++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แค่ลดความสัมพันธ์ เห็นแก่ "มนุษยธรรม" สธ.ไทยไม่ทิ้งแขมร์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 พฤศจิกายน 2552 07:46 น.
ประชาชนไทย-กัมพูชายังติดต่อกันตามแนวชายแดนเช่นเดิม
รายงานพิเศษโดย : โดย วรรณภา บูชา

ความ ขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาเริ่มทวีความเข้มข้นมากขึ้น
โดยไทยใช้มาตรการการตอบโต้รัฐบาลกัมพูชาในการลดระดับความสัมพันธ์ทางการฑูต
มีการเรียกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงพนมเปญ กลับและล่าสุดคณะรัฐมนตรี
(ครม.) มีมติให้ยุติการเจรจาข้อตกลง (MOU)
พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2544
ในสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี
ซึ่งความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขระหว่างไทยกัมพูชาก็เริ่มชัดเจนขึ้นในยุค
นั้นเช่นกัน

เมื่อถามถึงความสัมพันธ์ด้านสาธารณสุขไทย-เขมร นายวิทยา
แก้วภราดัย เจ้ากระทรวงสาธารณสุข รีบแจกแจงรายละเอียดว่า ในปี 2544
เมื่อครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(ในขณะนั้น) เดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 18-19
มิถุนายน 2544 โดยรัฐบาลกัมพูชาขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย
ให้ประชาชนชาวกัมพูชาตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
เข้ารับการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐบาลไทย
และขอรับบริการวัคซีนป้องกันโรคติดต่อต่างๆ
จากสถานบริการสาธารณสุขไทยได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งคุณหญิงสุดารัตน์
เห็นชอบหลักการ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2544

ที่สำคัญ ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2544 ที่ประเทศกัมพูชา
ได้ร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงในการจัดตั้งคณะทำงานร่วมความร่วมมือด้าน
สาธารณสุขชายแดนระดับประเทศ
เพื่อจัดทำแผนความร่วมมือในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญและความเห็น
ชอบ เช่น การป้องกันและควบคุมโรค การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ความปลอดภัยของเลือดบริจาค การตรวจสอบยาปลอม
และการเพิ่มความเข้มแข็งของการจัดบริการสาธารณสุข

"ส่วนใหญ่เป็นการให้ความร่วมมือในการลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคเอดส์
วัณโรค โรคมาลาเรีย และโรคไข้หวัดนก รวมทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่อื่นๆ
ในพื้นที่ชายแดน ซึ่งมีการทำข้อตกลงครั้งสุดท้ายเมื่อปี
2550"นายวิทยากล่าว

ต้นตอของปัญหาที่ทำให้ความสัมพันธ์ง่อนแง่น

ด้าน นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่า
การให้ความช่วยเหลือในการควบคุมโรคตามแนวชายแดนโดยเฉพาะประเทศกัมพูชา
ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วยเหลือตามโครงการการความร่วมมือร่วมกันกับองค์กร
ต่างประเทศ อย่างมูลนิธิบิลและเมลินด้า เกตส์ สนับสนุนด้านงบประมาณ
ส่วนการเข้ารับการรักษาพยาบาลสถานบริการของรัฐเมื่อเกิดการเจ็บป่วยพื้นที่
จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบตามความจำเป็นหรือกรณีฉุกเฉินโดยใช้งบประมาณของสถาน
พยาบาลแต่ละแห่ง
แต่หากเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนโลก

นั่นนับเป็นการให้ความช่วยเหลือที่มีผลผูกพันมากที่สุด
จากนั้นความร่วมมือด้านสาธารณสุข
ที่เน้นหนักไปในด้านการให้ความช่วยเหลือกัมพูชาก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งนี้ จากข้อมูลความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างไทยกับกัมพูชา
ของสำนักงานสาธารณสุขระหว่างประเทศ (สรป.) ที่ได้ร่วมรวมไว้
ในส่วนของโครงการที่ไม่มีผลผูกพัน
เป็นการสนับสนุนด้านยาและการฝึกอบรมแก่กระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา รวมมูลค่า
8 ล้านบาท ในช่วงปี 2545-2547

