วงจรแก้ค่าตัวประกอบกำลังบนพื้นฐานของวงจรทบระดับร่วมกับเซลล์ช่วยลดการสูญเสีย ในสวิตช์ชนิดพาสซีฟแบบ Non-MVS โดยใช้ตัวเหนี่ยวนำร่วมกัน The Coupled Inductor Lossless Passive Soft Switching Non-MVS Cells with Boost Converter for Power Factor Correction ฉันทวุฒิ สุขสว่าง (Chantwut Zukzwang) * ดร. อิษฎา บุญญาอรุณเนตร (Dr. Itsda Boonyaroonate) ** บทคัดย่อ งานวิจัยนี้นำเสนอวงจรแก้ค่าตัวประกอบกำลังบนพื้นฐานของวงจรทบระดับแรงดันที่มีการใช้ตัวเหนี่ยวนำเชื่อมโยงกันเพื่อทำให้สวิตช์ทำงานแบบซอฟต์สวิตช์ ซึ่งวงจรที่นำเสนอได้ปรับปรุงมาจากเซลล์วงจรช่วยลดการสูญเสียในสวิตช์ชนิดพาสซีฟแบบ Non-MVS โดยใช้การรวมตัวเหนี่ยวนำที่อยู่ภายในวงจรทั้งหมดซึ่งได้แก่ตัวเหนี่ยวนำทบระดับและตัวเหนี่ยวนำเรโซแนนซ์ทั้งสองตัวมาพันร่วมกันไว้บนแกนแม่เหล็กเดียวกัน ทำให้จำนวนรอบของตัวเหนี่ยวนำ การสูญเสียและจำนวนของอุปกรณ์ในวงจรลดลงแต่ยังคงรักษาสภาวะการสวิตช์แบบซอฟต์สวิตช์เช่นเดิม ผลการสร้างและทดสอบวงจรที่พิกัดกำลังงาน 700 วัตต์ การทำงานของวงจรที่ความถี่ในการสวิตช์เท่ากับ 100 กิโลเฮิรตซ์ มีประสิทธิภาพการแปลงผันกำลังงานสูงสุด 94 เปอร์เซ็นต์ ค่าตัวประกอบกำลังเท่ากับ 0.99 และความเพี้ยนของกระแสฮามอนิกส์ขาเข้าเท่ากับ 2.4 เปอร์เซ็นต์ ABSTRACT This research presented the coupled-inductor lossless passive soft switching boost converter for power factor corrected application. The proposed circuit is modified from the lossless passive soft switching methods with Non-Minimum Voltage Stress cell III by integrating the separated boost inductor and resonant inductors on one magnetic core. By using this method, the number is turn windings of inductors and the number of circuit components can be reduced, and the soft switching of main switch can be maintain from full load to open load. The Experimental results from 700 W prototype are given. The proposed circuit was operated at the 100 kHz switching frequency, power factor PF = 0.99, and the total current harmonic distortion THDi = 2.4% and efficiency = 94% at full load. คำสำคัญ : วงจรแก้ค่าตัวประกอบกำลัง วงจรทบระดับ ตัวเหนี่ยวนำเชื่อมโยง Key words : Power Factor Correction, Boost Converter, Coupled Inductor * นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU.19 January 2007
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น