++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

5 ปี ของการสลายการชุมนุมที่ตากใบ บนเส้นทางวิบากของความยุติธรรม

โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 26 ตุลาคม 2552 13:28 น.
ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต


น่า อนาจใจยิ่งนัก... พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
กำลังพยายามยกสถานะตัวเองไปเทียบเคียง "อองซาน ซู จี" ทั้งๆ ที่
อองซานซูจีเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของส่วนรวม โดยสันติวิธี

อองซานซูจีไม่มีคดี ทุจริตคอรัปชั่น หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนคนพม่า
ยอมถูกกักขังอยู่ในบ้านพักของตน ไม่หลบหนีเอาตัวรอด ทั้งๆ ที่
เธอได้รับรางวัลโนเบล สบโอกาสหนีออกนอกประเทศ แต่ยังคงยืนหยัดอยู่ต่อไป

ทักษิณ ชินวัตร มีคดีทุจริตคอรัปชั่นยาวเป็นหางว่าว
ใช้อำนาจรัฐแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจส่วนตัว หลบหนีโทษจำคุก
อ้างว่าไปดูกีฬาโอลิมปิกแต่ไม่กลับมารับโทษตามคำพิพากษาของศาลฎีกา

ยิ่งกว่านั้น ทักษิณ ชินวัตร ยังมีข้อครหาติดตัว
เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อำนาจอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอีกหลายกรณี

วันที่ 25 ตุลาคม เมื่อ 5 ปีที่แล้ว
เกิดเหตุการณ์ที่กลายเป็นแผลลึกในใจของประชาชนทั่วโลก

การ สลายการชุมนุมและควบคุมตัวประชาชนผู้ชุมนุมประท้วงที่บริเวณหน้า
สภ.อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547
ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตถึง 85 คน!

โดยเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 6 คน เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 คน
และเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมตัวบนรถบรรทุก ขนย้ายจาก อ.ตากใบ
จ.นราธิวาส ไปค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี จำนวน 78 คน

5 ปี ผ่านไป
ยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมเลยแม้แต่รายเดียว!

1) ความจริงที่ตากใบ

หลังเกิดเหตุ คณะกรรมาธิการของวุฒิสภาจำนวน 3 คณะ ประกอบด้วย
คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
และคณะกรรมาธิการสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต
ได้เดินทางลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่

ผมในฐานะสมาชิกวุฒิสภา
กรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ขณะนั้น) ได้พบ
"ความจริงที่ตากใบ" สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

(1.1) นโยบายและการสั่งการ

ก่อนวันเกิดเหตุ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี
ได้ส่งสัญญาณให้ใช้ความรุนแรงในหลายโอกาส หลายนโยบายของการแก้ปัญหา
ไม่ว่าจะเป็นสงครามยาเสพติดที่มีการฆ่าตัดตอนกว่า 2,800 ศพ
ส่วนหนึ่งก็ด้วยการชี้แจงและมอบหมายนโยบายที่ชี้นำให้เกิดการใช้ความรุนแรง
ของนายกฯ ส่วนกรณีปัญหาภาคใต้
พ.ต.ท.ทักษิณก็ได้ปฏิเสธแนวทางสันติวิธีของรองนายกฯ จาตุรนต์ ฉายแสง
แต่ใช้นโยบายแข็งกร้าว ชี้นำความรุนแรงว่า "ตาต่อตาฟันต่อฟัน" -
"บ้ามาก็บ้าไป" -"จะปราบให้สิ้นซาก" - "at any cost at any price" -
"มันเหมือนอาการคนใกล้ตาย ต้องรุนแรงหน่อย" ฯลฯ

ในวันเกิดเหตุ ก่อนจะมีการสลายการชุมนุมที่ตากใบ ปรากฏว่า
พ.ต.ท.ทักษิณได้ลงไปในพื้นที่ด้วยตนเอง

(1.2) เจ้าหน้าที่กวาดจับโดยไตร่ตรองเตรียมการไว้ก่อน

วันเกิดเหตุ ชาวบ้านนับพันคนมาร่วมชุมนุมบริเวณหน้า สภ.อ.ตากใบ
เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)
จำนวน 6 คน ฝ่ายเจ้าหน้าที่ทางการเตรียมการจะจับกุมแกนนำผู้ชุมนุมประมาณ
100 คน โดยถ่ายภาพตัวบุคคลที่ทางการต้องการจับกุมเอาไว้ก่อน
ทั้งวีดีโอและภาพนิ่ง

