++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิธีคิดเพื่อความสำเร็จ


จุดกำเนิดของทุกๆพฤติกรรม คือ ความคิด การเปลี่ยนแปลงความคิด ย่อมเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ หากอยากให้ผลให้ชีวิตไปสู่ความสำเร็จ เราก็ต้องเรียนรู้วิธีคิดเพื่อความสำเร็จเช่นเดียวกัน
ผมรวบรวมวิธีคิดเพื่อความสำเร็จไว้ดังนี้

เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน
คนสำเร็จกับคนล้มเหลวในธุรกิจขายตรง คือ “แนวความคิด” หรือทัศนคตินั่นเองครับ เพราะว่า “ความคิด” เป็นกระบวนการไปสู่การลงมือทำและถ่ายทอดได้ ความคิด คือ พลังงานแท้จริงที่จะนำชีวิตไปยังจุดหมายปลายทางก็คือ “ความสำเร็จ”
“ทัศนคติ” คือ คุณสมบัติแรกที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบความสำเร็จในธุรกิจขายตรง ความแตกต่างของคนก็คือ คิดบวกหรือคิดลบเท่านั้น ทัศนคติของเรา คือ ตัวกำหนดระดับความสำเร็จของเรา เราดูผู้เราดูที่ “ทัศนคติ” ความคิดลบ คือ เชื้อโรคที่แพร่เชื้อได้ ภาษิตโบราณที่ว่า “นกขนสีเดียวกันย่อมอยู่ฝูงเดียวกัน” ลูกทีมเราเปลี่ยนแปลงความคิดได้ ถ้าเขาไปอยู่กับคนที่คิดลบๆ ถ้าเราต้องการความสำเร็จจงอย่าอยู่ใกล้คนที่คิดลบ
“วิธีคิดของคนสำเร็จ” ก็คือ คิดแต่ความสำเร็จ คิดในทางที่เป็นไปได้ ไม่หยุด ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เรียนรู้มากๆ มีความเด็ดเดี่ยวและจุดยืนแน่นอน
คนที่ล้มเหลว คือ คนที่คิดสั้น คิดแบบ “วนเวียน” เหมือนพายเรือในอ่าง อย่างไม่มีจุดมุ่งหมายปลายทาง ซ้ำๆ ซากๆ อยู่เรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
คิดที่สำเร็จเร็ว คือ คิดแบบ “มุ่งตรง” ไปสู่จุดหมายปลายทางชัดเจน ไม่วอกแวก หวั่นไหว ไม่วนเวียน วกวน ไม่ย้อนกลับมาคิดอย่างเดียว คือ “ความสำเร็จ” เท่านั้น
การทำธุรกิจขายตรงยุคใหม่จึงวัดกันที่ “ความคิด” เพราะปัจจุบันนี้การแข่งขันกันสูง ทุกบริษัทก็งัดกลยุทธ์มาต่อสู้ จะทำแบบเดิมๆ คิดแบบเก่าไม่ได้แล้ว เป็นการต่อสู้กันด้วย “สมอง” และแนวคิด เรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นสงครามทางความคิดนั่นเอง
การคิดแนวใหม่ คือ คิดอย่างมีวิธี ถูกวิธี เข้าถึงความจริงและสอดคล้อง ต้องไม่มี “อัตตา” และ “อคติ” ไม่สับสน ไม่กระโดดไปมาเป็นความคิดที่เป็นชิ้นเป็นอัน คิดหาต้นเหตุที่แท้จริง
องค์ประกอบของความสำเร็จขายตรงต้องมีทีมที่ดี มีระบบที่ชัดเจน มีการอบรมที่เข้มข้นต่อเนื่อง แม่ทีมต้องคิดที่จะช่วยและสนับสนุนไปในทิศทางเดียวกันจะต้องโฟกัสจุดเดียวกัน
ปัญหาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือ บริษัทไม่เข้าใจผู้นำ แม่ทีมไม่เข้าใจลูกทีม ไปคนละทิศละทาง ถ้าเดินไปคนละทางไม่มีทางสำเร็จวิธีแก้ก็คือ “เปลี่ยนความคิด” นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น