มี "เสียง" กระทบกับ "อะไรหนอ ?"
จึงเกิด "จิตได้ยิน"
คำตอบ ก็คือ มี "เสียง" กระทบกับ "โสตปสาทรูป"
จึงเกิด "จิตได้ยิน" ทำให้ได้ยิน "เสียง" นั้น นั่นเอง.
.........................................
กราบนอบน้อมอาราธนา
'พระสัพพัญญูพุทธเจ้า'
.........................................
{โสตปสาทรูป}
โสต (หู) + ปสาท (ใส, ผ่องใส) + รูป (รูป)
"รูป" ที่มีความ "ผ่องใส" คือ "หู"
หมายถึง "รูป" ที่เกิดจาก "กรรม"
ที่มีความ "ผ่องใส"
สามารถรับกระทบกับ "เสียง" ต่าง ๆ
ตั้งอยู่ภายในช่องหู
มีสัณฐานเหมือนวงแหวน
มีขนสีแดงอย่างละเอียดงอกอยู่
ทำหน้าที่ได้ ๒ อย่าง คือ..
๑. เป็นโสตวัตถุ
ที่เกิดของโสตวิญญาณ (จิตได้ยิน) ๒ ดวง
๒. เป็นโสตทวาร
ทางรู้อารมณ์ของโสตทวารวิถีจิต
..............................................
{โสตวิญญาณ} "จิตได้ยิน"
โสต (หู) + วิญฺญาณ (สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์, จิต)
สภาพรู้แจ้งอารมณ์ทางหู
หมายถึง อเหตุกวิบากจิต ๒ ดวง
ซึ่งเกิดที่โสตวัตถุ (โสตปสาท)
ทำสวนกิจ คือ รับรู้สัททารมณ์
ที่กระทบทางหู
(เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง รับรู้เสียงที่ดี
เป็นอกุศลวิบาก ๑ ดวง รับรู้เสียงที่ไม่ดี)
โสตวิญญาณ (จิตได้ยิน)
เกิดร่วมกับ "อุเบกขาเวทนา" ทั้ง ๒ ดวง
มี "เสียง" ไม่มี "อะไรหนอ ?"
จึงไม่มีการเกิดขึ้นของ "จิตได้ยิน"
คำตอบ ก็คือ มี "เสียง" ไม่มี "โสตปสาทรูป"
จึงไม่มีการเกิดขึ้นของ "จิตได้ยิน"
เป็นคนพิการ "หูหนวก" นั่นเอง.
................................................
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
................................................
ลักษณะแห่งการอบรมเจริญปัญญา 'ญาณ'
ทางอินทรีย์ หรือ "อินทรียภาวนา" ชั้นเลิศ
.........................................
กราบนอบน้อมอาราธนา
'พระสัพพัญญูพุทธเจ้า'
.........................................
อานนท์ อินทรียภาวนาชั้นเลิศ
(อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)
ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ในกรณีนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่ชอบใจ และ ไม่เป็นที่ชอบใจ
เกิดขึ้นแก่ภิกขุ เพราะเห็น "รูป" ด้วย "ตา"
ภิกขุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า...
"อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)
เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก)
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน);
แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับ และ ประณีต,
กล่าวคือ "อุเบกขา" ดังนี้... (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่ชอบใจ และ ไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกขุนั้น ย่อมดับไป,
"อุเบกขา" ยังคงดำรงอยู่.
อานนท์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่ชอบใจ และ ไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกขุนั้น
ย่อม "ดับ" ไป "เร็ว"
เหมือน "การกระพริบตา" ของคน
ส่วน "อุเบกขา" ยังคงเหลืออยู่.
อานนท์ นี้แล เรา 'ตถาคต' เรียกว่า...
อินทรียภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่ง "รูป" ที่รู้แจ้งด้วย "จักษุ"
(ในกรณีแห่ง "เสียง" ที่รู้แจ้งด้วย "โสตะ"
กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ
รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา
โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย
และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ
ก็ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็ว
ในการดับแห่งอารมณ์นั้นๆ
คือ ในกรณีแห่ง "เสียง"
เปรียบด้วยความเร็ว
แห่งการดีดนิ้วมือ เป็นต้น)
..........................................