ระหว่างการเจรจากับผู้ชุมนุม ก็เตรียมรถจีเอ็มซี จำนวน 4 คัน
จากค่ายอิงคยุทธบริหารไปรอที่หน้าอำเภอตากใบ เพื่อเตรียมไว้ขนคนจำนวน 100
คน แต่ก่อนการสลายการชุมนุม
ตัวบุคคลที่ทางการต้องการจับกุมได้กระจายตัวไปฝูงชนที่เข้ามาร่วมชุมนุม
เจ้าหน้าที่จึงใช้วิธีปิดล้อม กวาดจับกุมประชาชนกว่า 1,300 คน เพื่อ
"ตะแกงร่อน" เอาคน 100 คนที่กำหนดตัวไว้เดิม

แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อกวาดจับแล้ว มีการให้ผู้ชุมนุมถอดเสื้อ
มัดมือไพล่ เกลือกกลิ้งไปตามพื้นดิน ทำให้ไม่สามารถเลือกจับกุมเฉพาะตัวคน
100 คน ที่ทางการเชื่อว่าเป็นแกนนำได้ จึงกวาดจับไปทั้งหมดประมาณ 1,300
คน

(1.3) กระทำการขนย้ายเยี่ยงสัตว์

การขนย้ายผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวไว้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
จากอำเภอตากใบไปค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ระยะทางประมาณ
150 กิโลเมตร ใช้รถทหารจำนวน 25 คัน และรถตำรวจกับรถเช่าอีกจำนวนหนึ่ง
ขนผู้ชุมนุมประมาณ 1,300 คน โดยยัดแน่น อัดกันอยู่ในรถ

การจับประชาชนที่ถูกมัดมือไพล่หลัง
ร่างกายอ่อนเพลียจากการถูกปะทะในระหว่างสลายการชุมนุมและอยู่ระหว่างถือศีล
อด โยนส่งขึ้นไปบนรถ บังคับให้นอนคว่ำหน้าบนพื้นรถ
ขณะที่มือยังถูกมัดไพล่หลัง มีการวางประชาชนนอนซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ 4-5
ชั้น โดยใช้เวลาเดินทางนานถึง 5-6 ชั่วโมง โดยต้องถูกมัดมือไพล่หลัง
นอนคว่ำหน้า ทับกันไปอย่างนั้นตลอดเวลาเดินทาง

คนที่นอนคว่ำหน้าอยู่แถวล่างสุด (ถูกคนทับอยู่ 3-4 ชั้น)
เมื่อใกล้ตาย ขาดอากาศหายใจ กล้ามเนื้อถูกกดทับทำลาย ร้องขอความช่วยเหลือ
ก็ถูกทหารที่ควบคุมไปกับรถขึ้นไปเหยียบด้านบน และใช้พานท้ายปืนตี
พร้อมกับพูดว่า "จะได้ให้พวกมึงรู้ว่า นรกมีจริง"

การ กระทำของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งมนุษยธรรม
ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมอย่างไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ไม่เคารพสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ใช้วิธีทรมานและทารุณกรรม
ขนย้ายผู้ชุมนุมโดยไม่ตระหนักว่า ประชาชนผู้ชุมนุมเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สัตว์

(1.4) รู้ว่ามีคนตาย แต่ไม่ป้องกันแก้ไขเพื่อลดความสูญเสีย

รถบรรทุกผู้ชุมนุมคันแรกเดินทางไปถึงค่ายอิงคยุทธบริหาร
เวลาประมาณ 18.00-19.00 ปรากฏว่า มีคนตายอยู่ชั้นล่างสุด
แต่ไม่มีผู้ใดแจ้งเตือนรถคันหลังๆ
ว่าการขนคนโดยมัดมือไพล่หลังให้นอนคว่ำซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ นั้น
เป็นเหตุให้มีคนตาย จะได้แก้ไขเสียตั้งแต่ต้นทางและกลางทาง
เพราะระหว่างนั้น รถขนคนก็ค่อยๆ ทยอยกันเดินทางมา บางคันเข้ามาถึงตี 2 ตี
3

