++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สอนศิษย์อย่างไร ให้เกิดการเรียนรู้



ปุจฉา - กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ มีเรื่องข้องใจและอึดอัดกับการวางตัววางใจในการเป็นอาจารย์ค่ะ เริ่มไม่แน่ใจว่าเราควรจะต้องเคี่ยวกรำหรืออบรมฝึกฝนและให้วิชาความรู้ รวมถึงให้ทักษะชีวิตแก่นักศึกษาอย่างไรจึงจะถือว่าพอดี

บางคนว่าหากป้อนมากไปก็จะทำให้เด็กไม่รู้จักโตสักที เรียนเองไม่เป็น ทำอะไรเองไม่ได้ ควรสอนวิธีจับปลาแล้วเฝ้าดูช่วยอยู่ห่างๆ ให้เด็กรู้จักจับปลาด้วยตนเอง บางคนก็ว่าก็เด็กเกิดมาไม่ได้ฉลาดเท่ากันหรือมีโอกาสเหมือนคนเก่งๆ ในกรุงเทพ ดังนั้นหากอาจารย์ไม่ช่วยสนับสนุนแล้วใครจะทำ อะไรที่คนเป็นครูสามารถทำได้ก็ควรทำ จะปล่อยให้เด็กขวนขวายเองโดยมองอยู่ห่างๆได้อย่างไร โดยส่วนตัวรู้สึกเห็นด้วยกับทั้งสองฝ่าย

พระอาจารย์เคยสอนว่าหากสิ่งที่ทำดี มีประโยชน์ ไม่เบียดเบียนใครก็ทำไปเถอะ แต่เริ่มไม่แน่ใจว่าจุดสมดุลอยู่ที่ไหน สิ่งที่ทำนี้จะกลายเป็นว่าพ่อแม่อาจารย์รังแกฉัน(กับนักเรียน)หรือ ไม่ ขอนมัสการพระอาจารย์ช่วยให้คำแนะนำด้วยนะคะ กราบขอบพระคุณค่ะ

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา - การศึกษาหมายถึงการเรียนรู้ มิใช่การสอน ไม่ว่าสอน เท่าไหร่ ถ้าเด็กไม่เกิดการเรียนรู้ ก็ไม่เรียกว่าการศึกษาการ ช่วยให้เด็กรู้จักคิดเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ใน ระยะยาว แต่วิธีการที่จะช่วยให้เด็กคิดเป็นนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนด้วย บางคนคิดได้ไว บางคนคิดได้ช้า ผู้เป็นครูก็ต้องพิจารณาเป็นคน ๆ ไป จะใช้สูตรสำเร็จกับเด็กทุกคนหรือทั้งชั้นย่อมไม่ได้

การป้อนความรู้ทุกอย่างให้เด็ก เสมือนเด็กเป็นแก้วเปล่า ย่อมไม่ช่วยให้เด็กรู้จักคิดหรือเกิดการเรียนรู้ได้ (อย่างมากก็ได้แต่ท่องจำความรู้และข้อมูล ซึ่งไม่นานก็ล้าสมัยใช้การไม่ได้) การอยู่ห่าง ๆ ปล่อยให้เด็กเรียนรู้หรือคลำทางเอง ก็เป็นสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง ซึ่งไม่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ จนกว่าเด็กจะมีพื้นฐานที่ดี

ก่อนจะถึงจุดนั้น ครู(และพ่อแม่)มีความสำคัญมากในการช่วยให้เด็กคิดเป็นหรือรู้จักคิด ซึ่งรวมถึงการมีความใฝ่รู้ และรู้จักวิธีแสวงหาความรู้ ถ้าเด็กมีคุณสมบัติดังกล่าว เขาก็สามารถเรียนรู้จากทุกประสบการณ์ที่เกิดกับเขา ไม่ว่าดีหรือร้าย บวกหรือลบ

1 ความคิดเห็น: