โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
นี้ในพื้นที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการแล้ว
นครศรีธรรมราช - แกนนำพันธมิตรฯ จ.นครศรีธรรมราชขึ้นป้ายต้านโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังคณะทำงานลงสำรวจพื้นที่เตรียมการและพ่วงเขตนิคมอุตสาหกรรมใน 3 อำเภอ หวั่นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในกลุ่มปิโตรเคมี ซึ่งจะส่งผลอันตรายหากไม่มีการจัดการที่ดี จี้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลทุกด้านเพื่อลดความคลุมเครือและแรงเสียดทานต่อสังคม โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ ลั่นภายใน 3 เดือนจะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อตอกย้ำว่า ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่ภาครัฐสั่งเป็นสั่งตายเพียงฝ่ายเดียว
หลังจากที่กระแสข่าวในการสำรวจพื้นที่ของคณะทำงานสำรวจความเหมาะสมขอ งพื้นที่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ นำโดย พล.อ.อ.พิเนต ศุกรวรรณ ในฐานะประธานคณะทำงาน พร้อมด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา เข้าพบกับนายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อหารือและแจ้งถึงการดำเนินงานในพื้นที่ เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2551
ความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ ปรากฏว่ากระแสของการต่อต้านในการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ รวมไปถึงนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่แลนด์บริดจ์ ในโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด ได้เริ่มปรากฏขึ้นโดยมีนายทรงวุฒิ พัดแก้ว แกนนำพันธมิตรฯ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชน ในกลุ่มศึกษาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้นำแผ่นป้ายไวนีลขนาดใหญ่ติดตั้งแสดงการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคล ียร์ และเขตนิคมอุตสาหกรรมใน 3 อำเภอของนครศรีธรรมราช คือ อ.ขนอม อ.สิชล และ อ.ท่าศาลา ที่บริเวณสะพานลอยบ้านในถุ้ง อ.ท่าศาลา
น ายทรงวุฒิ พัฒแก้ว เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวต่อต้าน กลุ่มศึกษาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้ร่วมกับเครือข่ายชาวบ้านในพื้นที่ เริ่มจากการสัมมนาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ชาวบ้านจึงเริ่มก่อตัวเป็นกลุ่ม ภาคประชาสังคมเกิดขึ้น ซึ่งในส่วนของกลุ่มศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้รวบรวมข้อมูลเสนอต่อ ชาวบ้าน
ล่าสุด ได้ก่อเกิดชาวบ้านเป็นองค์กรอย่างเข้มแข็งขึ้น เช่น เครือข่ายประมงพื้นบ้านท่าศาลา กลุ่มรักทุ่งปรัง และมีกลุ่มที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ที่กำลังพัฒนาอย่างเข้มแข็งขึ้น ร่วมกันติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการทุกขั้นตอน การตัดสินที่เหลือเป็นเรื่องของชาวบ้านเองที่มีอิสระในการดำเนินการ
“ มาวันนี้ต้องยอมรับว่าชาวบ้านกลัวผลกระทบที่จะตามมากับโครงการมาก และจะกระทบต่อนิเวศวิทยาเป็นลูกโซ่กว้างขวางโดยเฉพาะใน อ.สิชล ชายฝั่งมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดของนครศรีธรรมราช ชาวประมงจากหลายอำเภอมาทำมาหากินที่นี่ ในปัจจุบันชาวบ้านไม่รู้ข้อมูลเลยหรือรู้ก็รู้น้อยมาก ซึ่งหลังจากรู้แล้วพบว่าเขาลุกขึ้นมาเตรียมเคลื่อนไหวต่อสู้ และใน 2-3 เดือนข้างหน้าเขาจะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อให้รัฐรู้ว่าเรากำลังขับเคลื่อนแล้ว” นายทรงวุฒิกล่าว
ด้านน ายอภินันท์ เชาวลิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา (อบต.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ชาวบ้านรู้เรื่องการศึกษาพื้นที่ ในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์น้อยมาก หลายรายเมื่อรู้เขาจึงแสดงออกถึงการต่อต้าน ขณะเดียวกันมีองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอมาเคลื่อนไหวให้ความรู้แก่ชาวบ้าน
