++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เมื่อใจไม่ตรงกับเพศจะทำอย่างไร/รศ.นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     .
       บทความโดย : รศ.นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช ศัลยแพทย์ด้านศัลยกรรมตกแต่ง
      
       ป ัญหาเรื่องจิตใจที่มีความต้องการเป็นเพศตรงกันข้ามกับเพศที่กำเนิด มีประวัติมายาวนานกว่า 2,000 ปี ย้อนไปได้ถึงในสมัยโรมัน ทาสชื่อ Sporus ได้เปลี่ยนอวัยวะเพศจากชายเป็นหญิง และได้เป็นภรรยาของ Nero ซึ่งเป็นซีซาร์องค์สุดท้ายของโรมัน
      
       หากแต่การแปลงเพศยุคปัจจุบันเริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ.1832 ในผู้หญิงที่มีช่องคลอดตีบ ในปี 1963 John Hopkin University ได้ตั้งทีมสหสาขาเพื่อรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ และในปี 1966 Harry Benjamin ซึ่งถือว่าเป็นบิดาแห่งการแปลงเพศได้แต่งตำรา ชื่อ The Transsexual Phenomenon ซึ่งเป็นตำราพื้นฐานเกี่ยวกับความผิดปกติของลักษณะเพศ (Gender Identity Disorder) เขาได้กำหนดลักษณะที่สำคัญของความผิดปกตินี้ 4 อย่าง คือ
      
       1.มีความต้องการที่จะเป็นเพศตรงกันข้ามไปตลอดชีวิต
       2.มีลักษณะภายนอกที่ตรงกันข้ามกับเพศทางพันธุกรรมและแต่งตัวเป็นเพศตรงกันข้ามโดยไม่มีอารมณ์ทางเพศ
       3.มีความรู้สึกเกลียดชังอวัยวะเพศของตัวเองและไม่มีความสุขจากมัน
       4.ไม่มีความรู้สึกชอบเพศเดียวกัน
      
       การรักษา
       การรักษาผู้ที่ไม่ต้องการเพศของตัวเองเป็นการรักษาที่ซับซ้อน ซึ่งต้องดูแลทั้งด้านจิตใจ สังคม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และรูปลักษณ์ที่แสดงเพศ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น จิตแพทย์ แพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ นักสังคมสงเคราะห์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง และในบางประเทศอาจจะรวมถึงฐานะทางด้านกฎหมายด้วย โดยมีการรักษาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
      
       1.ให้ผู้ป่วยลองใช้ชีวิตแบบเพศตรงกันข้าม เพื่อยืนยันภาวะนี้และแยกจากความผิดปกติอื่นที่ใกล้เคียงกัน เช่น ความต้องการเป็นเพศตรงกันข้าม จากโรคจิตหลอน (Schizophrenia)
      
       2.การรักษาด้วยฮอร์โมน อาจเริ่มก่อนใช้ชีวิตแบบเพศตรงกันข้าม ในยุโรปอาจเริ่มใช้ฮอร์โมนเร็ว ก่อนที่ลักษณะทางเพศจะแสดง การใช้ฮอร์โมนก็อาจมีผลแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น มีน้ำนมไหล ไขมันในเลือดสูง สิว ตับอักเสบ เป็นต้น
      
       3.การผ่าตัดเปลี่ยนแปลงลักษณะเพศ มี 2 แบบ คือ จากชายเป็นหญิงและจากหญิงเป็นชาย ซึ่งการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิงทำมากกว่าการผ่าตัดแปลงหญิงเป็นชาย การผ่าตัดแปลงเพศ แบ่งเป็น
       1.อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก คือส่วนของอัณฑะและองคชาติในผู้ชาย ส่วนในผู้หญิงคือรังไข่ และมดลูก
       2.รูปลักษณ์แสดงเพศอย่างอื่น เช่นในผู้ชาย คือ กระดูกกล่องเสียง (Adam apple) ในผู้หญิงคือเต้านม
       การแปลงเพศจะเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ได้ แต่โดยทั่วไปในรายที่ต้องการเปลี่ยนจากชายเป็นหญิงอาจจะเริ่มจากเสริมเต้านม ด้วยถุงเต้านมเทียม ต่อมาตัดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และตัดกระดูกกล่องเสียงเป็นต้น

