++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

รายงานพิเศษ : แค่ถอดยศ “ทักษิณ”...จะเป็นจะตายกันเชียวหรือ?

   
อมรรัตน์ ล้อถิรธร...รายงาน
      
       ไม่ น่าเชื่อว่า แค่เห็น “กองวินัย” ชงเรื่องถอดยศ “พ.ต.ท.”ของ “ทักษิณ” เหล่าคนรอบข้างทั้งอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ทั้งแกนนำพรรคเพื่อไทย ทั้งทีมกฎหมายของ “นายใหญ่” ต่างพากันโวยวาย-รับไม่ได้ที่นายจะเหลือคำนำหน้าแค่ “นาย” ทั้งที่รู้ว่า พฤติกรรมและความผิดของนาย เข้าข่ายต้องถูกถอดยศอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็ยังพาลหาเหตุมาอ้างและปกป้องนายอย่างไม่ลืมหูลืมตา ลองมาดูกันว่า เหตุผลที่คนเหล่านี้ยกขึ้นมาอ้าง มีอะไรบ้าง และฝ่ายต่างๆ ในสังคมมองเรื่องการถอดยศทักษิณ และการยึดคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์คืนจากนักโทษหนีคดีผู้นี้อย่างไร
      
        คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายงานพิเศษ
      
       คงยังจำกันได้ถึงวันประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนสถานะของอดีตนายกฯ อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จาก “จำเลย”ใ นคดีซื้อที่ดินย่านรัชดาฯ มาเป็น “นักโทษ”ที่หนีคำพิพากษาจำคุก 2 ปี ...วันนั้น 21 ต.ค.2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอ่านคำพิพากษาชี้ความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่รู้เห็นเป็นใจและใช้ตำแหน่งนายกฯ เอื้อให้คุณหญิงพจมาน ภริยา (จำเลยในคดีนี้เช่นกัน) ซื้อที่ดินย่านรัชดาฯ จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในราคาต่ำ
      
       โดยศาลฎีกาฯ ระบุว่า “ ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ มีอำนาจบารมีเหนือรัฐมนตรี และมีอำนาจทางการเมืองสูง อีกทั้งฐานะการเงินมั่งคั่ง ซึ่งตามหลักธรรมาธิบาลแล้ว นายกฯ ภริยา หรือบุตร ไม่สมควรเข้าไปประมูลซื้อที่ดินดังกล่าว เพราะการซื้อได้ราคาต่ำ ส่งผลให้กองทุนฯ มีรายได้น้อยลง ขณะที่คุณหญิงพจมาน (จำเลยที่ 2) ก็มีผู้รู้จักจำนวนมาก ประกอบกับข้าราชการมีค่านิยมจำนนต่อผู้มีบารมีสูง นอกจากนั้นยังอยู่ในฐานะที่อาจให้คุณให้โทษทางราชการได้ และเมื่อปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้บัตรประจำตำแหน่งนายกฯ ลงนามยินยอมให้คุณหญิงพจมานทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ย่อมถือได้ว่าเป็นการเข้าทำสัญญาด้วยตัวเองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 100(1) วรรคสาม ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณอ้างว่า การลงชื่อยินยอมเป็นเพียงการทำตามระเบียบราชการ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่าไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการซื้อขายแต่อย่างใด องค์คณะจึงมีมติ 5 ต่อ 4 เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 100(1) วรรคสาม และต้องรับโทษตามมาตรา 122”
      
       ศาลฎีกาฯ ยังระบุถึงเหตุผลที่ไม่รอการลงโทษจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยว่า “ ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นนายกฯ ได้รับมอบหมายให้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและประ ชาชน แต่จำเลยกลับฝ่าฝืนกฎหมายทั้งที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล ต้องกระทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ประพฤติตนในสิ่งที่ดีงามตามจริยธรรมของนักการเมืองให้เหมาะสมกับที่ได้รับคว ามไว้วางใจในตำแหน่งหน้าที่อันสำคญยิ่ง จึงไม่สมควรรอการลงโทษ พิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี”
      
