++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ปลูกผักอินทรีย์รูปแบบใหม่ FoodSafety งานวิจัยฝีมือชาวบ้าน

', '
ตามที่รัฐบาล มีนโยบายประกาศ ให้ปี 2547 เป็นปี Food Safety หรือปีแห่งความปลอดภัย ด้านอาหาร ดูเหมือนประชาชนเอง จะตื่นตัว และหันมาบริโภคผัก อนามัยปลอดภัยสารพิษกันมากขึ้น ถือเป็นความสำเร็จ ของรัฐบาลระดับหนึ่ง ทว่าในความสำเร็จ ที่ไม่ได้จัดการแยก ตลาดเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัยสารพิษ ให้ชัดเจนนั้น กลับสร้างปมปัญหา ทางด้านราคาแก่เกษตรกร ผู้ปลูกอย่างหนัก
เนื่องจากหาความ แตกต่างในตัวสินค้าไม่ได้ !!!
นายเจือ จีนแส เกษตรกรที่ปฏิวัติ การทำการเกษตร แบบใช้สารเคมี มาทำเกษตรอินทรีย์แนวใหม่ เล่าให้ฟังเมื่อครั้งที่ สำนักส่งเสริม และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จ.ราชบุรี พาสื่อมวลชนไปเยี่ยมชม ไร่ว่า... แต่ก่อนก็ทำไร่ นี่แหละ ใช้สารเคมีตลอด หนักเข้าแทนที่โรคและศัตรูพืชจะหายไป กลับเป็นว่าตัวเองต้องมาล้มป่วย ทุกครั้งที่ฉีดพ่นสารเคมี นอกจากนี้ ยิ่งทำยิ่งต้นทุนสูง เพราะสภาพดินเสื่อมโทรม เพราะต้องเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ผลผลิตตกต่ำ ขาดทุนเป็นหนี้เป็นสิน พอดีได้ฟังรายการของ อ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ในปี 2544 จึงเปลี่ยนมาทดลองทำ จากนั้นจึงค่อยๆศึกษาเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา ในการกำจัดโรคและศัตรูพืชด้วยตนเองเรื่อยมา
ด้วยความพยายามบวกกับความอดทนอยู่เป็นปี จนในที่สุดเขาก็สามารถเอาชนะ การใช้สารเคมีได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เขาพบวิธีการใหม่ๆ ในการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จอีกด้วย นายเจือ เล่าว่า การทำเกษตรอินทรีย์สิ่งแรกที่ต้องมีอยู่เต็มหัวใจก็คือ ความอดทน ถึงจะทำได้ ปีแรกๆตัวเองก็ท้อจะเลิกทำอยู่หลายครั้ง เพราะไม่ได้ผลผลิตเลย แต่ก็พยายามกัดฟันสู้มาตลอด พอเข้าปีที่ 2 เริ่มมีประสบการณ์มากขึ้น ก็นำประสบการณ์ตรงนั้นมาเป็นครู ควบคู่กับใช้ระบบการเรียนรู้ในโรงเรียนเกษตรกร
ปัจจุบันเขามีพื้นที่ ทำเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด 5 ไร่ ปลูกมะระและถั่วฝักยาวอินทรีย์ ไม่มีการใช้สารเคมีอีก จะใช้เพียงปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดไถกลบ ปรับปรุงดินทุกครั้ง ก่อนเตรียมแปลงเท่านั้น และใช้พืชสมุนไพรจำพวกขิง ข่า กระเทียม ตะไคร้ ใบน้อยหน่า สะเดา มาสกัดสารเพื่อใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยจะเน้นเรื่องการรักษาระบบนิเวศวิทยา และความสมดุลธรรมชาติเป็นสำคัญ
การใช้สารสกัดจากสมุนไพรนั้น จะใช้ระบบไล่ ไม่ใช้ระบบน็อก และต้องหมั่นสำรวจแปลงทุกเช้า ดูว่ามีเพลี้ยหรือหนอนลงแปลงไหม ส่วนการใส่ปุ๋ยจะใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) และปุ๋ยคอก วางไว้ตรงกลางระหว่างร่องปลูก (ดังภาพ P 1) ปล่อยให้เกิดการหมักตามธรรมชาติ ระบบน้ำจะทำให้ปุ๋ยที่อยู่บริเวณกลางร่องไหลซึม ลงสู่ผิวดินเองอัตโนมัติ เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่ใช้ได้ผลดีทีเดียว นายเจือ กล่าว
เวลานี้มีชาวบ้านใน ต.หนองชุมพล อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี มาเรียนรู้ ดูงานที่ไร่จีนแสแห่งนี้แล้วนำกลับไปทำ ในพื้นที่ของตนเองแล้วหลายราย แต่ ได้ผลจริงๆ ไม่กี่รายเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ การทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความอดทนอย่างมาก นอกจากโรคและแมลง ที่ต้องรบราฆ่าฟันกับมันแล้ว เรื่องตลาดก็ยังลูกผีลูกคน แต่ที่อดทนทำมาก็หวังเพื่อให้คนไทย ได้กินอาหารปลอดภัย!?!
ท่านที่สนใจการทำเกษตรอินทรีย์รูปแบบใหม่ หรืออยากให้กำลังใจเกษตรกรกลุ่มนี้ ติดต่อไปได้ที่ โทร.0-9082-7306 หรือ 0-1584-9159.

1 ความคิดเห็น:

  1. เกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางการทำเกษตรแบบยั่งยืน ยั่งยืนอย่างไร ยั่งยืนต่อระบบนิเวศ และสุขภาพของทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ปัจจุบันมีพื้นที่ผลิตข้าวอินทรีย์แหล่งใหญ่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ และจังหวัดไกล้เคียง คนที่สนใจจะไปศึกษาดูงานก็แนะนำให้ติดต่อกับ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ได้โดยตรง หรืออีกวิธีหนึ่งคือติดต่อกับกลุ่มเกษตรกรผ่านข้อมูลติดต่อจากฉลากข้างถุงข้าวเมื่อคุณได้ซื้อข้าวอินทรีย์มาทานเอง อย่างเช่น กลุ่มเกษตรทิพย์ จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งบ่าวเขียวได้เดินทางไปดูแปลงเองมาเมื่อปลายปี 53

    ที่นี่ปลูกข้าวบนพี้นที่ของทุ่งกุลาร้องไห้รวมกว่า 2,000 ไร่ มีการหมุนเวียนเพาะปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาลและความต้องการของตลาด เกษตรกรไม่ต้องประสบกับปัญหาโรคแมลง หรือราคาสินค้าตกต่ำ นอกฤดูการทำนาก็หมุนเวียนพื้นที่บางส่วนมาปลูกแตงโมอินทรีย์ส่งตลาดต่างประเทศ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง ... อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://thai-organic-product.blogspot.com/2011/10/blog-post.html

    ตอบลบ