ในขณะที่ได้ยินเสียง ได้กลิ่น
ลิ้มรส กระทบสัมผัส ก็เช่นกัน
ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะ "ปกตูปนิสสยปัจจัย"
คือ กรรมหนึ่งกรรมใด ที่มีกำลัง
เป็น "ปกตูปนิสสยปัจจัย"
ทำให้วิบากจิตนั้นๆ เกิดขึ้น
"รู้" อารมณ์ที่กำลัง "ปรากฏ" ในขณะนั้นๆ
(ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
และ ทางใจ)
{อารมณ์มี ๖}
"รู้" ได้
ทางทวารทั้ง ๖
คือ......
๑. รูปารมณ์
"รู้" ได้ ทางตา (จักขุทวาร)
๒. สัททารมณ์
"รู้" ได้ทางหู (โสตทวาร)
๓. คันธารมณ์
"รู้" ได้ทางจมูก (ฆานทวาร)
๔. รสารมณ์
"รู้" ได้ทางลิ้น (ชิวหาทวาร)
๕. โผฏฐัพพารมณ์
"รู้" ได้ ทางกายทวาร.
๖. ธัมมารมณ์
"รู้" ได้ทางมโนทวาร.
{อารมณ์ที่ ๖ ธัมมารมณ์}
เป็นอารมณ์ ที่ "รู้" ได้
เฉพาะ "ทางใจ" ทางเดียว เท่านั้น
มี ๖ อย่าง คือ......
ปสาทรูป ๕
สุขุมรูป ๑๖
จิต
เจตสิก
นิพพาน
บัญญัติ.
................................................
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
................................................
วาจาจริง ไม่ใช่พาล
ไม่ได้เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน
แต่... อนุเคราะห์ให้ได้เข้าใจถูก
เมื่อได้พิจารณาว่าถูกหรือเปล่า จริงแค่ไหน
เพราะว่า... "ความจริง"
ต้องเป็น "ความจริง" ตลอด
จะเป็นเท็จไม่ได้
เพราะฉะนั้นไม่ได้เบียดเบียน ไม่ใช่พาล
แต่... คำไม่จริงต้องเป็นพาลแน่
เพราะ.. ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
และ สังเกตดูว่า.. "บางคน" พอใจ
ที่จะคบคำผิด ความเห็นผิด
ความเข้าใจผิดหรือเปล่า
แทนที่จะได้รู้ว่าบัณฑิต
คือ ผู้มีวาจาสัจจะ
และ ทุกคำเป็นประโยชน์เกื้อกูล
แต่การสะสมมาอาจจะทำให้ "บางคน"
ไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้
เพราะ "คนนั้น" นิยมความเป็นพาล ง่าย ๆ
แต่ว่า.. โทษมากเหลือเกิน
เพราะ.. ไม่ใช่คำจริง
ด้วยเหตุนี้ "ข้อแรก" คือ "ไม่คบพาล"
หมายความว่า การคบ คือ "สนิท" คุ้นเคย
การคุ้นเคยบ่อย ๆ
ทำให้พลอยเป็นไปด้วย
ค่อย ๆ ซึมไปทีละน้อย
อาหารบางอย่าง
ครั้งแรกที่ดื่ม หรือ รับประทาน
รู้สึกว่าทนไม่ไหว ขมขื่นบ้างอะไรบ้าง
แต่พอคุ้นเคยมาก ๆ ชอบ
เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า..
เมื่ออาศัยความไม่รู้ ว่า..
อะไรเป็นคุณเป็นโทษแล้วก็เสพจนคุ้น
ก็ย่อมเป็นไปตามสิ่งนั้น นั่นเอง.
*
ยิ่งสนิท "คุ้นเคย"
กับทางฝ่าย "กุศล"
ทำให้เป็นอย่างไรหนอ ?
คำตอบ ก็คือ คุ้นเคยกับทางฝ่าย "กุศล"
ทำให้บุญ "กุศล" ความดี
ก็จะมีกำลังขึ้น นั่นเอง.
ใครนั้น ก็คือ "คนชั่ว"
ที่กล่าวตู่ 'พระพุทธเจ้า' นั่นเอง
ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า "ผู้ตกต่ำ" อย่างไรหนอ ?