โดยในเดือนพฤศจิกายน 2545
มีการจัดสรรงบประมาณตามที่ขอจากสำนักนายกรัฐมนตรีจำนวน 3.2 ล้านบาท
และขอรับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ 8 แสนบาท จากที่เคยขอไว้ 2 ล้านบาท

วันที่ 17 ตุลาคม 2545 คุณหญิงสุดารัตน์
ได้มอบยาสามัญประจำบ้านให้แก่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยชาวกัมพูชา
ที่บ้านพักรับรองของนายกรัฐรัฐมนตรีกัมพูชา กรุงพนมเปญ 1.5 ล้านบาท
ซึ่งเป็นงบประมาณจากสำนักนายกรัฐมนตรี 8 แสนบาท
และงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขเอง 7 แสนบาท

วันที่ 21 กรกฎาคม 2546 สธ.ได้มอบยาตำราหลวงจากองค์การเภสัชกรรม
500 ชุด ในโอกาสที่กัมพูชาทำพิธีเปิดสะพานตาไต จ.เกาะกง
และต่อมาเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546
สธ.ได้ส่งมอบยาให้กับสมเด็จฮุนเซนอีกมูลค่า 1 ล้านบาท และให้สธ.กัมพูชา
มูลค่า 5 แสนบาท
โดยได้รับงบจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ทั้งหมด

นอกจากนี้ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 ยังมีการมอบยาต้านไวรัสเอดส์
5 แสนบาท และเสนอให้ความช่วยเหลือในการจัดฝึกอบรมด้านการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยเอ
ชไอวี/เอดส์สำหรับบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขกัมพูชา มูลค่า 5
แสนบาทแก่สมเด็จฮุนเซน ที่บ้านพักในกรุงพนมเปญ
โดยใช้งบประมาณองค์การเภสัชกรรม

ในส่วนด้านการพัฒนาบุคลกากรสธ.
มีการจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรของโรงพยาบาลสำโรง ของ จ.อุดรมีชัย
ประเทศกัมพูชา ที่โรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์ ระหว่างธันวาคม
2545-สิงหาคม 2546 รวม 19 ครั้ง และในปีงบประมาณ 2547
จัดโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์อีก 11
ครั้งโดยใช้งบประมาณของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ

"โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ที่สธ.ดำเนินการร่วมกับสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
ได้แก่ การสนับสนุนพัฒนาโรงพยาบาลO Chroeuv จ.บันเตียเมียนเจย
และโรงพยาบาลเกาะกง จ.เกาะกง
โดยเน้นการฝึกอบรมและดูงานตามความต้องการของของโรงพยาบาลทั้งสองแห่ง
ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2553 ก็ไม่มีการพูดถึงอีก"
เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของสปร.ระบุ

ส่วนโครงการด้านเพิ่มความเข้มแข็งของการจัดบริการสาธารณสุข
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินยุทธศาสตร์ภายใต้โครงการเสริมสร้างความ
ไว้วางใจระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งในส่วนของกัมพูชามีการร่วมกันจัดตั้งสถานีอนามัย 1 แห่ง บนถนนหมายเลข
48 เกาะกง-สแรอัมเบิล โดยใช้งบประมาณกระทรวงต่างประเทศ
เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 55 ปี
ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกัมพูชา

อย่าง ไรก็ตาม ความช่วยเหลือเหล่านี้ นายวิทยา
ประกาศอย่างชัดเจนว่า คงต้องรอดูสัญญาณจากกระทรวงการต่างประเทศก่อน
ซึ่งนโยบายของรัฐบาลต่อเรื่องนี้ไม่ต้องการให้กระทบกับความสัมพันธ์ของ
ประชาชนทั้ง 2 ประเทศ
ขณะนี้จึงยังคงเดินหน้าให้ความช่วยเหลือชาวกัมพูชาในด้านสาธารณสุขต่อไป
เพราะไม่อยากให้นำเรื่องของสุขภาพประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งของการตอบโต้ทางการ
เมือง และถือเป็นการให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม
ที่แม้แต่ในยามสงคราม ประเทศที่เป็นศัตรูกันยังหยิบยื่นยาให้แก่กันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น