Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555
คนอนุรักษ์ เมืองกินป่า น้ำกินเมือง
คนอนุรักษ์
เมืองกินป่า น้ำกินเมือง
หน้าฝนเดินทางมาถึงอีกครั้ง และยังไม่มีใครรู้ว่าฝนคราวนี้จะพาน้ำท่วมกลับมาอีกด้วยหรือไม่ ก่อนจะป้องกันปัญหาระยะสั้นอย่างก่ออิฐ ยกพื้น ย้ายของขึ้นที่สูง ฯลฯ เราอยากให้คุณดูข้อมูลที่จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน
งานวิจัยจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร หัวข้อ “หลักฐานทั่วโลกที่พิสูจน์ความสัมพันธ์ของจำนวนป่าไม้กับโอกาสและความรุนแรงของอุทกภัยในประเทศกำลังพัฒนา” เก็บข้อมูลเป็นเวลา 10 ปี จาก 56 ประเทศ อาศัยข้อมูลการเกิดอุทกภัย ระยะเวลา และจำนวนป่าไม้ ทำให้ได้ข้อสรุปเป็นทางคณิตศาสตร์และอธิบายผลกระทบขอรงการตัดไม้ทำลายป่าได้
ข้อสรุปที่สำคัญของการศึกษานี้บอกว่า จำนวนป่าไม้ที่ลดลง 10% ส่งผลให้ความถี่ของอุทกภัยเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 28%
และยังเพิ่มระยะเวลาที่เกิดอุทกภัยจาก 4% เป็น 8% ด้วย
นอกจากนี้ ข้อมูลจากงานวิจัยดังกล่าวได้ถูกนำมาเสนอเป็นข้อมูลรูปภาพ (infographic) ของประเทศไทยโดยบริษัท Architectkidd
วัน เวลา กับป่าไม้
จำนวนป่าไม้ที่ลดลงอย่างมากในประเทศไทยตลอดระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2513-2533)
ป่าโอบอุ้มน้ำ
ผืนดินที่มีต้นไม้อยู่จะช่วยให้น้ำซึมลงใต้ดินได้ถึง 50% ระเหยไป 40% และมีน้ำไหลบนพื้นดินเพียง 10% ในขณะที่พื้นที่เมืองมีน้ำซึมลงใต้ดิน 15% ระเหย 30% และมีน้ำไหลบนพื้นดินถึง 55%
ป่าและประชากร
กราฟแสดงจำนวนประชากรประเทศไทยและจำนวนป่าไม้ที่แปรผกผันอย่างเห็นได้ชัด น่าคิดต่อว่าวันที่จำนวนป่าไม้ลดเหลือศูนย์ เราจะมีชีวิตอยู่กันได้อย่างไร
เมืองกลืนกินป่า
ในอดีต เราสูญเสียป่าไม้จากการใช้ประโยชน์จากไม้และการทำเกษตร แต่ในวันนี้ ความเจริญเติบโตของเมืองและอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยหลัก กรุงเทพมหานครขยายพื้นที่ความเจริญขึ้น 16 เท่า จาก 5.8 ตารางกิโลเมตรในปี 1850 เป็น 1,335 ตารางกิโลเมตรในปี 2002 คิดเป็นอัตราการเติบโต 4.8% ต่อปี
ดูรูปเพิ่มเติมที่
http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1852
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น