++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การเมืองใหม่ไม่มีขาย อยากได้ต้องร่วมกันสร้าง

โดย สุวิชชา เพียราษฎร์


นับจากวันนี้การเมืองไทยจะพลิกผันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรล้วนน่าติดตามยิ่ง

โดยเฉพาะการเมืองเก่าที่กำลังถูกท้าทายและสั่นคลอนครั้งใหม่
และใหญ่ยิ่งจากเหล่าพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่มีเจตนาอย่าง
แน่วแน่ที่จะสร้างสรรค์สังคมด้วยการเมืองใหม่

เจตนาการเข้าสู่การเมืองใหม่ที่ว่านั้นสังคมคงได้เห็นและรับทราบจากฉันทามติ
ของหมู่มวลมหาชนที่มารวมกันในช่วงวันรำลึกเหตุการณ์ 1
ปีแห่งการต่อสู้ครั้งที่ยืดเยื้อยาวนานต่อเนื่องกันนานถึง 193
วันของพันธมิตรฯ ระหว่างวันสองวันที่ผ่านมา (24-25 พ.ค.) นี้แล้ว

ก่อนที่จะมีวันนี้ นานหลายเดือนมาแล้วนับแต่กระแสพันธมิตรฯ
จะจัดตั้งพรรคการเมืองแพร่สะพัด พรรคการเมืองของพันธมิตรฯ
ที่ยังไม่มีใครคาดคิดเอาไว้ล่วงหน้าก็กลายเป็นหัวข้อพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์
ของคนที่สนใจอย่างกว้างขวาง

เสียงวิพากษ์วิจารณ์มีทั้งเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
(รวมถึงกระบวนการใช้วิชามารของพรรคการเมืองในระบบของการเมืองเก่าและแผนชั่ว
ร้ายของใครบางคนที่หวังจะเข้าสู่อำนาจที่ใช้วิธีลอบสังหาร
ลอบกัดอย่างป่าเถื่อนกรณี คุณสนธิ ลิ้มทองกุล)
เหตุและผลที่ถกกันก็เป็นกระบวนการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย
แต่เมื่อความเป็นไปชัดขึ้น และชัดเจนในที่สุด
คงไม่มีใครจะให้คำตอบได้ดีเท่ากับแกนนำพันธมิตรฯ
ผู้ซึ่งไม่เพียงร่วมเป็นร่วมตายกับมวลชนพันธมิตรฯ เท่านั้น
หากยังเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของพันธมิตรฯ

ทำไมพันธมิตรฯ ต้องมีพรรคการเมือง?

คำตอบของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์
ASTVผู้จัดการ และแกนนำซึ่งกล่าวในสภาพันธมิตรฯ
เมื่อวันก่อนเป็นคำอธิบายที่ผมคิดว่าดีที่สุด

"พันธมิตรฯ ตรวจสอบนักการเมืองมาตั้งแต่ปี 2548
แต่ไม่มีรัฐบาลไหนฟัง
แล้วเราจะต่อสู้ในรูปแบบการเมืองข้างถนนไปอีกนานเท่าไหร่"

จากนั้นคุณสนธิบอกว่า สิ่งที่ต้องไม่ลืม คือ พรรคการเมืองมีอยู่ 2
ประเภท 1. มีรากเหง้า และ 2. ไม่มีรากเหง้า

พรรคพันธมิตรฯ มีที่ไปที่มา
มีประวัติศาสตร์หลังจากประชาชนสร้างประวัติศาสตร์ชุมนุม 193 วันไปแล้ว
กล่าวก็คือรากเหง้า

รากเหง้าตรงนี้ก็คือ ความแตกต่าง ซึ่งหากจะถามต่อว่า...

พรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ต่างจากพรรคการเมืองทั่วไปอย่างไร?

คุณสนธิอธิบายว่า
พรรคการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่คือการรวมตัวของพวกนักลงทุน
ซึ่งไม่มีประวัติศาสตร์ ไม่มีอุดมการณ์
ซึ่งส่วนใหญ่วัดความสำเร็จจากจำนวน ส.ส.

