++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

ตามหาแก่นธรรม 260 สุดโต่ง ( OVER BEYOND )

ตามหาแก่นธรรม 260 สุดโต่ง ( OVER BEYOND )

การรู้ทันความคิด อารมณ์ ตัณหา กิเลส อุปทาน อวิชชา กรรม ใจ ไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้นอะไรที่ต้องตื่นเต้น หากแจ้งในพระนิพพานใช่หรือไม่
ไม่ใช่อวดอ้างหรือแสดงอะไร เพียงแต่ยังใคร่จะดำเนินในหนทางแห่งสัมมามรรคที่มีองค์แปดเท่านั้น
อคานาริก

สุดโต่ง ( OVER BEYOND )
ค่ำคืนแห่งวันศุกร์ ในสถานที่สุขสงบ เย็น มีเพียงเสียงแห่งสายลมที่พัดปะทะจนหน้าสั่นเย็นสะท้าน หลังจากที่ได้ยินแต่เสียงดังของรถยนตร์ที่ดังสนั่นหูได้หายไปกับความสงบ
ท้องฟ้าโปร่ง เห็นดาวระยิบระยับเต็มท้องฟ้า รวมทั้งพระจันทร์ที่ช่วยทำให้ท้องฟ้าคืนที่มืดมิดสว่างไสวไปไกล แม้วัตถุทั้งหลายชี้นำจะอยู่แสนห่างไกลจากโลก
ทำให้จิตสลัดคืนอารมณ์หลากหลายที่สะสมมานานออกไปได้มาก จนดื่มด่ำกับความสุขสงบ นี่หรือที่เรียกว่าวิเวก ความสงัด ความปลีกออก เป็นความสงัดกาย สงัดใจ และสงบ
เหมือนกับจิตที่มืดมิดได้
ตื่นจาก ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
ตื่นจากความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
ตื่นจาก ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม ตื่นจาก ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
ตื่นจาก ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่ที่เรียกว่าเคื่องกั้นหรือนิวรณ์
นอกจากท้องฟ้าที่สว่างไสว จิตเองก็พลอยสว่างไสวไปด้วย และเริ่มดื่มด่ำกับความสงบระงับ ชุ่มใจ นิ่ง เย็น จนเสียงลมที่ดังลั่นหูก็หายไป
นี่หรือความสุขที่เกิดจากความสงบ ทิ้งหน้าที่ การงาน และสิ่งเคยชินออกไปจนแทบจะหมด เหลือแต่การกระทบของสายลมกับร่างกาย เพื่อให้รู้ในช่วงขณะจิตนี้
คนเป็นสิ่งที่เหนือความยิ่งใหญ่ทั้งปวงจริงหรือ เหนือกว่าคอมพิวเตอร์รุ่นใดๆทั้งปวงในโลก สามารถที่จะสร้างสิ่งต่างๆที่ต่อสู้กับอำนาจแห่งธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ได้มากมาย จนมีความสุขแห่งกายได้เหลือล้น
แต่คนเหล่านั้นก็มักจะหลอมรวมกายกับจิตเข้ากับวัตถุ จนแทบจะกลายเป็นสิ่งเดียวกันที่เรียกว่าวัตถุนิยม พร่ำเพ้อรำพันการแสวงหาแต่วัตถุนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน กิน กาม เกียรติหรือหลอมรวมไปกับนาม เช่นโลกธรรม ที่มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จนลืมมองอีกด้านหนึ่งที่มีแต่ความเสื่อมในลาภ ในยศ นินทา ทุกข์
ผู้คนที่คิดว่าตนเองเป็นนักวางแผนเป็นผู้พิพากษาที่คอยตัดสินสิ่งนั้นสิ่งนี้ คนนั้นคนนี้ ล้วนตกอยู่ในหลุมพรางแห่งกับดักแห่งตน กับดักแห่งอวิชชา ตัณหา อุปทาน กรรม
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงค้นพบความจริงทั้งปวงจาก กามสุขัลลิกานุโยค (การปรนเปรอตนด้วยกาม) และ อัตตกิลมถานุโยค (การทำตนให้ลำบากโดยไม่สมควร) พระองค์จึงเลือกเดินบนหนทางสายกลาง ทางแห่งการตรัสรู้ ทางแห่งหนทางที่จะกำจัดเหตุทั้งปวงเพื่อดับผลทั้งปวง
ผู้คนสมัยนี้นอกจากจะติดกับดักแล้วยังติดหล่มที่ยากจะปีนขึ้นแล้ว ท่านทั้งหลายที่ยังตกลงไปในสังคมก้มหน้าที่มัวแต่คุยกันผ่านเครื่องมือไอทีจนลืมสังคมแห่งผู้คนนั้น
ก็เป็นเช่นหลุมหล่มลึก ยากนะที่จักหาหนทางแห่งความสงบทางจิต หลุมลึกที่ผู้คนเดินทางได้ไวตามกิเลส และนำผู้คนไปยังหนทางแห่งตัณหาสุดโต่ง จิตมันหลอกจิตทั้งนั้นแหละท่าน เอวัง

