การศึกษาทักษะการคิดพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบบูรณาการแบบสอดแทรก (INFUSION) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
A Study of Basic Thinking Skills of Pratomsuksa 6 Students by Using Infusion Method for Teaching Science Learning Substance
รวิวรรณ แสนเมืองชิน ( Raviwan Saenmuangchin ) *
ดร. นิตยา เปลื้องนุช ( Dr. Nittaya Pluengnuch ) **
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการคิดพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสี่แยกสมเด็จ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านสี่แยกสมเด็จ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 100 คนการวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) รูปแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental design) ที่มีกลุ่มควบคุมที่ไม่เสมอภาค (Nonequivalent control group design)
ผลการวิจัย
1. ทักษะการคิดพื้นฐาน พบว่า คะแนนทักษะการคิดพื้นฐานหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ย (X) เท่ากับ 31.92 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 7.52 นักเรียนในกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย (X) เท่ากับ 23.42 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) เท่ากับ 7.13
2. เมื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการคิดพื้นฐานหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ t –test พบว่า คะแนนผลการทดสอบทักษะการคิดพื้นฐานหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก”
ABSTRACT
The purpose of this research were 1) to study the basic thinking skills of Pratomsuksa 6 students at Bansiyaksomdet School by using the infusion method and the learning activities following the teacher handbook, 2) to compare the basic thinking skills of Pratomsuksa 6 students by using the infusion method with the learning activities following the teacher handbook, and 3) to study the opinions of Pratomsuksa 6 students on the infusion method. The research target group was consisted of 100 Pratomsuksa 6 students at Bansiyaksomdet School , Kalasin office of Educational Service Area 3, First Semester of the Academic Year 2006. This is research is an experiment research in quasi-experimental design with nonequivalent control group design.
The result of the research showed that :
1. The students in experimental group made a mean score of 31.92 and the standard deviation of 7.52
on the basic thinking skills after class while the students in control group made a mean score of 23.42 and the standard deviation of 7.13
2. The basic thinking skill score of the students in experimental group comparing with the students in
control group were different with the significant static of .05
3. The student’s opinions toward the infusion method was “High” level.
คำสำคัญ : ทักษะการคิดพื้นฐาน การสอนแบบบูรณาการ
Key words : Basic Thinking Skills, Integrated Instruction
* นักศึกษาหลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU.19 January 2007
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น