++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2549

การแพร่กระจายของสารกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่สภาพแวดล้อม

มนุษย์เราเริ่มใช้สารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่สมัยก่อน สงครามโลกครั้งที่ 2 และจากความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ ของการผลิตพืชอาหารอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นเหตุให้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และมีวิวัฒนาการเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่จากการใช้สารเคมีทางการเกษตรจำนวนมาก ในการควบคุมศัตรูพืช เพื่อสนองตอบการเพิ่มจำนวนประชากรนี้เอง เป็นเหตุให้สารพิษจำนวนมาก ได้แพร่กระจายเข้าสู่สภาพแวดล้อม ปนเปื้อนในผลิตผลเกษตรกรรมและอาหาร และในที่สุดได้เข้าสู่วงจรห่วงโซ่อาหารของ มนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ปัญหาสารพิษตกค้างในผลิตผล เกษตรกรรม อาหารและสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นปัญหาที่ประเทศทั่วโลก ให้ความสนใจ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษหลังนี้ ปัญหาสารพิษนานาชนิดปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น แหล่งน้ำ ฯลฯ ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ตามลำดับ

เมื่อกล่าวถึงปัญหาสารพิษ ทางการเกษตร แพร่กระจายเข้าสู่แหล่งน้ำ เรามักจะนึกถึงสารพิษป้องกันและกำจัดแมลงและวัชพืชเป็นสำคัญ เพราะสารพิษทั้ง 2 ชนิดนี้ มีปริมาณการนำเข้ามาใช้ ภายในประเทศสูงเป็นลำดับต้นๆ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากการศึกษาวิจัย พบว่า ทั้ง 2 ชนิด ตกค้างและปนเปื้อนในแหล่งน้ำสำคัญทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ในจำนวนสารเคมีทางการเกษตรทั้งหลายนั้น สารที่ใช้ป้องกันและกำจัดแมลง นับว่ามีบทบาท ต่อเกษตร อุตสาหกรรม และสาธารณสุขมาก ถึงแม้ว่า ปริมาณการใช้ภายในประเทศมาก เป็นอันดับสองรองจากสารป้องกัน กำจัดวัชพืชก็ตาม

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องใช้สารพิษทางการเกษตร
ต้อง ฝึกอบรมคนงานผู้มีหน้าที่พ่นสารถึงเทคนิคการลด การสัมผัสกับสารโดยตรง อาทิ เช่น สวมเสื้อผ้า หมวก ถุงมือ รองเท้า หน้ากาก ปกปิดร่างกายให้มิดชิด

การแพร่กระจายของสารพิษเข้าสู่แหล่งน้ำ เช่น
1. การใช้สารกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืชน้ำ ในแหล่งน้ำชลประทาน หรือการใช้สารกำจัดแมลงในทางสาธารณสุข ทำลายตัวอ่อนของยุงในน้ำ เพื่อป้องกันไข้มาลาเรีย
2. การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมใกล้กับแหล่งน้ำ ละอองของสารพิษจากการฉีดพ่น ซึ่ง ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ อาจถูกพัดพาลงสู่แหล่งน้ำได้
3. การกัดเซาะของน้ำชะล้างหน้าดิน ซึ่งมีสารพิษทางการเกษตรหลงเหลืออยู่ เช่นน้ำไหลบ่าจกาที่สูง ผ่านพื้นผิวดินแล้วไหลลงสู่แหล่งน้ำ หรือน้ำฝนซึ่งจะชะล้างสารพิษที่ติดค้างอยู่บนพืชที่ปกคลุมดินและชะล้างดิน ที่ดูดซึมสารพิษไว้แล้วพัดพาลงสู่แหล่งน้ำ
4. การระบายน้ำทิ้งและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
5. การล้างหรือทิ้งภาชนะบรรจุสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชลงในแหล่งน้ำ ทำให้สารเคมีที่หลงเหลืออยู่ในภาชนะ แพร่กระจายเข้าสู่แหล่งน้ำได้เช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน หลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย กำลังประสบปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นพิษ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหา อันเกิดจากพิษภัยเหล่านี้ ได้มีความพยายามอย่างยิ่ง ที่จะควบคุมการใช้วัตถุมีพิษ ในทางที่จะลดปริมาณการใช้สารพิษที่เป็นอันตราย โดยหามาตราการการควบคุมศัตรูพืชที่แตกต่างไปจากวิธีที่ใช้อยู่เดิม เป็นต้นว่า โครงการพืชผักอนามัย โครงการลดการใช้สารเคมี โครงการเกษตรยั่งยืน โครงการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และโครงการใช้สารธรรมชาติเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เป้นต้น โครงการเหล่านี้ ล้วนมีเป้าหมายมให้การเกษตรกรรมกลับไปสู่สมดุลทางธรรมชาติ เช่น โครงการพืชผักอนามัย มีจุดมุ่งหมายให้ใช้ วัตถุมีพิษที่ถูกต้องกับชนิดของศัตรูพืช ในปริมาณน้อยที่สุด ที่มีประสิทธิภาพควบคุมแมลงศัตรูพืช โครงการเกษตรยั่งยืนเป็นหลักการและแนวความคิดทางเกษตรกรรม ที่เน้นหนักการผลิตที่เหมาะสมกับระบบนิเวศวิทยา โดยใช้ทรัพยากรกรผลิตอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิด ผลเสียต่อสภาพแวดล้อม โครงการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน ได้แนะนำการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น วิธีกลต่างๆ วิธีควบคุมทางชีววิทยา เช่น ใช้ชีวินทรีย์พวกไวรัสและแบคทีเรีย และโครงการใช้สารธรรมชาติเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช คือ การนำสารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ฯลฯ มาเป็นสารออกฤทธิ์และปรับปรุงแต่งให้อยู่ในรูปสูตรสำเร็จที่จะฉีดพ่นพืชผัก ผลไม้ เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช เป็นต้น โครงการเพื่อรณรงค์การลดการใช้ สารเคมีทางการเกษตรเหล่านี้ ได้มัการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการก่อนที่จะนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งหลายโครงการได้ผ่าน การทดสอบทั้งสภาพห้องปฏิบัติการ และสภาพไร่นา และได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และหลายโครงการได้นำออกเผยแพร่ต่อเกษตรกร โดยการสาธิตในสภาพจริงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว
โดยคุณ : ภิญญา จำรัสกุล -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น