       ป กติแล้ว เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าอย่างไร จะถือเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใดใดอีก แต่เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 (มาตรา 238 วรรค 3) เปิดช่องให้จำเลยอุทธรณ์ได้หากมี “พยานหลักฐานใหม่ที่อาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ” พ.ต.ท.ทักษิณ จึงมีเวลาอุทธรณ์ 30 วัน แต่เมื่อครบกำหนด 19 พ.ย.เขาก็ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์นั้น อาจเพราะจำนนด้วยหลักฐาน และไม่มีพยานหลักฐานใหม่ที่จะมาอุทธรณ์นั่นเอง!
      
       การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นถึงอดีตนายกฯ แต่กลับใช้ตำแหน่งนั้นในทางมิชอบด้วยการเอื้อประโยชน์ให้บุคคลในครอบครัว กระทั่งถูกศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก ส่งผลให้ พ.ต.ท.ทักษิณไม่เหลือเครดิตอีกต่อไป ขนาดประเทศอังกฤษยังประกาศถอนวีซ่าของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ไม่ให้เดินทางเข้าประเทศอีก ขณะที่ในไทยเองก็เริ่มมีเสียงเรียกร้องว่า เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้เสื่อมเสียเกียรติภูมิของตำแหน่งนายกฯ แล้วเขายังสมควรจะได้ครอง “เครื่องราชอิสริยาภรณ์”ท ี่ได้รับพระราชทานในฐานะนายกฯ อยู่อีกหรือ ถึงเวลาที่จะต้องยึดคืนเครื่องราชฯ เหล่านั้นหรือยัง และการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ครองยศตำรวจอยู่ด้วย แต่กลับประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของตำรวจ กระทำการมิชอบจนถูกศาลพิพากษาจำคุก เท่ากับนำความเสื่อมเสียมาสู่วงการตำรวจนั้น ยังสมควรจะครองยศ “พ.ต.ท.”อยู่อีกหรือไม่?
      
       ซึ่งสื่อหลายสำนักได้ค้นระเบียบ-กฎหมายเกี่ยวกับการยึดคืนเครื่องราช ฯ และการถอดยศตำรวจมาตีแผ่ให้สังคมได้ทราบว่า กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าเงื่อนไขดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งปรากฏว่า เข้าทั้ง 2 กรณี
      
       โดยกรณีของการยึดคืนเครื่องราชฯ นั้น มีร ะเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2548 ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะนายกฯ ขณะนั้น เป็นผู้ลงนามเองเมื่อวันที่ 15 ส.ค.2548 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 18 ส.ค.2548) ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเงื่อนไขไว้ 8 ข้อที่เข้าข่ายต้องเรียกคืนเครื่องราชฯ ประกอบด้วย (1) เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ประหารชีวิต (2) เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) เป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำ รวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
      
       (4) เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือต ามกฎหมายอื่น โดยคำสั่งอันถึงที่สุด (5) เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยคำสั่งอันถึงที่สุด (6) เป็นผู้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่เพราะมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย (7) เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล ้มละลาย (8) เป็นผู้ประพฤติตนไม่สมเกียรติหรือนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปใช้ในกรณีไม่สมค วร
      
       ซ ึ่งชัดเจนว่า กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าข่ายข้อ 2 อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และดีไม่ดี อีกหน่อยอาจจะเข้าข่ายข้อ 3 ด้วย ถ้าศาลฎีกาฯ พิพากษาให้ยึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ฐานร่ำรวยผิดปกติ
      
       เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการถอดยศและยึดคืนเครื่องราชฯ จาก พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เรื่องก็เงียบในสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ กระทั่งเปลี่ยนรัฐบาลมาเป็นรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงเริ่มมีความคืบหน้าบ้างแล้วในส่วนของการถอดยศ โดยเมื่อวันที่ 8 ม.ค.พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน ผู้บังคับการกองวินัย เผยว่า ก องวินัยได้ตรวจสอบแล้วพบว่า กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าเงื่อนไของค์ประกอบตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรว จ พ.ศ.2547 เนื่องจากถูกศาลพิพากษาจำคุก และคดีถึงที่สุดแล้ว จึงได้ส่งเรื่องไปยังกองกำลังพลเมื่อวันที่ 5 ม.ค. และว่า ขั้นตอนต่อไป ทางกองกำลังพลจะต้องประมวลเรื่องเพื่อเสนอไปยัง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาดำเนินการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ต่อไป
      
       ด้าน พล.ต.ต.ชนาภัทร เชยสมบัติ ผู้บังคับการกองกำลังพล บอกว่า ได้รับเรื่องจากกองวินัยแล้วเมื่อวันที่ 7 ม.ค.และว่า กองกำลังพลต้องนำมาพิจารณาประมวลว่ากรณีดังกล่าวเข้าระเบียบเกี่ยวกับกำลังพ ลหรือไม่ โดยกองกำลังพลจะทำไปตามขั้นตอน พร้อมยืนยันว่า จะไม่มีการยื้อหรือประวิงเวลา แต่ขอเวลาประมวลเรื่อง 1-2 วัน จากนั้นจะเสนอ พล.ต.อ.พัชรวาทเพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
      
       ขณะที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดูเหมือนจะหนักใจกับเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยบอกว่า ยังไม่เห็นเรื่องนี้เสนอขึ้นมา และว่า เ รื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องให้เจ้าหน้าที่ไปพิจารณาทุกแง่ทุกมุมให้เกิดความชัดเจน ต้องดูเจตนาของระเบียบ และรายละเอียดของระเบียบว่าเขียนไว้อย่างไร ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุด
      
      
       ทั้งนี้ หลังมีข่าวสำนักงานตำรวจแห่งชาติเตรียมพิจารณาเรื่องถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ปรากฏว่า ทีมทนายและโฆษกส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้ง ส.ส.พรรคเพื่อไทยต่างอยู่ไม่เป็นสุข และพร้อมใจกันออกมาโวยวายแทน พ.ต.ท.ทักษิณ โดย นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันเป็นทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ รีบออกมาบอกว่า การจะถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ เหมือนเป็นการจองเวร พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เลิก พร้อมอ้างว่า เรื่องนี้ฝ่ายกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ตรวจสอบ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติและระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว พบว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายเรื่องการถอดยศนายตำรวจนั้น เพื่อใช้ดำเนินการกับตำรวจที่ได้สร้างความเสียหาย เสื่อมเสียแก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยสร้างความเสียหายให้ สตช.ซ้ำยังสร้างความดีงามให้ สตช.มากมาย
      
       นายวิชิต ยังชี้ด้วยว่า คดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกศาลสั่งจำคุกไม่ใช่คดีอาญาปกติ แต่เป็นคดีการเมือง ซึ่งที่ผ่านมา ไม่ปรากฏว่า มีใครถูกถอดยศจากคดีการเมือง นายวิชิต ยังตั้งข้อสังเกตการเดินหน้าเรื่องถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยว่า เพราะตำรวจที่ดำเนินการเรื่องนี้ (พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน ผบก.กองวินัย) นามสกุลเดียวกับนักการเมืองใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ใช่หรือไม่
      
       ด้าน นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ยอมรับว่า พล.ต.ต.ปัญญา เป็นญาติกับตนจริง แต่ที่ผ่านมาไม่เคยสั่งหรือขอร้องให้ดำเนินการเรื่องนี้ พร้อมยืนยัน พล.ต.ต.ปัญญา ไม่เคยมาปรึกษา ดังนั้น จึงไม่ใช่การกลั่นแกล้งทางการเมืองแน่นอน
      
       ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ก็ยืนยันว่า การพิจารณาถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องของฝ่ายที่ต้องดำเนินการตามระเบียบ ไม่ได้มีการส่งสัญญาณใดใดทั้งสิ้น และไม่ทราบว่าเรื่องนี้จะได้ข้อยุติอย่างไร ส่วนความเป็นไปได้ในการขอคืนเครื่องราชฯ จาก พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น นายอภิสิทธิ์ บอกว่า ยังไม่เห็นเรื่อง แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบ ระเบียบว่าอย่างไรก็เอาตามนั้น ไม่มีการละเว้นและกลั่นแกล้ง
      
       ด้าน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา โฆษกส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ออกมาปกป้องนาย โดยข้องใจว่า ระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรื่องการถอดยศ มีการบังคับใช้อย่างเสมอภาคหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ไม่เห็นเคยมีข่าวการถอดยศตำรวจ ทั้งที่บางคนกระทำผิดร้ายแรงกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อีก
      
       ขณะที่ นายนพดล ปัทมะ อดีตที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็รีบออกมาชี้เช่นกันว่า การที่ตำรวจจะพิจารณาถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ เห็นชัดเจนว่า ต้องการไล่บดขยี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้หมดหนทางต่อสู้ ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสม เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นถึงอดีตนายกฯ เคยทำคุณประโยชน์มากมายให้บ้านเมือง นายนพดล ยังฝากถึงตำรวจและผู้มีอิทธิพลทางการเมืองในขณะนี้ด้วยว่า “คนล้มอย่าข้าม”
      
       ด้าน ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ก็ได้เตรียมยื่นกระทู้ถามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ในการประชุมสภาสมัยสามัญที่จะมีขึ้นในวันที่ 21 ม.ค.นี้ โดย 1 ใน 3 ประเด็นที่ ร.ต.ท.เชาวริน จะถาม ก็คือ ร ัฐบาลจะแก้ปัญหาอย่างไร หากการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งผลให้ประชาชนที่ยังรักและศรัทธาต่อผลงานของอดีตนายกฯ ทักษิณ ออกมาประท้วง หรือแสดงความไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
      
       ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ก็พูดถึงการเสนอถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า แม้ในระเบียบสามารถกระทำได้ แต่ที่ผ่านมาไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม อ้างว่า การถอดยศจะทำได้กับตำรวจที่ยังรับราชการอยู่เ ท่านั้น โดยประพฤติชั่วร้าย หรือเป็นเรื่องทุจริต ต้องจำคุก แต่กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกจากราชการมานานกว่า 30 ปีแล้ว และที่สำคัญ ร.ต.อ.เฉลิม ย้ำว่า คำสั่งของศาลฎีกาฯ ในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาฯ ไม่เข้าข่ายที่จะนำมากล่าวอ้างว่ามีการกระทำทุจริต
      
       ร.ต.อ.เฉลิม ยังชี้ด้วยว่า หากรัฐบาลดำเนินการเรื่องถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ จะถือเป็นการเลือกปฏิบัติ ใช้อารมณ์กลั่นแกล้ง และจะยิ่งสร้างความแตกแยกให้บ้านเมืองมากขึ้น เพราะเมื่อเทียบกับกรณีของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ (ผู้ต้องหาคดีอุ้มฆ่าแม่ลูกตระกูลศรีธนะขันฑ์ที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินประหารชีวิ ต) และนายตำรวจคนอื่นๆ ที่ถูกจำคุกนานถึง 14 ปี กลับไม่มีการถอดยศ
      
       ทั้งนี้ หากพิจารณาคำอ้างของ ร.ต.อ.เฉลิม ที่ว่า “การถอดยศตำรวจ จะทำกับตำรวจที่ยังรับราชการอยู่เท่านั้น” จะพบว่า เป็นการอ้างเท็จ เพราะระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 ที่ออกตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 สมัย พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ เป็น ผบ.ตร.ระบุไว้ชัดว่า การเสนอถอดยศสามารถดำเนินการได้ทั้งกับผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว โดยกำหนดเงื่อนไขการกระทำที่เข้าข่ายถูกเสนอถอดยศไว้ 7 ข้อ ประกอบด้วย (1) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดว่าทุจริตต่อหน้าที่ราชการ แม้ศาลจะพิพากษารอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ก็ตาม (2) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (3) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย เพราะก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นโดยทุจริต (4) กระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ (5) ประพฤติชั่วร้ายแรง สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ (6) ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ (7) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะขาดคุณสมบัติมาตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ
      