การ ทราบว่าวิธีปฏิบัติดังกล่าวทำให้คนตาย
แต่กลับไม่พยายามแจ้งเพื่อป้องกันแก้ไข
ในขณะที่ยังมีเวลากระทำได้ทันท่วงที
เท่ากับการปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
อาจถูกกล่าวหาว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาจงใจ โดยปรากฏต่อมาว่า
ในรถขนคนคันหลังๆ ได้มีผู้เสียชีวิตมากขึ้น คันที่เสียชีวิตมากที่สุด
มีคนตายถึง 23 คน คนตายส่วนใหญ่ถูกมัดมือไพล่หลัง บังคับให้นอนคว่ำ
ถูกทับอยู่ชั้นล่างสุดของแต่ละคัน

(1.5) สภาพผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาล

จากการไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บ และตรวจสอบอาการ พบว่า
สภาพร่างกายถูกกดทับจนกล้ามเนื้อถูกทำลาย บวม เขียว
เซลล์กล้ามเนื้อที่ถูกทำลายเข้ากระแสเลือด ส่งผลให้ไตวาย
บางรายอาการสาหัส ต้องฟอกเลือดในโรงพยาบาลที่สงขลา บางรายมีร่องรอยบาดแผล
ถูกยิงที่ขา ที่หน้าท้อง ที่แก้มทะลุปาก ลิ้นขาด ที่บริเวณลำตัวอื่นๆ
บางรายถูกซ้อม ถูกเตะเข้าที่เบ้าตา แขนขาหัก ฯลฯ

ผู้บาดเจ็บให้ข้อมูลตรงกันว่า ถูกจับนอนซ้อนทับกัน 4-5 ชั้น
ส่วนมากที่อาการหนักจะเป็นคนที่ถูกทับอยู่ชั้นล่างๆ
และในการสลายการชุมนุมนั้น เจ้าหน้าที่ยิงตรงในแนวระนาบและยิงขึ้นฟ้า
ไม่ได้ยิงขึ้นฟ้าอย่างเดียว

(1.6) สภาพที่กักขัง และคนถูกกักขัง

ในบรรดาผู้ถูกกักขังนั้น มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีอยู่ไม่น้อย
(เกือบ 10%) ขังรวมอยู่กับผู้ใหญ่ บางคนเป็นนักเรียน
เรียนอยู่โรงเรียนแสงทอง โรงเรียนจริยธรรมศึกษา ผู้ถูกกักขังที่ได้พบ
พูดภาษาไทยได้ดี หลายคนจบชั้น ป.6 บางคนจบอนุปริญญา
หรือกำลังเรียนอยู่ก็มี ถามว่ารู้จัก สว.ทองใบ ทองเปาว์ไหม ก็รู้จักดี
มิหนำซ้ำ บางคนยังถามกลับมาว่า ระยะนี้ไม่ค่อยเห็นรายการของผม
(ดร.เจิมศักดิ์) ออกทีวี

ข้อเท็จจริงที่พบ ขัดแย้งกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณพยายามบอกสังคมว่า
คนพวกนี้ไม่พูดภาษาไทย พูดอาหรับ

2) คดีที่เกี่ยวข้องกับ "ตากใบทมิฬ"

(2.1) การไต่สวนการตาย

เนื่องจากเป็นกรณีที่ประชาชนเสียชีวิตระหว่างอยู่ในความควบคุมของ
เจ้าหน้าที่รัฐ พนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาล
เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2547 ขอให้ศาลทำการไต่สวนการตายของประชาชน 78 คน
และมีคำสั่งว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด
เหตุและพฤติการณ์ที่ตายเป็นอย่างไร

เวลา ผ่านไปเกือบ 5 ปี... ศาลจังหวัดสงขลามีคำสั่ง เมื่อวันที่ 29
พ.ค. 2552 พบว่า ผู้ตายทั้ง 78 คน ถึงแก่ความตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ
เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย คือ ผู้ตายทั้ง 78 คน
ขาดอากาศในระหว่างที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติราชการตาม
หน้าที่

