++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

การกินอาหารวันละมื้อ เพื่อสุขภาพ..

Being Hungry Makes You Healthy

หนังสือ “ยิ่งหิวยิ่งสุขภาพดี” เขียนโดย นายแพทย์โยะชิโนะริ นะงุโม (Yoshinori Nagumo)

ในบทนำมีการเกริ่นว่า ผู้เขียนเริ่มทานอาหารเหลือวันละมื้อ เมื่ออายุ 45 ปี เพราะปัญหาเรื่องสุขภาพ

ผ่านไปสิบปี เมื่อเขาไปตรวจร่างกาย พบว่า อายุหลอดเลือดของเขา เท่ากับคนอายุ 26 ปี

เขาเล่าว่า มนุษย์ในอดีต ไม่ได้มีกินอุดมสมบูรณ์ โดยกินสามมื้อเหมือนปัจจุบันนี้

ในอดีตเรากินวันละมื้อก็บุญแล้ว ดังนั้นร่างกายเราจึงมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง

เมื่อเราหิว ไม่มีกิน เราจะมียีนที่ชื่อ เซอร์ทูอินออกมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆ ภายในร่างกาย

ในขณะเดียวกันร่างกายก็จะผลิต Growth Hormone ออกมา

ซึ่งเจ้า Growth Hormone นี้ทำให้เรากลับเป็นหนุ่มสาวมากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการเพื่อการอยู่รอด

ปัญหาก็คือเมื่อร่างกายอิ่ม กลไกนี้ไม่เกิด เราจึงแก่ไปเรื่อยๆ สรุปง่ายๆ ก็คือ การกินมากไปคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ

และที่สำคัญ ร่างกายเราไม่ได้ถูกออกแบบให้กินอิ่ม เราจึงปรับตัวให้การกินอิ่มได้ไม่ดี

ทำให้กระบวนการธรรมชาติของร่างกายเรารวนนั่นเอง

ในเรื่องการกินวันละมื้อ ผู้เขียนได้แนะนำสิ่งที่เขาทำมาแล้วได้ผล เขาบอกว่า เขาเพลิดเพลินกับการที่ได้ยินเสียงท้องร้องจ๊อกๆ

เพราะว่า เขารู้ว่าร่างกายเรากำลังซ่อมแซม และปรับตัวให้เยาว์วัย ด้วยกระบวนการที่กล่าวถึงข้างต้น

ในเชิงหลักการทางวิทยาศาสตร์ เขาอธิบายดังนี้

(1) ปากทางเข้าลำไส้เล็ก จะมีเซ็นเซอร์เตรียมรอรับของกินอยู่

ถ้าไม่มีอาหารไหลลงมาเสียที ลำไส้เล็กก็จะรีบหลั่งฮอร์โมนสำหรับย่อยอาหาร โมลิติน (Molitin) ออกมา

ทำให้กระเพาะอาหารบีบตัว เพื่อส่งของกินที่อาจจะตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเข้าไปในลำไส้เล็ก

เรียกว่า “การบีบตัวเมื่อหิว” และเป็นตัวการที่แท้จริงของอาการท้องร้องจ๊อกๆ

(2) เมื่อกระเพาะรู้ตัวว่า หิวจะหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ออกมา

เกรลินจะถูกหลั่งออกมาจากเยื่อบุกระเพาะอาหารซึ่งถูกกระตุ้นเพราะความหิว

โดยจะออกฤทธิ์ที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำให้เกิดความอยากอาหาร

ขณะเดียวกันก็จะออกฤทธิ์ที่ต่อมใต้สมอง ทำให้หลั่ง Growth Hormone ออกมา

เจ้า Growth Hormone นี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฮอร์โมนที่ทำให้กลับไปเป็นหนุ่มสาว”

นั่นหมายความว่า ตอนที่ท้องกำลังร้องจ๊อกๆ เพราะหิว คุณจะค่อยๆ มีเสน่ห์ขึ้น จากฮอร์โมนที่ทำให้กลับเป็นหนุ่มสาว

ถึงท้องจะร้อง ก็อย่าเพิ่งรีบกินอาหาร ให้มาลองเพลิดเพลินกับประสิทธิภาพของการกลับเป็นหนุ่มสาว

ที่ได้จาก Growth Hormone กันสักครู่หนึ่งก่อน

(3) ตอนที่ท้องกำลังร้องจ๊อกๆ นั้น ความสามารถในการอยู่รอดอันยอดเยี่ยมกำลังพลุ่งพล่านขึ้นมา

