++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รถเข็นคนพิการต้นทุนต่ำมากคุณภาพของดีจากมทร.ธัญบุรี

รถเข็นคนพิการต้นทุนต่ำมากคุณภาพของดีจากมทร.ธัญบุรี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กรกฎาคม 2552 12:18 น.
ชีวิต คนเราเลือกเกิดไม่ได้ การมีร่างกายครบ 32
สมบูรณ์ทุกประการนั้น ถือว่าโชคดีกว่าเป็นไหนๆ แม้จะมีหรือจน
หากยังมีโอกาสทำมาหาเลี้ยงชีพได้ แต่สำหรับคนที่ต้องพิการมาแต่กำเนิดล่ะ
ความลำบากของพวกเขาจะมากเท่าใด แค่การขยับแขน ขายังยากแล้ว
จะนับอะไรกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ
แต่ขึ้นชื่อว่าคนไทยแล้วความมีน้ำใจช่วยเหลือต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันไม่เคย
หายไป เช่นเดียวกับสถาบันแห่งหนึ่ง

ทีมผู้จัดทำรถเข็นคนพิการแบบประหยัด
นอกจากการเรียน การสอนอย่างมีคุณภาพแล้ว
ยังสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมด้วย
ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นความตั้งใจดีๆ ของ มทร.ธัญบุรี โดยนักศึกษา
และอาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ธัญบุรี
ที่ได้คิดค้นงานวิจัยเพื่อคนพิการขึ้นนั่นคือ
"รถเข็นคนพิการควบคุมด้วยไมโครคอนโทรเลอร์ (PIC16F877)"
ที่เอื้อประโยชน์มากมายสำหรับคนพิการ
จากต้นทุนน้ำใจที่อยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ไปสู่การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง แถมราคายังถูกแบบสุดๆ
ด้วย


อาจารย์เดชฤทธิ์ มณีธรรม เจ้าของงานวิจัยเล่าว่า รถ
เข็นคนพิการที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรเลอร์ (PIC16F877)
เป็นรถเข็นกึ่งอัตโนมัติที่นำเอามอเตอร์ DC
มาเป็นตัวขับเคลื่อนล้อของรถเข็นทั้งสองข้างโดยใช้ข้างละตัวและใช้อีกหนึ่ง
ตัวเพื่อควบคุมทิศทางในการเคลื่อนที่ของรถเข็น โดยใช้ คีย์สวิตซ์
เป็นตัวบังคับซึ่งจะช่วยให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
โดยหลักการทำงานคือ1.เริ่มจากการเขียนโปรแกรม โดยภาษาซี
(ภาษาระบบคอมพิวเตอร์)

แล้วทำการแปลงเป็น hex.file (ภาษาเครื่องจักร Machine Languages)
แล้วต่อเข้าไปที่CPU 2.Set ปุ่มการทำงานโดยการดาวน์โหลดซอฟแวร์ลงไป
เพื่อตั้งระบบKEY PAD เพื่อกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของรถเข็น เช่น เลข 4
ไปซ้าย เลข 6 ไปขวา เลข 2 ไปหน้า และเลข8 ถอยหลัง และ/หรือ
ปุ่มที่เหลืออาจตั้งค่าให้เป็นไฟไซเรนเพื่อเวลาคนพิการต้องการความช่วยเหลือ
เป็นต้น

ขั้น ตอนสุดท้าย SET ปุ่มปรับความเร็ว
เพื่อให้ผู้ป่วยเลือกความเร็วระดับไหน ตามความต้องการ
ตัวรถเข็นรับน้ำหนักมากสุดถึง130 กิโลกรัม อัตราความเร็ว 7 กม./ชม.
ตัวมอเตอร์ DC ขนาด 24 โวลท์ 3 ตัว เวลาการใช้งานสูงสุด 2-3
ชั่วโมงขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน

ราคาต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000-40,000 บาท
ในขณะที่ของต่างประเทศราคาอยู่ที่ 150,000-300,000 บาท
ถูกกว่าทั่วไปเกือบสิบเท่าตัว

นอกจากนี้ตัวไมโครคอนโทรเลอร์ (Microcontroller)
ยังมีหลายตระกูลด้วยกัน ที่นิยมใช้กันมากก็คือ ตระกูล(PIC16F877)
ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ จุดเด่นของมันคือ สามารถนำมาใช้ได้หลากหลาย
หาซื้อได้สะดวก และสามารถเขียนโปรแกรมคำสั่งได้หลายครั้ง

อาจารย์ยังย้ำทิ้งท้ายอีกว่า หาก มีผู้ร่วมสนับสนุนทุน
และวัสดุอุปกรณ์ ก็ยินดีอย่างมากที่ จะประกอบตัวรถเข็น
แจกจ่ายให้ผู้พิการได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงมากขึ้นและกระจายวงกว้างมาก
ขึ้นเพื่อยกระดับคนพิการอีกด้วย"...

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000084705

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น