"อย่าเอาจำนวน ส.ส.มาตัดสินใจ พันธมิตรฯ จะนึกถึงญาติวีรชน
หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเป็นที่ตั้ง และถ้าตั้งพรรคจริงๆ
ก็จะระดมทุนจากการให้สมาชิกบริจาคเงินเข้าพรรค
โดยเราจะไม่ใช้เงินเหล่านั้นมาซื้อเสียง
แต่จะเอาไปสร้างเครื่องมือในการให้ความรู้และปัญญาแก่ประชาชน"

นี่เป็นเหตุและผลที่คุณสนธิ ได้อธิบายไปในวันนั้น
บวกกับข้อคิดเห็นจากแกนนำคนอื่นๆ อาทิ "ลุงจำลอง" พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
ที่กล่าวในเวทีเดียวกัน

"เราชุมนุมมา 193 วันไม่เคยนึกถึงจะตั้งพรรคการเมือง
ต่อมาภายหลัง หลังจากเราประสบความสำเร็จจากการชุมนุม
ทั้งการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การกดดันให้รัฐบาลหุ่นเชิดลาออกก็มีพรรคการเมืองใหม่เข้ามาเป็นรัฐบาลแต่ก็
ยังทำการเมืองเก่า เราต้องการให้มีการเมืองใหม่ พรรคการเมืองอื่นก็ไม่ทำ
พี่น้องพันธมิตรฯ ก็ต้องการให้เราตั้งพรรคขึ้นมาเอง"

ขณะที่อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ บอกว่า
การต่อสู้ของพันธมิตรฯ ที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ 3 อย่างคือ 1.
ชนชั้นที่มีความรู้ขยายตัวอย่างกว้างขวางและตั้งตนเองเป็นพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตย 2.
การเปิดโปงการเมืองเก่าอย่างเข้มแข็งอย่างไม่เคยมีมาก่อนของสื่อเอเอสทีวี
และ 3. ปรากฎการณ์การจัดตั้งองค์กรการเมืองใหม่

"ทั้ง 3 ปรากฏการณ์นี้คือปัจจุบันที่จะพลิกโฉมประเทศไทย
เป็นการขุดหลุมฝังการเมืองเก่าที่ตายไปแล้ว"

คุณพิภพ ธงไชย อีกผู้หนึ่งที่ฉายภาพได้ชัดเจนว่า พันธมิตรฯ
ต่อสู้ด้วยการเสียเลือดเนื้อเสียชีวิต ด้วยความอดทนมาตลอด
ถ้ามีฉันทามติตั้งพรรคการเมืองนั่นก็หมายถึง
การจะร่วมกันสร้างความเป็นธรรมในทุกภาคส่วน ร่วมกันสร้างการเมืองใหม่
เพราะ ประเทศทนความฉิบหายต่อไปไม่ได้แล้ว

แน่นอนพรรคของพันธมิตรฯ อาจจะยังมีคำถามอื่นๆ
และข้อสงสัยตามมาอีก
เช่นเดียวกับการเผชิญหน้าต่อสู้เพื่อให้ได้การเมืองใหม่ก็ไม่ง่ายนัก
ยิ่งการเมืองในระบบเก่าที่ฝังรากลึกมานานและยังฮึกเหิมอยู่ในปัจจุบัน

เราอาจจะยังต้องทนต่อภาพอันเจ็บปวดของการกระทำของนักเลือกตั้ง
พรรคการเมืองเก่าๆ ที่อิงแอบหากินกับเงินงบประมาณรัฐ
เงินภาษีของเราด้วยความละโมบ เราอาจจะต้องยี้แล้วยี้อีกกับข่าวน้ำเน่า
คนของพรรคนั้นพรรคนี้ตบตีกัน จี้ปล้นตำแหน่งรัฐมนตรีหน้าไม่อายกันต่อไป

