A Suitable Solid Waste Disposal Management Case Study : Hintung Munity , Keannakhon Community in Sugnern District At
อนุชาติ มากกลาง (Anuchat Makklang)∗
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สงวน วงษ์ชวลิตกุล (Dr.Sanguan Vongchavalitkul)∗∗
ดร.มานพ ศรีตุลยโชติ (Dr.Manop Sritulyachot)∗∗∗
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาแนวทางบริหารจัดการขยะในทั้งหมด 4 รูปแบบ ซึ่งได้แก่ โครงการจัดตั้งโรงงานคัดแยกขยะเพื่อการคัดแยก โครงการจัดตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โครงการจัดตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพและโครงการจัดทำพื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอย
การดำเนินการศึกษาจะกระทำโดยศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่กรณีศึกษา 2 พื้นที่คือพื้นที่ชุมชนหินตั้งและพื้นที่ชุมชนแก่นนคร อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง 2 พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในแต่ละวันจะมีจำนวนของปริมาณขยะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ จึงมีความจำเป็นต้องทำการจำลองสถานการณ์ของปริมาณขยะที่มีขึ้นต่อความไม่แน่นอนของนักท่องเที่ยว เพื่อหาแนวทางบริหารจัดการขยะตามสี่แนวทางข้างต้น ในลักษณะของการวิเคราะห์โครงการหาผลตอบแทนการลงทุน
ผลการศึกษาพบว่าโครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ฝังกลบมีอัตราผลตอบแทนทางการลงทุนสูงกว่าการจัดการขยะในแบบอื่น
ABSTRACT
The objectives of this study are to compare the projects cost and their benefits in finding a suitable solid waste disposal management for 4 projects system. The 4 projects systems are following as the recycling factory, the composted fertile factory, the organic fertile factory and the sanitary landfill. The two sites in Hintung and Kaennakorn community on Sungnuen District at Nakornrachasima are used as case studies in this study. The case study areas are famous for tourisms, so they are a lot of tourist come to visit. Amount of solid waste disposal in each day could not be estimate. Then, the simulation is needed to predict amount of solid waste disposal for finding a suitable solid waste disposal management. The result of this study indicated that the organic fertile factory and the sanitary landfill are given high Internal Rate of Return.
คำสำคัญ: โรงงานคัดแยกขยะ โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ พื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอย
Key words: Recycling factory, Composted fertile factory, Sanitary landfill
∗ นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จ.นครราชสีมา 30000
∗∗ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จ.นครราชสีมา 30000
∗∗∗อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จ.นครราชสีมา 30000
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น