++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การพัฒนารูปแบบการสอนเรื่อง อุปกรณ์ทางไฟฟ้าประเภท ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ ตัวเก็บประจุ โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก

Development of Teaching form Electrical equipment ;Resistor, Inductor, Capacitor By Problem-based learning method

โกสิน ราชศิลา (Kosin Ratsila) *

หนึ่ง. สุมาลี จันทร์ชลอ (Dr. Sumalee Chanchalor) **

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักสำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม และศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม การวิจัยครั้งนี้ได้สร้างเครื่องมือทดลองได้แก่ แผนการสอนเรื่องอุปกรณ์ทางไฟฟ้าประเภท ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ ตัวเก็บประจุ โดยใช้การเรียนแบบการใช้ปัญหาเป็นหลัก และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 30 คน เมื่อเรียนจบแล้วทดสอบด้วยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักมีขั้นตอน ได้แก่ 1) แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย 2) ให้ผู้เรียนศึกษาเรื่อง/ปัญหาที่ให้ 3) ตั้งสมมติฐาน/ค้นคว้ารายละเอียดจากเอกสาร/สื่อคอมพิวเตอร์ (Internet) ความรู้พื้นฐานจากสมาชิกกลุ่ม 4) ให้ผู้เรียนเสนอประเด็นที่เลือกไว้ 5) ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนสมมติฐาน 6) ตรวจสอบข้อมูลและสรุปสาระในกลุ่ม 7) นำเสนอสาระการเรียนในกลุ่มใหญ่ 8) ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปข้อมูลที่ศึกษา 9) ผู้เรียนประเมินตนเอง/กลุ่ม ผลการเปรียบเทียบค่าที (t-test) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังการเรียนด้วยรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นหลักสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05

ABSTRACT

This research aimed 1) to develop a problem base learning method, 2) to study achievement of a problem base learning method for students in industrial field. Instruments used in this research were 1) Lesson plan base on problem base learning method which was about electrical equipment ; Resistor, Inductor, Capacitor, 2) achievement test. Sampling group was 30 students who was studying in the first year of vocational certificate, in the field of Technology of Electronics at Nakhon Panom university.

The results showed that development of teaching form by problem base learning method consisted of nine procedures : 1) dividing student is a small group 2) providing the problems 3) formulate hypothesis/search for internet/issues 4) select the problem topics 5) search for more information 6) data audit in group 7) presentation in classroom 8) conclude summarize what to learn 9) self evaluation. t-test showed that post-test score was higher significant than pre-test score at a level of 0.05

คำสำคัญ : การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก อุปกรณ์ทางไฟฟ้า รูปแบบการสอน

Key words : problem base learning method , electrical equipment , teaching model

*นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

**รองศาสตราจารย์ ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น