++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

พระเบญจภาคี

พระเบญจภาคี คือ สุดยอดพระเครื่องประกอบด้วย พระเครื่อง 5 ชนิด คือ พระสมเด็จ พระซุ้มก. หรือพระกำแพง พระนางพญา พระผงสุพรรณ และพระรอด
“เบญจภาคี” เป็นพระเครื่องที่ทุกคนใฝ่ฝันที่จะได้มาบูชาไว้กับตัวเพราะถือว่าเป็นสุดยอดแห่งพระเครื่อง มีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ พระสมเด็จ พระนางพญา พระกำแพง พระผงสุพรรณ และพระรอด
“เบญจภาคี” เป็นพระเครื่องที่ทุกคนใฝ่ฝันที่จะได้มาบูชาไว้กับตัวเพราะถือว่าเป็นสุดยอดแห่งพระเครื่อง มีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ พระสมเด็จ พระนางพญา พระกำแพง พระผงสุพรรณ และพระรอด
“เบญจภาคี” เป็นพระเครื่องที่ทุกคนใฝ่ฝันที่จะได้มาบูชาไว้กับตัวเพราะถือว่าเป็นสุดยอดแห่งพระเครื่อง มีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ พระสมเด็จ พระนางพญา พระกำแพง พระผงสุพรรณ และพระรอด

แสตมป์ชุดพระเครื่องเบญจภาคี


พระชุดเบญจภาคี ประกอบด้วย
1. พระสมเด็จ วัดระฆัง ที่สร้างโดย ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พฺรหฺมรังษี เป็นตัวแทนยุค รัตนโกสินทร์
2. พระซุ้ม ก. หรือ กำแพงเม็ดขนุน ทุกกรุในจังหวัดกำแพงเพชรเป็นตัวแทนยุค สุโขทัย
3. พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัด พิษณุโลก เป็นตัวแทนยุค อยุธยา-พระพิษณุโลกสองแคว
4. พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตัวแทนยุค อู่ทอง-สุพรรณภูมิ
5. พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นตัวแทนยุค ลพบุรี


เรามาเริ่มที่องค์แรกกันเลย
พระสมเด็จวัดระฆัง


สร้างโดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พฺรหฺมรังสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม เป็นพระทรงสี่เหลี่ยม ขนาดกว้างประมาณ 2.2-2.4 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม. หนาประมาณ 0.3 - 0.4 ซ.ม. เนื้อปูนปั้น สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2410 สันนิฐานว่าแม่พิมพ์สร้าง โดยลูกศิษย์ที่อยู่ในงานช่างสิบหมู่ซึ่งเป็นช่างหลวง และเชื่อว่า มีหลายท่านที่แกะพิมพ์ถวายแต่ที่ปัจจุบันนิยมจะเน้นเฉพาะพิมพ์ทรงของ หลวงวิจาร เจียรนัย ราคาเช่าหาองค์หนึ่ง ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านส่วนของช่างท่านอื่นจะเล่นหาเฉพาะ กลุ่มโดยต้องดูเนื้อประกอบราคาเช่า หาตามความพอใจ

โดยพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นพระที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านสร้างเองมีไว้เพื่อแจกญาติโยมที่สนิท ที่ทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือญาติโยมที่แวะหาถูกอัธยาศัยกัน ไม่ได้ซื้อขายกัน ใครอยากได้ไว้บูชา ก็อาราธนาขอเอาไม่หวง พิมพ์พระเป็นรูปสี่เหลี่ยมชิ้น ฟักมีซุ้มผ่าหวายทรงครอบแก้ว ภายในเป็นรูป นูนต่ำ พระปางสมาธิ เกศเรียวยาวประทับบนฐาน 3 ชั้น ไม่ปรากฏรายละเอียดในองค์พระทำให้ดูมีเสน่ห์ ศิลปะ เรียบง่ายแต่เหมือนมีมนต์ขลัง

