ที่มีความแตกต่างจากโรคปวดศีรษะทั่วไปอย่างคาดไม่ถึง
ปัจจุบันสาเหตุของไมเกรนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
มีอยู่หลายทฤษฎีที่เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้
โดยเชื่อกันว่าอาจจะเกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง
การสื่อกระแสประสาทในสมอง
หรือการทำงานที่ผิดปกติไปของหลอดเลือดสมองชั่วคราว
และจากข้อมูลทางระบาดวิทยา
ปัจจุบันเชื่อว่าไมเกรนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
แต่จะเกิดอาการหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มากระทบ
อาการอย่างไรถึงเรียกไมเกรน
อาการปวดศีรษะไมเกรนต่างจากอาการปวดศีรษะธรรมดาตรงที่ว่า
อาการปวดศีรษะธรรมดามักจะปวดทั่วทั้งศีรษะ ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดตื้อ ๆ
ที่ไม่รุนแรงนัก และมักจะไม่มีอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ร่วมด้วย
ส่วนใหญ่จะหายได้เองเมื่อได้นอนหลับสนิทไปพักใหญ่ แต่ไมเกรน
มักจะปวดตุ๊บ ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ก็มีบางคราวที่ปวดแบบตื้อ ๆ
ส่วนมากจะปวดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก โดยจะค่อย ๆ
ปวดมากขึ้นทีละน้อยจนกระทั่งปวดรุนแรงเต็มที่แล้วจึงค่อย ๆ
บรรเทาอาการปวดลงจนหาย มักจะปวดข้างเดียว
หรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้งสองข้าง
และแต่ละครั้งที่ปวดมักจะย้ายข้างไปมาหรือย้ายตำแหน่งได้
แต่บางครั้งก็อาจจะปวดทั้งสองข้างขึ้นมาพร้อม ๆ กันตั้งแต่แรก
ใครติดอันดับเป็นไมเกรน
โรคปวดศีรษะไมเกรน ส่วนใหญ่จะเป็นในผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์
ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
มักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง
แต่ก็อาจเกิดในผู้ที่สุขภาพจิตดีก็ได้
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไมเกรน
อาการปวดศีรษะที่เกิดจากโรคไมเกรน
แพทย์ต้องทำการวินิจฉัยจากลักษณะจำเพาะของอาการปวดศีรษะ
อาการที่เกิดร่วมด้วย ตรวจร่างกายพบว่าสมองทำงานปกติดี
และไม่พบความผิดปกติของร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่จะทำให้ปวดศีรษะได้ด้วย
- ลักษณะต่าง ๆ ของอาการปวด ได้แก่ ตำแหน่ง ความรุนแรง
ลักษณะการปวด การดำเนินของการปวด
- อาการที่เกิดร่วมด้วย คลื่นไส้ เวียนหัว
- ไม่พบความผิดปกติของการทำงานของสมองหรืออวัยวะต่าง ๆ
ที่อาจก่อให้เกิดอาการปวด เช่น ความคิดอ่านเชื่องช้า มองเห็นภาพซ้อน
แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ไข้ ตาแดง ตาโปน มีน้ำมูกกลิ่นเหม็น เป็นต้น
- ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด เช่น ความเครียด แสงจ้า ๆ อาหารบางชนิด อดนอน
- ปัจจัยทุเลาอาการปวด เช่น การนอนหลับ การนวดหนังศีรษะ ยา การกดจุด
นอกจากนี้
แพทย์อาจต้องสอบถามอาการและตรวจร่างกายผู้ป่วยเพิ่มเติมในกรณีที่จำเป็น
เพื่อการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง
ปัญหาที่พบบ่อยที่เห็นได้ชัดคือ
เสียสุขภาพกาย ต้องทรมานจากความปวด
บางรายปวดรุนแรงมากจนแทบอยากจะวิ่งเอาหัวชนฝาผนัง
บางรายปวดข้ามวันข้ามคืนจนนอนหลับไม่สนิท บ้างก็คลื่นไส้อาเจียน
อ่อนเพลียจนเสียสมรรถภาพการเรียนการทำงาน
ไมเกรนเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้ทำงานประเภทใช้ความคิด
ต้องขาดงานเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจไม่น้อย
ถ้าเป็นบ่อยและรุนแรงมาก ๆ ก็ทำให้เสียสุขภาพจิตได้
บ้างก็จะวิตกกังวลว่าอาจจะเป็นเนื้องอกในสมอง
ไมเกรนช่วยได้
วิธีการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรนที่สำคัญคือ
การบรรเทาอาการปวดศีรษะ และการป้องกันไม่ให้เกิดหรือลดความถี่
ความรุนแรงของอาการ
การบรรเทาอาการปวดศีรษะนั้น อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา เช่น การนวด
การกดจุด การประคบเย็น การประคบร้อน หรือการนอนหลับ
ในรายที่ไม่ได้ผลหรืออาการปวดรุนแรงจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด
สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดหรือลดความถี่ ความรุนแรงของอาการปวดศีรษะนั้น
ที่สำคัญมีอยู่ 2 วิธี
* วิธีแรก คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
ร่วมกับการกำจัดความเครียดอย่างเหมาะสม
* วิธีที่สอง คือ กินยาป้องกันไมเกรน
แพทย์จะแนะนำให้กินยาป้องกันก็ต่อเมื่อปวดศีรษะบ่อยมาก เช่น สัปดาห์ละ
1-2 ครั้งขึ้นไป
หรือแม้จะปวดไม่บ่อยแต่รุนแรงมากหรือนานต่อเนื่องกันหลายวัน
ยาป้องกันไมเกรนนั้นมีอยู่หลายชนิด ยาแต่ละชนิดจะมีผลข้างเคียงต่างกันไป
จะต้องเลือกชนิดและปรับขนาดยาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายไป
แนะนำให้กินยาป้องกันต่อเนื่องจนอาการสงบลงนาน 6 - 12 เดือน
จึงลองหยุดยาได้ เมื่อกำเริบขึ้นอีกจึงเริ่มกินใหม่
แม้ไมเกรนจะเป็นโรคที่เรื้อรัง แต่สามารถควบคุมให้โรคสงบลงได้
หากรู้จักรับมือกับอาการที่เกิดขึ้น
รศ.นพ.รังสรรค์ ชัยเสวิกุล
อายุรแพทย์ระบบประสาทสมอง
อาการเจ็บป่วยนาๆชนิด ในปัจจุบันยากที่จะรักษาทางการแพทย์ให้หายขาด เนื่องจากยาไม่สามารถนำเส้นแรงแม่เหล็กที่กดทับเซลล์ในร่างกายออกได้ เซลล์จึงเสื่อมเร็ว และยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในร่างกายอย่างรวดเร็วอีกด้วย ทำให้น้ำท่วมปอดอย่างรวดเร็ว
ตอบลบปัจจุบันหลังแผ่นดินไหวในชิลี แกนโลกสวิงกลับไปที่เดิมเกือบตั้งตรง นำพลังเส้นแรงแม่เหล็กเข้าสู่ศรีษะของคนโดยตรงตลอดเวลา ทั้งหนักและร้อน และเลือดข้น ลองค้นหาวิธีแก้ไขจากพระอาจารย์ที่ค้นหาโดยญาณทัสสนะที่..http://www.ainews1.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=231