(2.2) ผู้ชุมนุมที่รอดตาย ถูกรัฐฟ้องเป็นจำเลย

วันที่ 24 ม.ค. 2548 พนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส
ได้ยื่นฟ้องผู้ชุมนุมบางส่วน จำนวน 59 คน ต่อศาลจังหวัดนราธิวาส
ตั้งข้อหา "ร่วม กันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย
ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความงุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมี
อาวุธ ร่วมกันข่มขืนใจพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่
และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์"

(2.3) ญาติผู้ตายยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานของรัฐ

วันที่ 25 ต.ค.2548 ทายาทผู้เสียชีวิตยื่นฟ้องกระทรวงกลาโหม
กองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย
และเจ้าหน้าที่รัฐผู้บังคับบัญชาหน่วยงานเหล่านั้น
เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 16 ล้านบาท

ต่อมา ปรากฏว่า คดีดังกล่าวได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โดยมีข้อตกลงว่า ให้ถอนฟ้องจำเลยอื่นๆ ทั้งหมด
(รวมทั้งตัวเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีอำนาจสั่งการในเหตุการณ์ดังกล่าว)
คงเหลือแต่กระทรวงกลาโหมที่รับผิดชอบเรื่องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว
ในขณะเดียวกัน ภาครัฐก็ทำการถอนฟ้องผู้ชุมนุม (คดีในข้อ 2.2)

ไม่ แปลกใจว่าทำไมชาวบ้านจึงยอมรับข้อตกลงดังกล่าว
เพราะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกกดดัน
และอยู่ในท่ามกลางเหตุร้ายรายวัน โดยไม่รู้ว่าใครฆ่าใคร ใครอยู่ข้างใคร
และไม่มั่นใจว่าจะสามารถพึ่งพาความปลอดภัยและความยุติธรรมจากรัฐได้เพียงใด
ในสภาพวะเช่นนี้
ชาวบ้านย่อมจะเลือกเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ในสถานการณ์เฉพาะหน้าไว้ก่อน

กล่าวโดยสรุป... ปัจจุบัน เท่ากับว่า
ยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐถูกดำเนินคดีจากการกระทำความรุนแรงในเหตุการณ์ตากใบ
ทมิฬ ทั้งๆ ที่ ทำให้มีคนตายถึง 85 คน !

3) ความยุติธรรมและสันติธรรม เพื่อการเยียวยา

5 ปีของเหตุการณ์ความรุนแรงที่ อ.ตากใบ
ยังคงอยู่บนเส้นทางวิบากของกระบวนการยุติธรรม

เหตุการณ์ ดังกล่าว ทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความรู้สึกโกรธแค้น
และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมจากภาครัฐ
กระทั่งนักการข่าวกรองบางคน วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์นี้
เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นแรงผลักให้ประชาชนบางกลุ่มหันไปเป็นแนวร่วมของผู้ก่อ
ความไม่สงบในพื้นที่จนถึงปัจจุบัน

ภาย ใต้รัฐธรรมนูญ 2550 และระบบยุติธรรมของประเทศไทย
เราสามารถเอาความยุติธรรมกลับคืนมาให้ชาวบ้าน
เพื่อนร่วมแผ่นดินไทยของเราได้อย่างแน่นอน

(3.1) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มีอำนาจหน้าที่ในการจะฟ้องร้องดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานของรัฐ
แทนประชาชนผู้เสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญ 2550
ซึ่งจะช่วยลดภาระและความเสี่ยงภัยคุกคามต่อชีวิตของชาวบ้านผู้เสียหายใน
พื้นที่ได้อย่างดียิ่ง

(3.2) ทราบว่า ขณะนี้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนกำลังพิจารณาดำเนินการตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและ
การปฎิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี
(Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading
Treatment or Punishment - CAT)
โดยอนุสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน
2550 เป็นต้นมา

รูปการณ์หรือพฤติกรรม
การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในเหตุการณ์ตากใบทมิฬนั้น
น่าจะเข้าข่ายเป็นการทรมานอย่างแน่นอน

ในอนุสัญญาฉบับนี้
ได้กำหนดให้รัฐถือเอาการทรมานเป็นการกระทำความผิดอาญาภายใต้กฎหมายของตน
และจะต้องทำรายงานและตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อไปด้วย

