นายบวร รัตนประสิทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด พะเยา.....เมื่อครั้งอยู่ใน
ตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ได้เห็นเกษตรกรในพื้นที่ ประกอบการเกษตรเคมี
ซึ่งทำให้ต้นทุนการ
ผลิตสูง เกิดการสิ้นเปลืองมากโดยใช่ที่ และ เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม
จึงมีความต้องการที่จะ ให้เกษตรกรเปลี่ยน ค่านิยม มาทำเกษตรอินทรีย์
และได้สั่งการให้ นายวุฒิ ชาญสมร นักวิเคราะห์อัญมณีศาสตร์ จากสถาบัน ATT
ให้ทำการวิจัยอาหารพืชหรือ "ปุ๋ย" ที่มีคุณประโยชน์ และ
ความเหมาะสมกับระบบเกษตรอินทรีย์
กลุ่มนักวิชาการเหล่านี้จึงได้ตั้งทีมงานขึ้น ซึ่งมี นายสงบ ยศมูล
ผู้อำนวยการศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลแม่ใจ ร่วมด้วย โดย
นางสาวอรุณี
ชำนาญยา ส.ส.จังหวัดพะเยา เป็นผู้สนับสนุนทุนในการดำเนินการ
ซึ่งใช้เวลาในการทำการวิจัยประมาณ 2 ปี ก็พบว่า การนำเอา
สาหร่ายพื้นเมืองสายพันธุ์ NOS TOCOS และ CAL OLTHRI มาเป็นส่วนผสมปุ๋ย
ทำให้พืช
เจริญเติบโตให้ผลผลิตดี และสามารถฟื้นฟูสภาพแวดล้อมได้ดี
สังเกตจากในอดีตที่เกษตรกรทำนา ใช้ปุ๋ยเคมีจะไม่เกิดพืชอื่นในธรรมชาติ
หรือเกิดขึ้นก็น้อย พอใช้ปุ๋ยในสูตรที่ทำการวิจัย
ทำให้มีพืชธรรมชาติหลายชนิด
เกิดขึ้น โดยเฉพาะ "ขี้เตา"
อันเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนไว้ในดินเกิดขึ้น
อันเป็นตัวชี้วัดว่า น้ำในท้องนามีความบริสุทธิ์
นายสมศักดิ์ พรหมเผ่า ประธานกลุ่มเกษตรกรทำนา อยู่บ้านเลขที่ 115 หมู่ 2
ต.บ้านใหญ่ อ.เมือง พะเยา ซึ่งมีสมาชิกทำนา 225 คน พื้นที่ 2,728 ไร่ ได้
ทำ
การทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพ ของงานวิจัยนี้กับนาปี รายละ 1 แปลง พื้นที่รวม
200 ไร่ โดยใช้ไร่ละ 524 กิโลกรัม บอกว่า....
....หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
ปรากฏว่าข้าวเปลือกจากแปลงทดลองได้ผลิตผลประมาณ 860 กิโลกรัมต่อไร่
และปรากฏว่าดินที่ทำนานั้น ร่วนซุยดี ผิดกับที่
ใช้ปุ๋ยเคมีจะทำให้ดินแห้งแน่น
นายสงบ ยศมูล ผอ.ศูนย์ฯ บอกว่า
จากได้มีการเปิดโรงเรียนเพื่อให้เกษตรกรได้ทำการปลูกข้าว ที่ถูกวิธี
ทั้งในช่วงระยะห่างของต้น ของแถวและการดูแล
รักษาในระหว่างการทำนา ซึ่งจากการที่นำ
ปุ๋ยสูตรชีวภาพมาใช้ในการทดลองผลผลิตต่อรวง จะได้เมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น
เช่นจากเดิมที่เคยได้ 120-130 เมล็ดต่อ
รวง ก็จะได้เป็นถึง 315 เมล็ดต่อรวง...ก็เป็นที่พอใจในการปฏิบัติการ
ซึ่งในสูตรปุ๋ยและผลการทดลอง หากเกษตรกรสนใจรายละเอียด
สามารถติดต่อได้ที่ ผอ.ศูนย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลแม่ใจ โทร.
0-9853-0881
ในเวลาราชการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น