อนาคาริก

พระสารีบุตรได้กล่าวถึงสุขัลลิกานุโยคไว้(ในสังคีติหมวด 4) ว่า มี 2 ลักษณะ คือ สุขัลลิกานุโยคที่ไม่เป็นอริยะ และสุขัลลิกานุโยคที่เป็นอริยะ

สุขัลลิกานุโยคที่ไม่เป็นอริยะ มี 4 คือ การฆ่าสัตว์แล้วบำรุงตนให้เอิบอิ่ม, การลักทรัพย์แล้วนำมาบำรุงตน,การพูดเท็จเพื่อได้ประโยชน์มาบำรุงตน และ การบำเรอตนให้เอิบอิ่มอยู่ด้วยกามคุณ 5

ส่วน สุขัลลิกานุโยค 4 ที่เป็นอริยะ คือ ความสุขที่เกิดจาก การบรรลุปฐมฌาน, บรรลุทุติยฌาน,บรรลุตติยฌาน และการบรรลุจตุตถฌาน

ซึ่งมีอานิสงส์คือ ทำให้เป็นอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

เนื่องจาก สัมมาสมาธิ นั้น หมายเอาฌาน 4 และเป็นสมาธิที่โน้มไปเพื่อการปล่อยวาง การสละ ละ คืน เป็นบาทฐานของปัญญา ดังนั้นจึงเป็นที่รู้กันว่า เมื่อเสพสุขที่ไม่มีเหยื่อล่อแล้ว ก็ไม่ติดใจในสุขนั้น แต่ใช้จิตขณะที่ควรแก่การใช้งานนั้น ไปทำงานทางปัญญาเพื่อให้เห็นธรรมต่อไป

งานวิปัสสนา (ปัญญา) คือบันไดขั้นต่อไปของงานทางจิต (สมาธิ) หลังจากที่มีวิถีชีวิตที่เป็นไปเพื่อความเป็นปรกติ (ศีล) เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

มีพุทธพจน์เกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาบันดังนี้

“หากภิกษุพึงหวังว่า “เราพึงเป็นโสดาบัน” เพราะสังโยชน์ ๓ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอน ที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า” ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง”

ม.มู. (แปล) ๑๒/๖๗/๕๘ – ๕๙
จากโอเค เนชั่น ดอทเน็ท

วิเวก ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก เป็นความสงัดกาย สงัดใจ และสงบ อุปธิ(กิเลสอย่างหยาบที่ทำให้สร้างกรรมทางกาย วาจา)ทั้งปวง

วิเวก 3[แก้]
#?#?กายวิเวก? ความสงัดกาย ได้แก่การอยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี
#?#?จิตตวิเวก? ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ หมายเอาจิตแห่งผู้มีสมาธิและสติ
#?#?อุปธิวิเวก? ได้แก่ธรรมอันเป็นที่สงบระงับอุปธิทั้งปวง (หมายเอาผู้ฝึกฝนทางปัญญา จนเอาชนะกิเลส อนุสัยและสังโยชน์อันเหตุสร้างกรรมทางกาย วาจา(อุปธิ)

นอกจากนี้ยังมี วิเวก 5 มีความหมายอย่างเดียวกับ นิโรธ 5

อ้างอิง[แก้]
#?#?พระธรรมปิฎก? (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
#?#?พระไตรปิฎก? เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ได้คุยกับเทพมากมายที่คนทั้งหลายสมมติมาแล้วชี้นำให้ในสัปดาห์นี้ แต่ไม่ติดใจเท่าสุดโต่งของท่านอนาคาริกเลย สังคมก้มหน้า เฮ้อ...................เงยหน้าก็ยังก้มอยู่นั้นแหละเพราะจิตมันจมขี้
อนุโมทนาและสาธุการแด่ท่านอนาคาริกครับ

สะมะชัย

หมายเหตุแก่นธรรมวันนี้
๑. ผู้เขียนและคณะเป็นผู้เขลาทางปัญญา หากมีข้อผิดพลาดบกพร่อง ขอน้อมรับทุกประการ บุญกุศลที่เกิดจากบทความนี้ขอน้อมถวายแด่หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ และอุทิศให้แก่บรรพบุรุษ อันมีพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นปฐม เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ทั้งหลายในสากลโลกนี้ รวมทั้งท่านผู้อ่านทุกท่าน ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
๒. เพื่อนๆพี่น้องครับ ผ้าป่าแก่นธรรมสามัคคีฯที่ห่างหายกันไปนานหลายปี ขอจัดใหม่ในเดือนกันยายนปีนี้ จะไปทอดที่วัดสุนทรธรรมทาน( แค นางเลิ้ง )เพื่อบูรณะโบสถ์และก่อสร้างถาวรวัตถุทางธรรม และนำอีกส่วนหนึ่งไปบริจาคให้โรงพยาบาลจุฬา สภากาชาด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอนาถาที่มีจำนวนมากขึ้นทุกวันๆ ต่อชีวิตกันไป สามเณรในครั้งพุทธกาลยังรอดจากกรรมเก่าเพราะช่วยชีวิตปลาเลย มาก่อกุศลกรรมร่วมกันเถอะครับ วันเวลาจะเเจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง การดำเนินการรูปแบบเดิม พบกันที่วัดนะครับเพื่อนๆพี่น้องแก่นธรรมทั้งหลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น