4 ผลงานวิจัยจากอาจารย์จุฬาฯ ถูกรับการยกย่องจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) คว้าผลงานวิจัยดีเด่นของ สกว.ประจำปี ๒๕๕๑
ต้องแสดงความยินดีกับ หลายผลงานวิจัยของอาจารย์จุฬาฯที่ได้รับการยกย่องจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย( สกว.) ทั้งนี้ ประกอบด้วยผลงานวิจัยเรื่องแรกอย่าง “โครงการความมั่นคงศึกษา” โดย รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เน้นศึกษาวิจัยในเรื่องของการก่อการร้าย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมมุสลิมในประเทศต่างๆ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และความมั่นคงชายแดน ซึ่งมีหน่วยงานด้านความมั่นคงต่างๆ ได้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับนโยบายและระดับการปฏิบัติงาน ตลอดจนได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ส่วนผลงานวิจัยเรื่องที่ 2 “ฐานการจัดการความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี” และ “การจัดทำคลังข้อมูลสารเคมี-กฎระเบียบ REACH” โดย รศ.ดร.วราพรรณ ด่านอุตรา ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาฯ ผลสำเร็จของงานวิจัยสามารถผลิตสาระความรู้ และเสริมสร้างความสามารถให้ผู้ประกอบการ และหน่วยงานรัฐอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดตั้ง REACH Help Desk ขึ้นที่ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตรา ย จุฬาฯ เพื่อให้บริการด้านข้อมูลกฎหมาย REACH และวิธีปฏิบัติด้านเทคนิคแก่บุคลากรของอุตสาหกรรมเป้าหมายและภาครัฐ
ผลงานวิจัยเรื่องที่ 3 “ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่พร้อมระบบสนับสนุนกา รตัดสินใจและกระบวนการทางสังคมในบริเวณพื้นที่จังหวัดระยอง” โดย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ งานวิจัยดังกล่าวได้ใช้หลักการสร้างธรรมาภิบาลในการจัดการน้ำเพื่อให้ผู้มีส ่วนได้ส่วนเสียทั้งภาคเกษตร ชุมชนเมือง และภาคอุตสาหกรรม เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาความขาดแคลนและความขัดแย้งจากการใช้ประโยช น์ทรัพยากรน้ำร่วมกัน
ผลงานวิจัยเรื่องต่อมาได้แก่ “การพัฒนาผ้าฝ้ายป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต” โดย รศ.ดร.นันทนา ยานุเมศ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ และคณะ เป็นการพัฒนาเทคนิคใหม่ในการผลิตผ้าฝ้ายที่สามารถกันรังสียูวีได้ครบทุกช่วง ความยาวคลื่นที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยใช้กระบวนการแอดไมเซลาพอลิเมอร์ไรเซชั่นในการเคลือบ ทำให้ผ้ามีสัมผัสที่นุ่มและระบายอากาศได้ดี และสามารถพัฒนาไปถึงขั้นผลิตจริงในเชิงพาณิชย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น