++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พิชิต “โรคน้ำหนีบ” ภารกิจกู้ชีพนักดำน้ำ “รพ.วชิระภูเก็ต”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


       คงต้องยอมรับกันว่า “จ.ภูเก็ต” นั้นคือ สวรรค์แห่งการท่องเที่ยวในทุกมิติ โดยแต่ละปีสามารถดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศมายังเกาะไข่มุกอันดามันแห่งนี้ ได้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ภูเก็ตเป็นแหล่งดำน้ำที่สวยงามแห่งหนึ่งของโลก ทำให้การดูแลป้องกันความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวทางทะเลเป็นสิ่งที่ไม่อาจ มองข้ามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการดำน้ำอย่าง “โรคน้ำหนีบ” หรือ การได้รับบาดเจ็บจากแรงดันใต้น้ำ ที่เป็นภัยเงียบคุกคามนักดำน้ำอย่างไม่รู้ตัว

   
ณัฏฐ์ภรณ์ ณัฐปัณฑ์ร
       ณัฏฐ์ภรณ์ ณัฐปัณฑ์ร พยาบาลวิชาชีพ 6 งานเวชศาสตร์ใต้น้ำ รพ.วชิระภูเก็ต ให้รายละเอียดไว้ว่า โรคน้ำหนีบเป็นโรคซึ่งเกิดจากการที่แก๊สละลายเข้าสู่เนื้อเยื่อในร่างกายขณะ ดำน้ำแล้วแก๊สนั้นรวมตัวกันเป็นฟองอากาศอยู่ภายในเส้นเลือด และเนื้อเยื่อต่างๆ โดยมีสาเหตุมาจากการดำน้ำที่ลึก และใช้เวลานานเกินกำหนดแล้วขึ้นสู่ผิวน้ำ โดยไม่หยุดลดความกดดันภายในร่างกายให้เป็นปกติ ซึ่งเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนได้กับขวดน้ำอัดลมที่หากมองตาเปล่าก็จะมองไม่ เห็นฟองอากาศ แต่หากเขย่าขวด ฟองอากาศก็จะขยายใหญ่ขึ้นจนเกิดแรงดันออกมา
      
       เช่นกันกับคนที่อยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน ซึ่งขณะที่ดำลงไปยิ่งลึกเท่าไหร่ มวลของอากาศจะถูกบีบให้เล็กลง และเมื่อดำขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็ว ก็เหมือนกับการเขย่าขวดน้ำอัดลม คือ หากดำขึ้นเร็วกว่าความดันอากาศที่หายใจออก อากาศก็จะขยายใหญ่ขึ้น แล้วแทรกตามหลอดเลือด เข้าไปทางกล้ามเนื้อ เส้นประสาท ถ้าเป็นฟองก้อนขนาดใหญ่จะไหลเวียนเข้าสู่สมอง อาจทำให้เส้นเลือดสมองตีบตัน ความรู้สึกลดลง คลื่นไส้ เวียนหัว หากเป็นบริเวณเส้นประสาทจะมีอาการชาเหมือนเข็มทิ่มแทง
      
       “คน ที่ขึ้นจากผิวน้ำอย่างรวดเร็วแล้วเกิดอาการ บางรายถึงขั้นหมดสติ บางรายจะไม่หมดสติเสียทีเดียว แต่จะมีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า มีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ ถ้าเข้ารับการรักษาไม่ทันเวลาอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะอาการจะไม่เป็นอย่างรวดเร็ว บางรายใช้เวลา 2 วัน บางรายรู้สึกช้า ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับการดำน้ำถ้าใช้เวลานานมากอาการของโรคก็จะมีมากเช่นกัน” ณัฏฐ์ภรณ์ ขยายความ

มาตรวัดควบคุมแรงความดันอากาศ
       สำหรับภารกิจกู้ชีพผู้ประสบเหตุจากโรคน้ำหนีบนั้น ณัฏฐ์ภรณ์ บอกว่า นักท่องเที่ยวที่มาดำน้ำที่นี่ส่วนใหญ่จะมีอาการน้ำหนีบ และได้รับการบาดเจ็บจากปัญหาแรงดันใต้น้ำ ทางโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตจึงได้จัดตั้ง “ห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูง” (Hyperbaric Chamber) ขึ้น
       
