การลดความเสื่อมโทรมของดินภายหลังการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากการทำไร่อ้อยเป็นการปลูกไม้ยืนต้นหลากชนิดบนพื้นที่ลาดเอียง
Reducing soil Degradation after Changing land use: from sugarcane plantation to different species of tree plantation on sloping land
รัฐกร สืบคำ (Ratgon Suebkam )*
ดร.บุปผา โตภาคงาม (Dr. Bupha Topark-Ngarm )**
วิทยา ตรีโลเกศ (Vidhaya Trelo-ges)**
ดร.เอนก โตภาคงาม ( Dr. Anake Topark-Ngarm)***
สมศักดิ์ สุขจันทร์ (Somsak Sukchan)****
บทคัดย่อ
ในงานทดลองนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพบางประการของดินในแปลงปลูกไม้ยืนต้นเป็นเวลา 1 ปี (แปลงปลูกไม้ยืนต้นที่มีอายุ 2ปี -3ปี ) พบว่าการเติบโตของไม้ยืนต้นบนพื้นที่ลาดเอียงเป็นเวลา 1 ปี ทำให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลงและดินมีสัมประสิทธิ์การนำน้ำที่เพิ่มขึ้นและเนื่องจากการปลูกไม้ยืนต้นทำให้มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเพิ่มขนาดของเม็ดดินและความเสถียรภาพของเม็ดดิน นอกจากนี้การปลูกไม้ยืนต้นยังมีส่วนช่วยลดแรงกระทบของน้ำต่อผิวดินโดยตรง ซึ่งมีผลทำให้การไหลบ่าของน้ำที่ผิวดินลดลง และเป็นการช่วยลดปริมาณตะกอนดินที่สูญเสียจากพื้นที่ลาดเอียงและลดความเสื่อมโทรมของดินได้เป็นอย่างดี
ABSTRACT
In an experiment to study the changes of some soil physical properties in tree plantation for one year period (from 2 to 3 year old tree plantation), It was found that tree growing on sloping land for one year could result in decreased soil bulk density and increased soil saturated hydraulic conductivity. Since the tree growing resulted in the increase of organic matters, which in turn caused increase size and aggregate stability of soil particle. In addition, the tree plantation could also help reducing the direct impact force of rainfall on soil surface which resulted in the reduced water runoff, loss of soil sediments and soil degradation on sloping land.
คำสำคัญ : คุณสมบัติทางกายภาพของดิน การปลูกไม้ยืนต้น ความเสื่อมโทรมของดิน
Key words: soil physical properties, tree plantation, soil degradation
* มหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น
*** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น
**** นักวิจัย กรมพัฒนาที่ดิน เขต 4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอนแก่น 40000.
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น