยมิได้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องและชัดเจน ดังปรากฏใน MOU 2543 ข้อ 1 วรรค 1 ค. โดยไม่ได้ตั้งเงื่อนใขว่า “เท่าที่ไม่ขัดกับข้อบท แห่งอนุสัญญา ค.ศ. 1904 หรือสนธิสัญญาและพิธีสาร ค.ศ. 1907” ก็อาจเสี่ยงต่อการสูญเสียโดยกัมพูชาจะอ้างได้ว่าไทยตกลงยอมรับเส้นเขตแดน (ที่ผิดพลาด) ตามที่ปรากฏบนแผนที่ 1:200,000 หรือแผนที่ผนวก 1

ทั้งนี้ ความเห็นของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศในระยะหลังซึ่งอ้างว่าแผนที่มีความสำคัญเหนือสนธิสัญญา นั้น ตรงข้ามกับความเห็นของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยสิ้นเชิง

3. เพื่อหลีกเลี่ยงและลดความสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดนเพิ่มเติม อันสืบเนื่องมาจากความเข้าใจผิดหรือสำคัญผิด ทั้งในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแผนที่ ตลอดจนข้อกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเป็นการสมควรที่รัฐบาลไทยจะบอกเลิก MOU 2543 นี้เสียก่อนที่การสุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นความจริง และก่อนที่คนไทยจะเกิดความเข้าใจที่สับสน และผิดพลาดยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้ประเทศชาติต้องเสียประโยชน์ทั้งสิ้นโดยมิอาจแก้ใขได้ทันท่วงที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น