โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
รับฟังความเห็น ร่างกฎหมายปฏิเสธยืดการตาย แพทย์ พยาบาล
ห่วงแนวทางปฏิบัติส่อเกิดปัญหาเหตุขัดหลักการรักษาทั่วไปของแพทย์ จี้
ราชวิทยาลัยแพทย์ ประกาศหลักเกณฑ์วาระสุดท้ายของชีวิตคลอบคลุมทุกโรค
เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แพทย์ ป้องกันถูกฟ้องร้อง
เตรียมฟังความเห็นครั้งสุดท้าย 12 มิ.ย.นี้ก่อนนำเข้าที่ประชุมใหญ่ คสช.
26 มิ.ย.นี้
วันที่ 29 พ.ค.ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น
ร่างกฎกระกรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่
ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของ
ชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. ...
ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 วรรค 2 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
ซึ่งเป็นเวทีรับฟังความเห็นของภาคกลาง โดยมีแพทย์ พยาบาล
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักกฎหมาย และเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง
เข้าร่วมรับฟังความเห็นประมาณ 50 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมส่วนใหญ่โดยเฉพาะแพทย์ พยาบาล
แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีหนังสือแสดงเจตนาฯ
ที่แพทย์จะต้องยุติการรักษา ซึ่งขัดกับหลักปฏิบัติโดยทั่วไปที่แพทย์
พยาบาลจะต้องช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ถึงที่สุด เช่น
ใครจะเป็นผู้ถอดเครื่องช่วยหายใจ
อาการเจ็บป่วยลักษณะใดที่เรียกว่าช่วงสุดท้ายของชีวิต
หากญาติมีความเห็นต่างจากหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์จะทำอย่างไร เป็นต้น
ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การจัดเวทีรับฟังความเห็นครั้งนี้
เน้นชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการ
สาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต
หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ให้กับญาติ
และผู้ป่วยที่ป่วยรับทราบวิธีการเขียนหนังสือแสดงเจตนาฯ
ที่ถูกต้องและไม่เกิดปัญหาในภายหลัง
และการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติของแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายเพื่อ
การจากไปอย่างสงบ ซึ่งทั้งญาติผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์
ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับปฏิเสธการรับรักษาเพื่อยืดชีวิตอยู่มาก
โดยเฉพาะลักษณะการเจ็บป่วยอย่างไร ที่เรียกว่าเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต
เช่น การเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ เป็นต้น
"การ วินิจฉัยอาการเจ็บป่วย
และบาดเจ็บของแพทย์แต่ละคนย่อมมีความเห็นแตกต่างกัน
ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องวิชาการทางการแพทย์โดยเฉพาะ ดังนั้น
ราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ
ควรจะมีเข้ามามีบทบาทในการพิจารณาถึงเกณฑ์ของวาระสุดท้ายในชีวิตให้ครอบคลุม
ทุกโรค เพราะแต่ละโรคมีข้อมูลวิชาการแตกต่างกัน
และประกาศออกมาเป็นหลักเกณฑ์เพื่อให้แพทย์นำมาใช้ประกอบการพิจารณายุติการ
รักษาที่เป็นการยืดอายุของผู้ป่วยที่มีหนังสือแสดงเจตนาฯ
และเพื่อป้องกันการฟ้องร้องแพทย์ในภายหลังหากเกิดปัญหาญาติไม่เข้าใจ"
ศ.นพ.วิฑูรย์ กล่าว
ศ.นพ.วิฑูรย์ กล่าวต่อว่า ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ ยังอนุญาตให้แพทย์
พยาบาลสามารถให้คำแนะนำให้กับผู้ป่วยทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ได้
โดยทางสถานพยาบาลอำนวยความสะดวกด้วยการจัดทำแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนาฯ
ได้ ซึ่งประเด็นนี้บุคลกรทางการแพทย์จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
เพราะอาจทำให้ผู้ป่วย ญาติเข้าใจผิดได้ โดยเฉพาะโรงพยาบาลรัฐ
ที่มีปัญหาภาพลักษณ์เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีการปฏิเสธการรักษาผู้ป่วย
ขณะที่โรงพยาบาลเอกชน สามารถให้คำแนะนำเรื่องนี้กับผู้ป่วยได้สะดวกกว่า
และผู้ป่วย ญาติอาจจะมีความรู้สึกดีกับโรงพยาบาลด้วยซ้ำ
เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่มี่ราคาสูงได้
เพราะที่ผ่านมาโรงพยาบาลเอกชนมักจะถูกเข้าใจว่ายื้อชีวิตผู้ป่วย
เพื่อให้แบกรักภาระค่ารักษาราคาแพง
ทั้งนี้ คสช.มีกำหนดต้องจัดเวทีรับฟังความเห็น 4 ภาค
เป็นครั้งสุดท้ายในวันที่ 12 มิถุนายนนี้ ที่จ.เชียงใหม่
จากนั้นจะมีการแก้ไขร่างกฎกระทรวง เป็นครั้งสุดท้าย
ก่อนนำเข้าที่ประชุมใหญ่ คสช.ในวันที่ 26 มิถุนายนนี้
จากนั้นจะนำร่างกฎกระทรวงฯ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เพื่อขอความเห็นชอบ หากครม. เห็นชอบในหลักการก็จะส่งร่างกฎกระทรวง
ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นทางกฎหมาย
จากนั้นจึงประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000060568
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น