(3.3) ทุกภาคส่วน ควรสนับสนุนให้ประชาชนผู้เสียหาย
ได้ใช้สิทธิตามกฎหมาย
และได้เข้าถึงการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมอย่างปลอดภัย
และมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ทั้งนี้
หากประชาชนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเต็มที่แล้ว
ไม่ว่าผลสุดท้ายแห่งคดีจะลงเอยอย่างไร ประชาชนก็ย่อมจะต้องยอมรับ
หรืออย่างน้อยที่สุด
ก็จะลดความรู้สึกที่ว่าตนเองไม่ได้รับความธรรมจากรัฐน้อยลง

ขอสนับสนุนให้สภาทนายความ หรือองค์กรทนายความมุสลิม
ดำเนินการช่วยเหลือชาวบ้านผู้เสียหายจากเหตุการณ์ตากใบทมิฬ
ในการฟ้องคดีด้วยตนเอง

อย่า ลืมว่า สันติประชาธรรม และการต่อสู้ด้วยสันติวิธี
บนวิถีทางของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น
จึงจะช่วยลดเงื่อนไขของการต่อสู้แบบใต้ดิน นอกระบบยุติธรรม
ซึ่งไม่อาจยอมรับได้

น่าสะท้อนใจ ว่า...
เหตุที่ประเทศไทยไม่มีการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการรุนแรงต่อ
ประชาชนในเหตุการณ์ต่างๆ อย่างถึงที่สุด ไม่ว่าจะเป็น กรณี 14 ต.ค.2516,
กรณี 6 ต.ค. 2519, กรณีพฤษภาทมิฬ และกรณีตากใบทมิฬ 25 ต.ค.2547 ทั้งๆ ที่
ทำให้ประชาชนเสียชีวิตอย่างโหดร้ายจำนวนมาก
น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐย่ามใจ
เพิ่มโอกาสที่จะใช้ความรุนแรงกับประชาชนอีกเมื่อมีโอกาส
และก็เกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมอย่างอำมหิต ที่หน้ารัฐสภา 7 ต.ค.2551
ขึ้นอีกครั้ง

ยิ่งกว่านั้น การไม่สะสางกรณีตากใบ
และกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอีกหลายๆ
กรณีที่เกิดขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ
นอกจากจะทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้ว
ยังทำให้คนชั่ว-ผู้เป็นตัวการใหญ่ ยังหลงระเริง เที่ยวอวดอ้าง
ยกตัวเองเทียบเคียงนักประชาธิปไตยหรือนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนอย่างไร้
ยางอาย

อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล อย่าทอดทิ้งผู้เสียหาย

3 ความคิดเห็น:

  1. แล้วที่มันมาชุมนุมกัน มันไม่เป็นอันตรายกับเจ้าหน้าที่รึ? ไอ้พวกเหี้ยนี่มันต้องโดนแบบนี้ ทำไมไม่ฆ่าพวกเหี้ยนี่ให้หมดจากแผ่นดินซะที มืงไปเข้าข้างพวกเหี้ยนี่ มึงเป็นพวกมันรึ? เห็นที่มันทำกับกับเพื่อนร่วมชาติมึงมั้ย ตายร้อยครั้งยังไม่สาสมเลย ไอ้สัดเอ๊ย

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ21 พฤษภาคม 2553 เวลา 11:55

    อ่านให้ดีคนที่ตายไม่ใช่พวกที่ก่อการร้ายอย่างเดียวมีคนบริสุทธิ์รวมอยู่ด้วยก็ไปจับพวกเขาตอนกำลังถือศิลอด พ่อแม่พี่น้องญาติเขาก็ต้องโกรธแค้น ถ้าเป็นคุณกำลังนั่งทำบุญในวัดแล้วโดนจับไปแบบนี้โดนลูกหลงกระสุนที่โปรยมาเป็นห่าฝนแบบนี้แล้วลูกคุณที่นั่งข้างๆระหว่างกำลังสวดมนต์รับศิลพรจากพระตายไปต่อหน้าคุณจะว่าลูกคุณเป็นพวกเหรี้ยอยู่มั้ย

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ31 สิงหาคม 2557 เวลา 12:56

    แต่ก็ทำเกินไป. ถ้าเป็นลูกหรือพ่อแม่ผมนะ........ผมตามฆ่ามันแน.

    ตอบลบ