       โดย กลไกการทำงานของเครื่องนั้น เป็นการรักษาด้วยออกซิเจนภายใต้ความดันอากาศสูง โดยจำลองให้เหมือนกับว่าเป็นการดำน้ำกลับลงไปในระดับความลึกที่มีอาการอีก ครั้ง เพื่อต้องการบีบมวลอากาศที่ขยายใหญ่ขึ้นให้เล็กลงเหมือนเดิม แล้วระบายมวลอากาศนั้นออกทางลมหายใจให้หมด โดยเครื่องนี้จะให้ออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% จากนั้นจะมีตัวดูดอากาศออก เพื่อให้มีการหมุนเวียนเป็นไปอย่างปกติ
      
       ด้านหลักการทำงานของเครื่อง Hyperbaric Chamber ที่มีลักษณะเป็นถังเหล็กขนาดใหญ่นั้นเมื่อปิดประตูจะมีการอัดแรงดันลมเข้าไป โดยจำลองให้เท่ากับความลึกของน้ำที่แสดงอาการ

แผงควบคุมภายนอก
       “การเข้าเครื่อง นี้จะช่วยลดขนาดฟองอากาศที่ไหลเวียนเข้าสู่หลอดเลือดของผู้ป่วยทั้งหมด บีบให้มีขนาดเล็กลงเหมือนเดิม เหมือนตอนอยู่ใต้ความลึกระดับที่เคยดำ แล้วระบายออกทางลมหายใจโดยผ่านหน้ากากดูดอากาศออก ให้แรงดันภายในร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งหลักการทำงานตรงนี้ได้ช่วยชีวิตของนักท่องเที่ยวอาการน้ำหนีบมาแล้วหลาย ราย บางรายมีอาการมากว่า 2 วันแต่ไม่ทราบ มาทราบเอาวันที่ตัวเองหมดสติ ไม่รู้สึกตัวต้องจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เมื่อฟื้นตัวขึ้นมาผู้ป่วยก็เข้าสู่ภาวะอัมพาต แต่หลังจากที่ผู้ป่วยเข้าเครื่องนี้ผ่านไปประมาณ 7 ครั้ง ผู้ป่วยก็สามารถลุกเดินได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยที่เป็นโรคน้ำหนีบ มาเข้ารับการรักษาทันภายใน 6 ชั่วโมง หลังจากขึ้นจากน้ำแล้วมีอาการ การรักษาจะสามารถหายได้ 100% ไม่มีพยาธิสภาพหลงเหลืออยู่”

ลักษณะของห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูง (Hyperbaric Chamber)
       ณัฏฐ์ภรณ์ ยังบอกอีกว่า นอกจากการรักษาโรคน้ำหนีบแล้วนั้น เครื่องนี้ยังสามารถรักษาโรคเสริมได้อีกหลายโรคเช่น โรคที่เกิดจากแผลเบาหวาน แผลเรื้อรัง แผลจากการฉายรังสี แผลที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย ซึ่งหากผู้ที่มีอาการเหล่านี้มาเข้าเครื่องรักษา ออกซิเจนภายในเครื่องจะช่วยสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ เป็นการทำให้แผลที่เกิดหายเร็วยิ่งขึ้น
      
       สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษานั้น หากเป็นโรงพยาบาลรัฐจะถูกกว่าเอกชนประมาณ 3 เท่า หากมีการใช้ในการรักษาโรคเสริมจะเสียครั้ง 1,250 บาท แห่หากเป็นการรักษาด้วยโรคน้ำหนีบจะคิดชั่วโมงๆ ละ 12,000 บาท ทั้งนี้ในส่วนของการใช้สิทธิประกันสังคมตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้ที่ให้ สามารถใช้เครื่องนี้ได้นั้นคือ โรคจากการดำน้ำ แผลเบาหวาน ภาวะของการเกิดแผลจากการฉายรังสี

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000034197

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น