เนื้อพระเท่าที่สังเกตเป็นเนื้อปูนปั้นก็จริง แต่คาดว่าท่านทำครั้งละไม่มาก คือทำไปแจกไปทำให้รายละ เอียดไม่เหมือนกัน คือสูตรผสมไม่ตายตัวมีก็ใส่ขาดบ้างไม่เป็นไร ไม่สู้เคร่งครัดแถมนู้นนิด นี่หน่อย ตามอัธยาศัยท่าน และท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านยังปลุกเสกอธิฐานจิตด้วยคาถา "ชินบัญชร" อันศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จากกรุพระโบราณ เมืองกำแพงเพชรที่สืบทอดจากลังกา โดยการอาราธนาคุณแห่งพระพุทธจารย์ในโบราณกาลทุกพระองค์ อีกทั้งอันเชิญ พระอรหันต์สาวก ผู้เป็นเอตะทักคะทรงคุณอันวิเศษ มาสถิตอยู่ในพระสมเด็จฯ ที่เจ้าพระคุณปลุกเสกอธิฐานจิตเพื่อคุ้มครองอภิบาล ผู้อาราธนาพระสมเด็จพกติดตัวตังที่ เชื่อกันว่า พระสมเด็จ วัดระฆัง มีพุทธคุณครอบจักรวาล เน้นบุญฤทธิ์ หนุนดวงชะตา เมตตามหานิยม แคล้วคลาดใครมีบารมีได้ไว้จะรุ่งเรืองไม่มีวันตกต่ำ



พระนางพญา

(คลิ้กที่นี่ เพื่อดูรูปนี้ในขนาดจริง)


สันนิฐานว่าสร้างโดย สมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี องค์เอกอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระมหา ธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชมารดา ของสมเด็จพระนเรศวร ประมาณ พ.ศ. 2100 เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เมือง พระพิษณุโลกสองแคว บรรจุกรุที่วัดนางพญา และกรุแตกครั้งแรกเมื่อปี 2442 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 โดยประมาณว่าพระในกรุมีประมาณ 84,000 องค์ ได้แบ่งฝากกรุในกรุงเทพฯ และต่างวัดอื่นๆ อีกมาก และยังพบปะปลายในกรุอื่นๆในจังหวัดพิษณุโลก ราคาเช่าหาไม่ใช่ถูก อย่างน้อยก็หลักแสนกลางๆ พอหาได้

สำหรับเนื้อพระนั้น เป็นพระเนื้อดินละเอียด ผสมว่านละเอียดหนึกนุ่ม ผสมแร่เล็กๆ ขาวใส สีน้ำตาลอ่อน, สีดำ,สีชมพู และแร่ว่านดอกมะขามแล้วนำไปเผา พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วฐานแคบ ขนาดปลายนิ้วหัวแม่มือ องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยลอยองค์ ไม่มีฐานรองรับ แลดูเรียบๆ แต่เข้มขลัง

พุทธคุณ เน้นทางอิทธิฤทธิ์แกร่งกล้า คงกระพันชาตรี มิหวั่นเกรงคมศาสตราวุธ แคล้วคลาด ชนะศัตรู มีบารมีผู้คนเกรงใจ



พระซุ้ม ก.



ผู้สร้างไม่ปรากฏแต่สันนิฐานว่า พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย สร้างเมื่อครั้งครองเมืองกำแพงเพชร ประมาณ พ.ศ. 1900 พบพระซุ้ม ก. จำนวนมากเกลื่อนทุ่งเศรษฐี เนื่องจากในเขตทุ่งเศรษฐีพบทุกกรุ แต่ไม่ได้อยู่เป็นกรุกลับแตกกระจายเกลื่อน สันนิฐานว่าเดิมน่าจะอยู่ในกรุ แต่ถูกชาวบ้านรื้อค้นหาพระ หรือสมบัติมีค่า เห็นพระเนื้อดินไม่สนใจ เพราะมีจำนวนมากและพระสกุลกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อดินมีเป็น ร้อยๆ พิมพ์ นิยมทุกพิมพ์ แต่ที่นิยมที่สุดแพงที่สุด ก็คือ พระกำแพงซุ้ม ก.เป็นพระเนื้อดิน ละเอียดหนึกนุ่มผสมว่าน ปรากฏเม็ดและเอียดและแร่ว่านดอกมะขาม