       ซ ึ่งชัดเจนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าข่ายถูกถอดยศทั้งตามข้อ 2 และข้อ 6 คือ ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก และต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป การกล่าวอ้างของ ร.ต.อ.เฉลิม จึงเข้าข่ายเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริงต่อสาธารณชน เพียงเพื่อปกป้องหรือช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น
      
       เห็นปฏิกิริยาของบรรดาแกนนำพรรคเพื่อไทย และคนรอบข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว ลองมาฟังมุมมองของฝ่ายอื่นๆ ในสังคมกันบ้างว่าจะรู้สึกอย่างไรกับการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมถึงการยึดคืนเครื่องราชฯ ด้วย
      
       พล.ต.ท.สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ให้สัมภาษณ์วิทยุผู้จัดการ โดยยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สมควรถูกถอดยศ เพราะเข้าหลักเกณฑ์ระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติชัดเจน ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ และหากผู้เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการ ก็จะถูกดำเนินคดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้ หาก ผบ.ตร.ไม่ดำเนินการ ผบ.ตร.ก็อาจจะต้องติดคุกแทน
      
       “เมื่อเข้าหล ักเกณฑ์แล้ว เจ้าหน้าที่เขาไม่ทำเนี่ย เขาก็มีความผิด และเขาก็ต้องถูกออกจากราชการ และเขาก็ต้องถูกดำเนินคดี ละเว้นการปฏิบัติตามหน้าที่ (ถาม-แต่ดูเหมือนสุ้มเสียงของ พล.ต.อ.พัชรวาท จะค่อนข้างหนักใจ บอกว่า เรื่องนี้ละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ?) ไม่มีคำว่าละเอียดอ่อนหรอกครับ มียศแบบนี้ แล้วผิดระเบียบอย่างนี้ มันไม่ใช่เรื่องละเอียดอ่อน ถ้าท่านพัชรวาทไม่ดำเนินการ พัชรวาทก็เข้าคุกแทน ถูกมั้ย ชัดเจนอยู่แล้ว ผมไม่ได้มองคำว่าละเอียดอ่อนเลย (ถาม-คุณพงศ์เทพ โฆษกส่วนตัวคุณทักษิณ บอกว่า ที่ผ่านมา เห็นตำรวจทำผิดร้ายแรงกว่าคุณทักษิณ ไม่เห็นถูกถอดยศเลย?) ต้องคดีสิ้นสุดนะ อย่างคุณทักษิณคดีเรื่องนี้เนี่ย มันสิ้นสุดไปแล้ว (ถาม-มีคนยกตัวอย่างว่า ทำไม พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ถึงไม่ถูกถอด?) อันนี้คดียังไม่สิ้นสุดฮะ อันนี้ไม่ต้องมาเปรียบเทียบเลย เรื่องนี้ยังไม่สิ้นสุด (ถาม-บางคนบอกว่า เพราะคุณทักษิณถูกจับตา อยู่ในความสนใจ ก็เลยต้องถอดยศใช่มั้ย?) ผมว่า ข้อที่ 1 มันเป็นระเบียบ ข้อที่ 2 การเป็นนายกฯ ก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีด้วย ถ้าหากว่าคนดังๆ ไม่ทำเป็นตัวอย่าง ก็ทำให้คนอื่นๆ ที่เป็นข้าราชการเนี่ย ก็ งั้นก็ไม่เป็นไร! มันก็เป็นมาตรการหนึ่งที่จะลงโทษคนที่เป็นข้าราชการอยู่ใน พ.ร.บ.ตำรวจได้เห็นว่า ถ้าเราทำผิดติดคุกไป เราก็ถูกถอดยศอย่างนี้แหละ”
      