นั่นก็คือ “ยีนเซอร์ทูอิน” ที่มีสมญาว่า “ยีนต่ออายุขัย” หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ยีนที่ทำให้อายุยืน” กำลังทำงาน

จากการทดลองกับสัตว์หลายชนิดพบว่า เมื่อลดปริมาณอาหารลง 40% จะทำให้อายุยืนขึ้น 1.5 เท่า

ทว่ายีนนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ มีเงื่อนไขบางประการ นั่นคือ “ความหิว”

ตราบใดที่ท้องไม่ร้องจ๊อกเพราะหิว ยีนนี้ก็จะไม่ทำงาน

ดังนั้น การกินอาหารทั้งที่ยังไม่หิว จึงหมายถึง การมีของดีอยู่กับตัว แต่ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์

มาทำให้ท้องร้องจ๊อก ด้วยการกินอาหารวันละมื้อดีกว่า แล้วยีนเซอร์ทูอินนี้จะช่วยสแกนยีนในร่างกายอย่างรวดเร็ว

พร้อมทั้งค่อยๆ ฟื้นฟูส่วนที่เสียหาย กล่าวกันว่า ความแก่ชราและโรคมะเร็ง ก็มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของยีน

ดังนั้น เราสามารถทำให้กลับเป็นหนุ่มสาว และป้องกันโรคมะเร็งด้วยการกินอาหารวันละมื้อ

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหิวแล้วอาหารยังตกไม่ถึงท้อง ร่างกายจะนำไขมันที่สะสมไว้ในช่องท้อง

มาเปลี่ยนเป็นสารอาหาร ทำให้หน้าท้องแบนราบ

นอกจากการกินวันละมื้อแล้ว ผู้เขียนมีข้อมูลใหม่เพิ่มเติมอีกว่า

การนอนที่ดีคือ นอนในช่วงร่างกายผลิต Growth Hormone ได้ดีที่สุด นั่นก็คือ ช่วงเวลาระหว่าง สี่ทุ่มถึงตีสอง

หลังอ่านจบผมมีความเห็นส่วนตัวว่าสิ่งที่จะทำคือ

(1) รอให้ท้องร้องจ๊อกๆ บ่อยๆ เพื่อซ่อมแซมตัวเองและทำให้เยาว์วัยลง

และ (2) ทานน้อยลง 60% ของแต่ละมื้อ…….”

นอกจากที่คุณอดิศรเขียนแล้ว ผมไปค้นคว้าเพิ่มเติมและพบว่า

เมื่อตอนคุณหมอนะงุโมมีอายุ 37 ปี เขาหนัก 77 กิโลกรัม และเมื่ออายุ 57 ปี หนัก 62 กิโลกรัม

ความดันโลหิตเท่ากับคนอายุ 26 ปีอายุมวลกระดูกเท่ากับคนอายุ 28 ปี และสมองมีอายุเท่ากับคนอายุ 38 ปี

จากที่ดูรูปในอินเทอร์เน็ตถึงแม้ขณะนี้คุณหมออายุ 59 ปี แต่หน้าตาเหมือนไม่ถึง 40 ปี ด้วยซ้ำ

คุณหมอพูดในโทรทัศน์ว่า แค่เริ่มต้นไม่กี่วัน ก็จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพแล้ว

กลิ่นตัวจะหายไป ผิวหนังจะเนียนขึ้น หน้าท้องจะเรียบขึ้น รูปลักษณ์ของคนผอมจะเริ่มปรากฏ และจิตใจคึกคักขึ้นกว่าเก่า

คุณหมอแนะนำให้ทำติดต่อกัน 52 วัน โดยกินอาหารวันละหนึ่งมื้อ คือมื้อกลางวัน ในมื้อนี้อยากกินอะไรก็ตามใจตัวเองได้

หากหิวมากก็อาจเสริมด้วยผลไม้และอาหารเบาๆ

หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรก คอลัมน์ “อาหารสมอง” กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่อังคาร 20 ม.ค. 2558

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2558 เวลา 08:51

    อ้าววว..เเล้วไหนใครบอกว่าอาหารเช้าสำคัญที่สุด ไม่กินอาหารเช้าเสี่ยง เบาหวาน ความดันสูง ฯลฯ

    ตอบลบ