“ทางที่ดี ทางการควรเปิดเผยถึงข้อมูลข้อเท็จจริงให้มากกว่านี้ เพราะขณะนี้ต้องยอมรับว่าเงียบทางการไม่ได้เปิดเผยข้อมูลอะไรออกมาเลย ซึ่งการใช้พื้นที่ในโครงการเช่นนี้กว้างขวางมากย่อมที่จะมีผลกระทบ สิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนคือควรที่จะเปิดเผย และมาร่วมกันเรียนรู้ศึกษา หาทางออกร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือชุมชน รวมทั้งกลุ่มชาวบ้าน ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่ดีจริงนั้นชาวบ้านเขาก็ยอมรับ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านอย่างมากเขาย่อมที่จะปฏิเสธ” นายก อบต.ท่าศาลากล่าว
น ายจามร เจริญอภิบาล ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผย ว่าการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นประโยชน์ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งหลายประเทศก็ทำจนเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมืองไทยยังบกพร่องในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โรงงานส่วนใหญ่พอเห็นว่าลงทุนแล้วเป็นภาระก็ไม่ลงทุน จนก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง เช่นกรณีโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งถ้าทุกโรงงานทำอย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมาย ปัญหาก็ไม่เกิด
“โดยส่วนตัวค่อนข้างเห็นด้วยกับการมีโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือโรงไฟฟ้านิว เคลียร์ ที่ผ่านมาคนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชก็เปิดใจกว้างกับเรื่องเหล่านี้มา ก เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนอมที่ใช้แก๊สในทะเล ก็เปิดดำเนินการมาหลายปีแล้ว คือถ้าระบบการก่อสร้างดี มีหน่วยงานราชการรับรองเราก็สนับสนุน แต่ที่เห็นในหลายพื้นที่คือควบคุมไม่ได้แต่อยากขยายมันจะกลายเป็นปัญหาตามมา ” นายจามร กล่าว
นายจามร ยังกล่าวถึงการสำรวจพื้นที่ในอำเภอสิชล เพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่า หากต้องการใช้พื้นที่จริงก็เป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะล่าสุดมีทั้งภาครัฐ และเอกชนมาสำรวจพื้นที่ในหลายจังหวัดภาคใต้ เพื่อนำโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดมาปัดฝุ่นใหม่ แน่นอนว่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องดูว่าจะทำให้ธุรกิจท้องถิ่น เช่นการประมงสูญเสียไปหรือเปล่า ถ้าสร้างอุตสาหกรรมแล้วทำลายปลาในทะเล สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การท่องเที่ยวเสียหาย ชาวบ้านคงไม่ยอมแน่
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000005063
การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องใช้งบในการสร้างสูงมาก เป็นที่ชอบใจของนักการเมืองมาก จึงทำให้อยากจะสร้างกันทุกรัฐบาล มักจะบรรณาขัอดีต่างๆมากมาย ส่วนข้อเสียมักจะบอกให้ไม่หมด
ข ้อดีของการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดีกว่าระบบใช้น้ำมันและใช้แก็ส หรือทุกระบบที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ทั้งหมดในปัจจุบัน ถ้าสามารถควบคุมไม่ให้สารกัมมันภาพรังษี รั่วไหลออกมาจากระบบได้
ข้อเสีย กากนิวเคลีย์ที่เหลือจากการใช้แล้วจะนำไปกำจัดที่ไหน
ต ้องลงทุนทำที่เก็บใช้เงินลงทุนมากพอกันกับการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อีก โรง เพราะมันมีกัมมันภาพรังษีีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกนี ้ เป็นเวลาหลายร้อยปี และกากนิวเคลีย์ที่เหลือจากการใช้นี้เป็นที่รังเกียจของทุกๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เจริญแล้ว
คนตราด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น