       ส่วนทางด้านสภาทนายความ ซึ่งเคยออกแถลงการณ์ก่อนหน้านี้ ว่า หากคดีซื้อที่รัชดาฯ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกพิพากษาจำคุก 2 ปี ถึงที่สุดแล้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องดำเนินการปลดและถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้งสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก็ต้องเรียกคืนเครื่องราชฯ ทั้งหมดที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับ กลับคืนโดยเร็วนั้น ล่าสุด แหล่งข่าวจากสภาทนายความ ก็ยืนยันว่า การถอดยศและการยึดคืนเครื่องราชฯ จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ถือเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติตามที่บางฝ่ายกล่าวอ้าง ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องที่ต้องดำเนินการไม่ควรยื้อเวลาพิจารณาเรื่องนี้ หาไม่แล้วจะโดนกฎหมายเล่นงานเสียเองได้
      
       “ คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เป็นหน้าที่ กฎหมายบังคับให้ปฏิบัติ คงไม่ใช่เลือกปฏิบัติ เพราะข้อเท็จจริงมันประจักษ์ชัด นี่ไม่ใช่เฉพาะตำรวจ สำนักเลขาธิการ ครม.ก็ต้องถอดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ถาม-กังวลมั้ย เพราะสุ้มเสียงของท่านพัชรวาทบอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ?) มันเป็นข้อพิจารณาของผู้มีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมาย จะใช้เวลาเท่าไหร่ ใช้เวลานานเกินไปมันก็ทำให้มีข้อพิรุธ แต่ถ้าเป็นเรื่องของการพิจารณาโดยหลักการและเหตุผล ก็ว่ากันไป ดูว่ามีอะไร ถ้ายังไม่ตัดสินใจ จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมากลั่นกรองก็ว่ากันไป (ถาม-ทางอดีตแกนนำไทยรักไทย บอกว่า เพราะผู้บังคับการกองวินัย นามสกุล “เอ่งฉ้วน”ใช่มั้ย?) ถ้าเขาไม่ทำ (ไม่ถอดยศ)สิ เขาจะผิด ไปอ่านกฎหมายดูให้ดี จะทักษิณ ชินวัตร หรือใคร ถ้าในอดีตเขาไม่เคยทำ (ผิด) เขาเคยปลดมั้ย จะ“เอ่งฉ้วน”หรืออะไร ผมคิดว่าก็เลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าไม่ทำ เขาจะโดนกฎหมายเล่นงาน”
      
       แหล่งข่าวจากสภาทนายความ ยังเชื่อด้วยว่า การถอดยศและการยึดคืนเครื่องราชฯ จาก พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่เป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่ความรุนแรงจากกลุ่ม นปช.หรือคนเสื้อแดง เพราะถึงแม้จะมีกระแสที่รัก พ.ต.ท.ทักษิณ มากจนไม่ดูว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่ก็ควรจะรู้ว่า กรณีนี้ไม่ใช่กรณีที่ใครผิดใครถูก เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ผิดจริงๆ และศาลฎีกาฯ ก็ตัดสินแล้ว
      
       ด้าน พล.ต.ท.สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ก็ฝากถึงบรรดา ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ออกมาพูดโจมตีการเสนอถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า แ ทนที่นักการเมืองเหล่านี้จะมาพูดเฉไฉเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ควรจะทำตัวเป็นนักการเมืองที่ดีด้วยการพูดให้เด็กรุ่นหลังได้เห็นว่า คนที่เป็นนายกฯ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต่อไปใครมาปกครองบ้านเมือง หรือเป็นข้าราชการมียศมีตำแหน่ง ก็ต้องทำตัวให้ดี ไม่เดินตามแบบอดีตนายกฯ บางคนที่เดินทางผิดแบบนี้!!

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000004254

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ28 มกราคม 2552 เวลา 18:29

    เว็ปนี้เค้าดีจิง ๆๆ มีสาระทั้งนั้น

    ตอบลบ