เนื้อพระเป็นสีเม็ดมะขาม เป็นส่วนมาก เป็นพระเนื้อดินดิบ หรือดินเผาแบบกองฟอนสุมพอดินสุก พิมพ์ทรงคล้ายอักษร ก ไก่ ภายในเป็นพระพุทธรูปนูนต่ำปางสมาธิเกศตุ้มคล้ายศิลปะสุโขทัยหมวดตะกวน มีเส้นรัศมีรอบพระเศียร ประทับบนฐานบัวเล็บช้าง ผนังข้างซ้ายขวาเป็นซุ้มกนกเถาวัลย์ แลดูเด่นสง่าหนักแน่น อลังการ

พุทธคุณ เน้นทางโภคทรัพย์ เป็นมหาอำนาจวาสนาบารมี เป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวงไม่มีวันจน



พระผงสุพรรณ



ผู้สร้าง สันนิฐานว่าเป็นกษัตริย์ในราชวงค์ สุพรรณภูมิ น่าจะเป็นสมเด็จ พระบรมราชาธิราช ที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2091 ในจารึกแผ่นทองที่พบที่เจดีย์ใหญ่วัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุ ระบุว่าได้มีพระบรมราชโองการสั่งให้พระฤาษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธานในการสร้าง ต่อมาในปี 2456 ในสมัย รัชกาลที่ 6 มีคนลอบขุดกรุนี้ได้สมบัติไปไม่น้อยรวมถึง จารึกแผ่นทองอีกจำนวนมาก

พระสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีขณะนั้นได้สั่งให้เปิดกรุอย่างเป็นทางการ และนำพระพิมพ์และจารึกแผ่นทองที่เหลือจำนานหนึ่งทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินละเอียดผสมว่าน108 เนื้อหนึกนุ่มมีคราบน้ำว่านและรารัก พิมพ์ทรงเป็นศิลป์อู่ทอง องค์พระปางมารวิชัยประทับบนฐานเขียง พระก้มเล็กน้อยพระอุระนูนเด่น แลดูเหมือนการบำเพ็ญสมาธิ เคร่งขรึม
พุทธคุณ เน้นด้านเมตตาบารมี การเป็นผู้นำน่าเกรงขาม การมีโชค ความมีเสน่ห์ ขจัดทุกข์ความสงบหนักแน่น


มาถึงองค์สุดท้าย ที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในบรรดา 4 องค์ที่เล่ามา คือ


พระรอดลำพูน



ผู้สร้างเป็นพระราชธิดากษัตริย์แห่ง ลวปุระ อาณาจักรลพบุรีที่ถูกอัญเชิญไป สร้างเมืองลำพูน คือพระนางจามเทวี ประมาณ พ.ศ. 1200 โดยพระนางได้มอบให้ฤาษีนารอดเป็นประธานในการสร้าง พระรอด กรุวัดมหาวัน พบที่กรุนี้กรุเดียวจำนวนไม่มาก สันนิฐานว่าน่าจะสร้างแล้วแจกทหารติดตัวไปรบ เสร็จศึกกลับมาจึงนำมาลงกรุ

เนื้อพระเป็นเนื้อดินสะอาดปราศจากเม็ดกรวดมีเหล็กไหลเป็นส่วนผสมเนื้อหนึกแกร่ง พิมพ์ทรงขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย เป็นรูปพระปางมารวิชัยประทับบัลลังก์ทรงสูง พื้นหลังเป็นโพธิ์ลายตื้นๆ ลายละเอียดอ่อนช้อยมาก มองดูแล้วสง่างาม ร่มรื่นอุดมสมบูรณ์

พุทธคุณ เน้นเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน อุดมด้วยโภคทรัพย์ ร่ำรวยทรัพย์ แคล้วคลาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น