++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

คุณสมบัติของพระอุปัชฌาย์

คุณสมบัติของพระอุปัชฌาย์



พระอุปัชฌาย์ โดยความหมายแล้ว  หมายถึงผู้เข้าไปคอยชี้ให้เห็นโทษประการต่าง ๆ

ตามความเป็นจริง เมื่อผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา มีความประพฤติไม่เหมาะสม

อย่างไร พระอุปัชฌาย์ก็จะเป็นผู้คอยแนะนำในสิ่งที่ถูกที่ควร เพื่อความเป็นผู้ประพฤติ

ที่ดีงามยิ่งขึ้นในพระธรรมวินัย  รวมไปถึงถ้าเกิดความสงสัยในพระธรรมวินัยในส่วนใด  

พระอุปัชฌาย์ก็มีหน้าที่ในการให้ความเข้าใจในส่วนนั้น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้นแล้ว

พระอุปัชฌาย์ ก็จะต้องเป็นผู้มีความเข้าใจในพระธรรมวินัย เป็นผู้ฉลาดไม่โง่เขลา

รู้จักอาบัติเบาอาบัติหนัก   เป็นผู้ทรงจำพระปาฏิโมกข์ได้    และ จะต้องมีพรรษา ตั้งแต่

๑๐ พรรษาขึ้นไป ถ้ามีคุณสมบัติไม่ครบแล้วไปทำการอุปสมบทให้กับกุลบุตร  ย่อมต้อง

อาบัติทุกกฏ    มีโทษ

    ตามพระธรรมวินัยแล้ว พระอุปัชฌาย์ ไม่มีการสอบ  เพียงแต่ถ้ามีคุณสมบัติดังกล่าว

นี้แล้ว ที่ประชุมสงฆ์ (คณะสงฆ์) มีความเห็นชอบ ถ้ามีกุลบุตรผู้มีศรัทธาเข้ามาขอบวช

ในพระพุทธศาสนา ก็มอบหมายให้ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้

กับกุลบุตรคนนั้นได้ ครับ


ในพระไตรปิฎก แสดงคุณสมบัติของพระอุปัชฌาย์ ประการต่างๆ อย่างละเอียด

โดยตั้งแต่โดยนัยสูงสุด ครับ ซึ่ง โดยนัยสูงสุดแล้ว พระอุปัชฌาย์ที่ มีคุณสมบัติที่ดี

คือ เป็นพระอรหันต์ ที่ประกอบด้วยคุณความดีของพระอรหันต์ ทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา

ของพระอรหันต์ และ ก็อธิบายโดยนัยอื่นๆ ถึงคุณสมบัติของพระอุปัชฌาย์ว่า จะต้อง

เป็นผู้มีคุณธรรมเป็นสำคัญ แม้จะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ หรือ พระอริยบุคคล แต่

ก็ต้องเป็นผู้ทีประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ การฟังมาก มีความละอาย และเกรงกลัว

ต่อบาป มีความเพียร และเจริญสติ และ มีปัญญา และ คุณสมบัติของ พระอุปัชฌาย์

ที่สำคัญ คือ จะต้องมีพรรษา10 ปี หรือ มากกว่า 10 ปี และที่สำคัญ พระอุปัชฌาย์ จะ

ต้องเป็นผู้มีศีลดี มีคุณธรรม มีคือ เป็นผู้เคารพในพระวินัยบัญญัติในสิกขาบทที่

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ มีทิฏฐิ ดี คือ มีความเห็นถูก มี สัมมาทิฏฐินั่นเอง และ

เป็นพหูสูต คือ เป็นผู้ได้สดับตรับฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้าโดยมาก และมีความ

เข้าใจในพระธรรมด้วย จากการฟัง ศึกษา ครับ

    อีกประการหนึ่ง คือ รู้จัก ฉลาดที่จะรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้ หรือ ใช้ให้ผู้อื่นรักษา

ได้ถูกต้อง เป็นต้น และ ยังเป็นผู้สามารถที่จะทำให้ผู้อื่นที่อยากสึก กลับไม่สึกได้

ด้วยปัญญาของตน

  อีกประการหนึ่ง ก็คือ รู้จักอาบัติต่างๆอย่างละเอียด และ สามารถจะแสดงกล่าว

แนะนำ วิธีการออกจากอาบัติกับภิกษุรูปอื่นๆ ได้ และรอบรู้พระวินัย เมื่อเป็นผู้ที่รอบรู้

พระวินัย ก็จะสามารถรู้ได้ว่าใครสมควรบวช ใครไม่สมควรให้บวช ครับ

   อีก ประการหนึ่ง คือ ต้องเป็นผู้สามารถอธิบายกล่าวธรรมให้ลูกศิษย์ และ ผู้ที่บวช

ให้ เข้าใจพระธรรม ทั้งในส่วนของพระวินัย ในส่วนของการเจริญอบรมปัญญาที่เป็น

การเจริญวิปัสสนาได้ด้วย และเมื่อภิกษุนั้นเข้าใจธรรมที่ผิด มีความเห็นผิด ก็สามารถ

แก้ความเห็นผิดของภิกษุรูปนั้นได้ด้วย นี่คือ คุณสมบัติโดยละเอียดของพระอุปัชฌาย์

 ดังข้อความในพระไตรปิฎก

 พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 502

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น