       การผ่าตัดแปลงอวัยวะเพศชายเป็นหญิง ข ั้นตอนการผ่าตัดอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายร่วมกับสร้างช่องคลอดและลักษณะอวัยวะเ พศหญิง โดยทั่วไปการผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะถูกดมยาสลบหรือให้ยาชาเข้าไขสันหลัง หลังจากเตรียมทำความสะอาด แพทย์จะสวนสายยางที่ท่อปัสสาวะ เริ่มสร้างช่องคลอดใหม่โดยกรีดผิวหนังระหว่างถุงอัณฑะ และรูทวารหนักดังรูป จากนั้นจะเลาะโพรงเข้าไปจนถึงใกล้กับเยื่อบุช่องท้อง องคชาต และท่อปัสสาวะ จะถูกตัดให้สั้น โดยเก็บผิวหนังที่หุ้มไว้ เลาะเอาอัณฑะออก หลังจากนั้น ผิวหนังของอัณฑะและองคชาต จะถูกดันเข้าไปในช่องคลอดที่เลาะไว้ ถ้าผิวหนังไม่พอก็จะหาผิวหนังจากบริเวณขามาเสริม ผิวหนังโดยรอบจะเย็บปิดพร้อมกับเจาะรูท่อปัสสาวะและตุ่มคริตอริส ส่วนผิวหนังภายนอกจะถูกเย็บแต่งเป็นกลีบปากช่องคลอด แล้วจึงใส่ผ้าก็อซเข้าไปในช่องคลอดเพื่อกันไม่ให้โพรงตีบแคบ
      
       สำหรับแผลผ่าตัดจะหายภายใน 7-14 วัน และอาจจะต้องนอนพักในโรงพยาบาลประมาณ 7 วัน
      
       ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อยสุด คือ การตีบแคบของช่องคลอด การป้องกันคือต้องมีการขยายช่องคลอดโดยตัวผู้ป่วยเองอีกเป็นเวลา 3-6 เดือน ผลแทรกซ้อนอื่นอาจมีคือ เลือดคั่ง ติดเชื้อ เกิดทางต่อระหว่างช่องคลอดกับปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่
      
       การผ่าตัดแปลงเพศหญิงเป็นชาย
       มีขั้นตอนยุ่งยากมากกว่า แบ่งออกได้เป็น
       1.ตัดเต้านม
       2.ตัดอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน
       3.ตัดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกร่วมกับสร้างอวัยวะเพศชาย
      
       ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่ต้องการมีลักษณะเป็นเพศชายอาจจะทำแค่ตัดเต้านมหรื ออวัยวะสืบพันธุ์ภายใน คือ รังไข่ และมดลูกออกก็พึงพอใจแล้ว แต่ถ้าต้องการสร้างอวัยวะเพศชาย ขั้นตอนการผ่าตัดก็คือ เลาะเอาเยื่อบุช่องคลอดออก หลังจากนั้นจะสร้างท่อปัสสาวะจากเยื่อบุช่องคลอดร่วมกับการสร้างองคชาต โดยการใช้ผิวหนังจากโคนขา หรือผิวหนังหน้าท้องก็ได้ การผ่าตัดนี้ไม่ยุ่งยากมากนัก แต่จะมีแผลเป็นบริเวณใกล้เคียงกันค่อนข้างมาก ถ้าใช้เนื้อเยื่อที่อยู่ไกลไป เช่น ใช้เนื้อจากแขนหรือต้นขาก็จะได้รูปร่างขององคชาต และท่อปัสสาวะที่ดีกว่า แต่การผ่าตัดจะใช้เวลานานขึ้น การใช้เนื้อเยื่อทั้ง 2 อย่างนี้อาจจะร่วมกับการใส่วัสดุเสริมทำให้องคชาติที่สร้างมีความแข็งแรงมาก ขึ้น การสร้างอัณฑะจะใช้ผิวหนังจากกลีบปากช่องคลอดร่วมกับการใส่วัสดุเทียมด้านใน ก็จะได้ผลดี
      
       ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ การโผล่ของแกนที่ใส่เข้าไป และการตีบแคบของท่อปัสสาวะ
      
       แ ต่ไม่ว่าจะพยายามเปลี่ยนลักษณะไปเป็นเพศใดก็ตาม การรักษาต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากความคิดที่ยังไม่ชัดเจน การรักษาจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่มีความต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ด้วยความมั่นใจมากขึ้น
      
      
      
       เพิ่มพูนความรู้ผ่าตัดแปลงเพศ
      
       ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย เชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์เข้าฝึกอบรมวิชาการเรื่อง”การผ่าตัดแปลงเพศ” ระหว่างวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2552 ณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 โรงพยาบาลศิริราช พบการสาธิตผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง จาก นพ.สงวน คุณาพร และ นพ.กุลเดช เตชะนภารักษ์ นอกจากความรู้ความเข้าใจ อาทิ กายวิภาคของมนุษย์ ข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เทคนิคและขั้นตอนการผ่าตัดแปลงเพศ ตลอดจนการดูแลผู้ป่วย ค่าลงทะเบียน 5,000 บาท รับจำนวนจำกัด สอบถามหรือสมัครได้ที่คุณวันเพ็ญ จันทรวิมล สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง โทร. 0-2419-8002 โทรสาร 0-2412-8109

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000007183

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากคับ..กับสาระดีีๆๆที่นำมาาฝาก

    ตอบลบ