นั่นเพราะการเมืองใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นภายในวันสองวัน
พรรคของพันธมิตรฯไม่ได้จะประสบความสำเร็จในปี 2 ปี
ทว่าสิ่งที่จะตามมาหลังจากฉันทามติของพันธมิตรฯ
ในการผลักดันให้มีพรรคการเมืองแล้วต่างหากที่ผมคิดว่าสำคัญมากกว่า

"พันธมิตรฯ เป็นของศักดิ์สิทธิ์
พรรคการเมืองที่จะตั้งก็เป็นเครื่องมือหนึ่งในการต่อสู้ของพันธมิตรฯ
ซึ่งพันธมิตรฯ ยังมีเครื่องมือหลายอย่าง" คุณสนธิที่เป็นแกนนำพันธมิตรฯ
บอกซึ่งผมเชื่อว่าพันธมิตรฯ ทั้งหมดหรือคนส่วนใหญ่ก็คิดเช่นเดียวกัน

พันธมิตรฯ ไม่ได้จะมีแค่พรรคการเมืองแต่ยังมีเครื่องมืออีกหลายๆ
อย่างที่สร้างการเมืองใหม่ เพื่อการเข้าสู่คำซึ่งคุณสนธิเรียกว่า
"ประชาธิปไตยทางตรง"

การมีพรรคของพี่น้องพันธมิตรฯ ก็คือ
หนทางอีกหนทางหนึ่งของการเข้าถึงประชาธิปไตยทางตรงของประชาชน!

นอกจากนั้นยังส่งสัญญาณไปถึงคนในสังคมได้อีกว่า
การเมืองใหม่ไม่มีขาย หากอยากได้ประชาชนก็มีแต่ต้องช่วยกันสร้าง

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000058621


ไหนฐานะที่เป็นหนึ่งคนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ได้เข้าร่วมการชุมนุมกว่า
190วัน ....เห็นด้วยที่พันธมิตรฯจะตั้งพรรคของตัวเอง
ส่วนหัวหน้าพรรคจะเป็นแกนนำหรือไม่ ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรอีกต่อไปแล้ว
จะเป็นท่านสนธิฯหรือไม่ก็ไม่ใช่เป็นประเด็นแล้ว เพราะแกนนำทั้ง5
ท่านก็เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณของพันธมิตรฯไปแล้ว .....
อย่างที่ท่านสนธิ์ฯเคยพูดอยู่เสมอๆ ทุกอย่างเป็นสิ่งสมมติ เพราะฉะนั้น
จะเป็นหัวหน้าพรรคหรือไม่ จะไปใส่ใจทำไมกัน
กทม.

++

ไม่ควรให้แกนนำ โดยเฉพาะคุณสนธิ ไปเกี่ยวข้อง
ไม่งั้นจะเป็นการลดบทบาทตัวเอง ในการตรวจสอบนอกสภา

คิดให้ดีก่อนทำ อย่าหลงไปตามกระแส
ถ้าพลาดไปแล้ว จะแก้ไขกลับมาไม่ได้ จะเขียนด้วยมือ แต่ลบด้วยเท้ากระนั้นหรือ
ติเพื่อก่อ

++ ความแตกต่างระหว่างการเมืองใหม่กับการเมืองเก่า คือ "คุณภาพ"
การเมืองเก่าไม่มีคุณภาพเพราะขาด"ระบบ"(Quality system)ตามมาตรฐาน UN
เพราะระบบเป็นหลักประกันคุณภาพ
รัฐบาลต่างๆของการเมืองเก่าไม่สามารถสร้าง"คุณภาพ"ได้เพราะขาดความรู้การบริหารคุณภาพ

การปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลทั่วโลกต่างปฏิรูปในประเด็นนี้ คือ
ปฏิรูปให้รัฐบาลมีคุณภาพ

การเมืองใหม่ของพันธมิตรฯอยู่บนรากฐานการบริหารคุณภาพ(Quality Management )เช่นกัน
คุณภาพ

++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น