++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หนาวนี้ชม นกเหยี่ยว นักล่าเหยื่อ..จ้าวเวหา

!!', '
นกเหยี่ยว...(Hawks and Falcons) จัดอยู่ในกลุ่มนกล่าเหยื่อ จำแนกตามลักษณะชีวเคมี แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ 1. วงศ์เหยี่ยวปีกแตก มี 65 สกุล 240 ชนิด 2. วงศ์นกเลขานุการ มี 1 สกุล 1 ชนิด และ 3. วงศ์เหยี่ยวปีกแหลม มี 10 สกุล 63 ชนิด
มีลักษณะเด่นคือ เป็นนกที่มีรูปร่างล่ำสัน สายตาเฉียบคม มองเห็นได้ในระยะทางไกล เช่น สัตว์ตัวเท่าขนาดนกพิราบ สามารถมองเห็นได้ในระยะ 1,000 เมตรและเหยี่ยวบางชนิดมีความสามารถในการได้ยิน แม้ว่าเหยื่อจะหลบอยู่ในพงหญ้ารกและทึบ
เพราะมีสายตาเฉียบคม มันจึงได้รับฉายา... นกนักล่าเหยื่อ...จ้าวเวหา...!!
ปากของนกเหยี่ยวจะเป็นตะขององุ้มแหลมคมแข็งแรง มีนิ้วเท้าและเล็บที่โค้งแข็งแรง สามารถใช้จับพร้อมกับฉีกเนื้อเหยื่อได้ในพริบตา มีปีกที่พัฒนาให้บินได้นาน รวดเร็ว และทนต่อทุกสภาพอากาศ นกเหยี่ยวเพศเมียจะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าเพศผู้ถึงสองเท่า มีอายุเฉลี่ยประมาณ 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับขนาดตัว, อาหาร, สิ่งแวดล้อมและโรคภัย
ในอดีตมีการค้นพบซากนกเหยี่ยวดึกดำบรรพ์ มีอายุถึง 6 ล้านปี เราสามารถพบนกเหยี่ยวได้ในทุกพื้นที่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเล ทราย, พื้นที่กึ่งแห้ง, พื้นที่โล่ง, พื้นที่ราบ, ป่า, ภูเขา, ชายฝั่งท้องทะเลหรือแม้ กระทั่งเมืองใหญ่ๆที่มีมนุษย์อาศัยอยู่
3 ใน 4 ส่วนของชนิด และจำนวน ของประชากรนกเหยี่ยว จะเป็นนกอพยพย้ายถิ่น เมื่อสภาพภูมิอากาศ มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่กลางเดือนกันยายนเป็นต้นมา ปริมาณอาหาร ของนกเหยี่ยวจึงต้องอพยพ ลงมาบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย
ปี 2547 นี้ ปรากฏว่ามีนกเหยี่ยว หลากหลายชนิด พากันอพยพมาอยู่ร่วมกันมากมายที่ชาย ทะเลภาคใต้ การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงได้ร่วมกับ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย จัด เทศกาลดูเหยี่ยวอพยพ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ห้วงตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป ใครสนใจไปร่วมชมความงาม...ร่วมส่องกล้องดูนกเหยี่ยว (ห้ามยิง) สอบถามได้ที่กองส่งเสริมการขายตลาดภายในประเทศ ททท. โทรศัพท์ 0-2250-5500 ต่อ 1320-1323 ในเวลาราชการ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น