++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ถึงแม้ผมจะไปไม่ถึงจุดหมาย แต่คนอื่นๆก็จะทำต่อ

เทอร์รี ฟอกซ์ (1958 -1981) เด็กหนุ่มชาวแคนาดารู้ตัวว่าเป็นมะเร็งกระดูกและต้องถูกตัดขาตอนอายุ 18 ปี เขาตัดสินใจออกวิ่งมาราธอนข้ามประเทศในปี 1980 เพื่อรับบริจาคทุนวิจัยให้สถาบันมะเร็ง เริ่มต้นที่เมืองเซนต์จอนส์ มณฑลนิวฟันด์แลนด์ หยุดที่เมืองธันเดอร์เบย์ มณฑลออนแทรีโอ เนื่องจากเซลมะเร็งลุกลามไปที่ปอด จึงหยุดวิ่งเพื่อทำการรักษาราวเก้าเดือน เขาวิ่งวันละ 26 ไมล์ รวมระยะทางได้ 3,339 ไมล์ จาก 5,300 ไมล์ ที่ตั้งเป้าไว้

เทอร์รีป่วยเป็นมะเร็งกระดูกที่ชื่อออสตีโอเจนิก ซาร์โคมา และต้องถูกตัดขาเพื่อไม่ให้มะเร็งลุกลาม เมื่อร่างกายเขาแข็งแรงขึ้น และได้พบเห็นเด็กที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งมากมาย ประกอบกับการได้รู้ว่าเงินสนับสนุนงานวิจัยโรคมะเร็งจากรัฐขาดแคลน เขาจึงคิดที่จะหาทุนวิจัยเพิ่มเติม ด้วยความหวังว่า ความตายก่อนวัยอันควรนี้จะหายไป

ช่วงแรกของการวิ่ง เขาต้องพบกับปัญหาหลายอย่าง ทั้งการสึกหรอของขาเทียม เท้าพอง ถูกรถบนไฮย์เวย์บีบแตรไล่ ถูกตำรวจบังคับให้ลงจากไฮเวย์ และเกือบเสียชีวิตจากลูกหลงของอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมถึงถูกกล่าวหาว่าไม่ได้วิ่งด้วยขาตัวเอง แต่นั่งรถเป็นส่วนใหญ่ จากสื่อในมณฑลควิเบกบางฉบับ เขามักหยุดพักเพื่อพูดคุยกับคนในท้องที่ที่เขาวิ่งผ่าน เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของเงินบริจาค และยอบรับอย่างตรงไปตรงมาว่า เขาร้องไห้อยู่นานตอนที่ผมร่วงเพราะเคมีบำบัด มากกว่าตอนที่ถูกตัดขา

"ผมรู้ว่ามีเงินบริจาครออยู่ข้างหน้า ผู้ป่วยนับพันที่รอความหวังจากงานวิจัยดังนั้นต่อให้ต้องคลาน ผมก็จะคลานไปจนถึงไมล์สุดท้าย"

เทอร์รี่ไม่ได้คลานไปจนถึงไมล์สุดท้าย แต่เพราะเนื่องจากอาการไอที่หนักขึ้น ตาพร่า ปวดหัว และเลือดไหลจากการที่ขาเทียมเสียดสีกับต้นขาของเขา จึงต้องการหยุดเพื่อทำการรักษา โดยรวมแล้วเขาใช้เวลา 143 วันในการวิ่ง ได้รับเงินบริจาคทั้งหมด 24.17 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกัน ประชากรของแคนาดามีอยู่ราว 24.3 ล้านคน เฉลี่ยแล้ว เขาได้เงินจากชาวแคนาดาทุกคน คนละ 1 ดอลลาร์ หลังหยุดวิ่งเพื่อทำการรักษาเป็นเวลาเก้าเดือน เทอร์รีเสียชีวิตในวันที่ 28 มิถุนายน 1981 ตอนตีสี่ครึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาออกวิ่งเป็นประจำ

ทุกวันนี้ โรงเรียนในแคนาดามักมีการจัดงานวิ่งสิบกิโลเมตรในชื่อ "Terry Fox Run"ทุกเดือนกันยายน เริ่มตั้งแต่ปี 1981 จนยอดบริจาคเพื่องานวิจัยโรงมะเร็งมีจำนวนรวมกว่า 360 ล้านดอลลาร์ ในปี 2006 และเป็นเหตุให้งานวิจัยก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว กิจกรรมการวิ่งนี้ได้รับการเผยแพร่ไปยัง 60 ประเทศ โดยเงินส่วนใหญ่ส่งตรงไปยังองค์กรนานาชาติที่ร่วมมือกันศึกษาวิธีรักษาโรงมะเร็ง

"ถึงแม้ผมจะไปไม่ถึงจุดหมาย แต่คนอื่นๆก็จะทำต่อ ทุกอย่างจะดำเนินต่อไปแม้ว่าผมจะไม่มีชีวิตอยู่"

ปณิธานบางอย่าง ได้รับการสานต่อจากคนมุ่งมั่นเสมอ โดยเฉพาะ บางอุดมการณ์ เริ่มต้นเดินทางแค่เพียงขาข้างเดียว





.....

ที่มา หนังสือ "คนบันดาลใจ" เรียบเรียงโดย พีเจ
By : P.j. Pathompong Chaikhuankhan

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น