++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รายงานสรุปเสวนาปฏิรูปพลังงานของกลุ่มวิศวะจุฬาฯ

""รายงานสรุปเสวนาปฏิรูปพลังงานของกลุ่มวิศวะจุฬาฯ "" บ่ายเมื่อวานนี้ ที่โรงแรมสุโกศล ได้ข้อมูลที่น่าสนใจมาเผยแพร่ ดังนี้:

1. ประเทศไทยมีปิโตรเลียมหรือไม่?
มีกำลังการผลิตปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเลวันละเกือบ 1 ล้านบาร์เรล
75%เป็นก๊าซธรรมชาติ 10%เป็น ก๊าซเหลว และ 15%เป็น น้ำมันดิบ
ประเทศไทยให้สัมปทานมาตั้งแต่ปี พศ.2514 ถึงปัจจุบันรวม 20 ครั้ง 110 สัมปทาน 157 แปลง ผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับที่ 25 ของโลก และอันดับ 3 ในอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย
โอกาสความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเรียม 71% จึงถือว่ามีความเสี่ยงในการลงทุนน้อย และส่วนใหญ่อยู่ในเขตน้ำตื้น ทำให้ต้นทุนในการขุดสำรวจต่ำ(ตามเอกสารของบริษัทต่างชาติ)
มีทั้งหมด 6,854 หลุม ในอ่าวไทย 5,785 หลุม ในทะเลอันดามัน 19 หลุม อยู่บนบก 1,050 หลุม
ปริมาณสำรองของประเทศคลุมเครือไม่ชัดเจน ตามเอกสารของบริษัท ปตท จำกัด “ปตท. สผ. จะไม่ถือว่าปริมาณสำรองที่สำรวจพบทั้งหมด เป็นปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว จนกว่าจะมีการทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้า และ ปตท. สผ. อาจปรับปริมาณสำรองพิสูจน์แล้วเพิ่มขึ้นเมื่อ ปตท. สผ. คาดว่าปริมาณส่วนที่เพิ่มขึ้นสามารถนำมาใช้ได้อย่างแน่นอน……” เราจึงไม่รู้ปริมาณสำรองที่แท้จริง!
เหลือเชื่อที่ไทยส่งออกน้ำมันดิบมาตั้งแต่ พศ. 2553 ทั้งที่เรามีไม่เพียงพอ ในปี พศ.2556 เราขายให้จีน สหรัฐอเมริกา และ เกาหลีใต้ 35,014 ล้านบาท โดยมีคำอธิบายว่า น้ำมันจำนวนนี้ไม่เหมาะกับโรงกลั่นภายในประเทศ แถมไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปด้วย ในปี พศ.2556 สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน ซื้อรวมกัน 386,002 ล้านบาท การส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้นมาตลอดตั้งแต่ปี พศ.2535
ค่าภาคหลวงที่รัฐได้มีอัตราเท่าเดิมมา 30 ปี ในขณะที่ราคาปิโตรเรียมสูงขึ้นมาก มาเลเซีย พม่า เวียตนามได้มากกว่าเรา 4-5 เท่า
ประเทศโดยรอบประเทศไทยเปลี่ยนไปใช้ระบบสัญญาแบ่งผลประโยชน์หรือ Production Sharing กันหมดแล้ว แต่ไทยยังยึดติดกับระบบสัมปทานอยู่

2. ระบบท่อก๊าซธรรมชาติเป็นของใคร?
ยังมีข้อขัดแย้งการตีความทางกฎหมายของคำพิพากษาศาลปกครองระหว่างสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินกับกระทรวงการคลัง ซึ่งฝ่ายหลังคิดว่าจบแล้ว แต่ฝ่ายแรกไม่เห็นด้วย เพราะส่วนที่อยู่ในทะเลนอกเขตชายฝั่งเกิน 22 กิโลเมตร ยังไม่ได้คืนให้รัฐ ซึ่งอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย ตามพระบรมราชโองการประกาศโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2524 จึงต้องรอคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ขาด มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554

3. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยเหมาะสมเป็นธรรมหรือไม่?
ราคาน่าจะถูกกว่าสิงคโปร์เพราะค่าแรงขั้นต่ำสิงคโปร์สูงเป็น 6 เท่าของไทย แต่กลับไปอ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์

4. รัฐจัดสรร LPG ให้ทุกภาคส่วนอย่างไร?
ผลิตภายในประเทศ 78% นำเข้า 22%
ผู้ใช้ – ครัวเรือน 40% ปิโตรเคมี 34.44% ขนส่ง 13.52% อุตสาหกรรม 12.03% แนวโน้ม 10 ปี ครัวเรือนใช้เป็นสัดส่วนน้อยลง แต่ปิโตรเคมีใช้เป็นสัดส่วนมากขึ้น
ปัจจุบันส่วนที่ผลิตภายในประเทศ ขายให้กับภาคครัวเรือนกับปิโตรเคมีก่อน ส่วนที่เหลือและนำเข้าจึงขายให้อุตสาหกรรมและขนส่ง ควรจะจัดความสำคัญใหม่โดยเน้นภาคครัวเรือน ขนส่งและอุตสาหกรรม ก่อนภาคปิโตรเรียม

5. เสนอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5.1 แก้ไข พรบ.แข่งขันทางการค้า 2452 ให้ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปแล้ว และมีบทลงโทษที่แรงกว่าเดิม
5.2 ตรา พรบ. ป้องกันการผูกขาด ( Thai Antitrust Law) โดยเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระใหม่ “คณะกรรมการป้องกันการผูกขาดแห่งชาติ”
5.3 กำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 2518 เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย
การเอื้อประโยชน์กลุ่มธุรกิจพลังงาน การขัดกันแห่งผลประโยชน์
ผลประโยชน์ทับซ้อนของภาครัฐ
5.4 ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเปิดเผยสํญญาสัมปทานทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีในอนาคต เพื่อให้ตรวจสอบได้ โปร่งใสเป็นธรรม และเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของสัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น