สัตว์ผู้ไปต่ำ ก็คือ สัตว์ที่ไปสู่นรก
ไปสู่ดิรัจฉานกำเนิด ไปสู่เปรตวิสัย
ชื่อว่า "ไปต่ำ"
ผู้ไปต่ำอย่างนี้ จึงชื่อว่า "ผู้ตกต่ำ"
การ "กล่าวตู่" หมายถึง พูดมุสา พูดไม่จริง
ทำให้คนอื่นเสียหาย เดือดร้อน บาปมาก
ตัวอย่าง เช่น นางจิณจมาณวิกา
กล่าวตู่ว่า ได้มีท้องกับพระพุทธเจ้า
ภายหลังก็ถูกจับได้
และ ถูกแผ่นดิบสูบไปสู่อเวจีนรก
...................................................
การ "กล่าวตู่" พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีโทษอย่างไรหนอ ?
ถูกแผ่นดิบสูบไปสู่อเวจีนรก
บุคคล "บางคน" ในโลกนี้
เป็นคนไม่ดี, ชั่ว (เป็นคนเลว)
ทำลายพุทธศาสนาแต่งตำราออกขาย
ได้เงินมากมาย แบบสบายๆ
เรา "คนชั่ว" ไม่กลัวความผิดพลาดใดๆ
เรา "ยอมผิด" บ่อยๆ (แต่.. สวดอิติปิโส
ตลอดวัน ตลอดคืน แม้จะสวดจน "ตลอดชีวิต")
เมื่อแตกกายตายไป เข้าสู่ทุคติ
อบายภูมิ มี "นรก" เป็นต้น
เวียนว่ายตายเกิดไม่จบไม่สิ้น
'พระพุทธเจ้า' ตรัสว่า...
ดูกรกัจจานะ "ธาตุ" คือ "อวิชชา" นี้
เป็นธาตุใหญ่แล
ดูกรกัจจานะ
สัญญาที่เลว ทิฏฐิที่เลว
วิตกที่เลว เจตนาที่เลว ความปรารถนาที่เลว
ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว
บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยธาตุที่เลว
บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง
ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย
ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่เลว
เรา 'ตถาคต' กล่าวว่า...
อุปบัติของบุคคลที่เลวนั้น ย่อมเลว.
**
ไม่มีการฟัง (อ่าน, ศึกษา) พระธรรม
คำสอนของ 'พระพุทธเจ้า'
จะสามารถรู้แจ้ง "สภาพธรรม"
ตามความเป็นจริง ได้ไหม ?
คำตอบ ก็คือ "ไม่ได้"
ถ้ายัง "ทะลึ่ง" คิดนึกเอาเอง
คาดคะเนเอาเอง แต่งตำราเอาเอง
จะไม่สามารถรู้แจ้ง "สภาพธรรม"
ตามความเป็นจริง.
จึงเกิด "จิตได้ยิน"
คำตอบ ก็คือ มี "เสียง" กระทบกับ "โสตปสาทรูป"
จึงเกิด "จิตได้ยิน" ทำให้ได้ยิน "เสียง" นั้น นั่นเอง.
.........................................
กราบนอบน้อมอาราธนา
'พระสัพพัญญูพุทธเจ้า'
.........................................
{โสตปสาทรูป}
โสต (หู) + ปสาท (ใส, ผ่องใส) + รูป (รูป)
"รูป" ที่มีความ "ผ่องใส" คือ "หู"
หมายถึง "รูป" ที่เกิดจาก "กรรม"
ที่มีความ "ผ่องใส"
สามารถรับกระทบกับ "เสียง" ต่าง ๆ
ตั้งอยู่ภายในช่องหู
มีสัณฐานเหมือนวงแหวน
มีขนสีแดงอย่างละเอียดงอกอยู่
ทำหน้าที่ได้ ๒ อย่าง คือ..
๑. เป็นโสตวัตถุ
ที่เกิดของโสตวิญญาณ (จิตได้ยิน) ๒ ดวง
๒. เป็นโสตทวาร
ทางรู้อารมณ์ของโสตทวารวิถีจิต
..............................................
{โสตวิญญาณ} "จิตได้ยิน"
โสต (หู) + วิญฺญาณ (สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์, จิต)
สภาพรู้แจ้งอารมณ์ทางหู
หมายถึง อเหตุกวิบากจิต ๒ ดวง
ซึ่งเกิดที่โสตวัตถุ (โสตปสาท)
ทำสวนกิจ คือ รับรู้สัททารมณ์
ที่กระทบทางหู
(เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง รับรู้เสียงที่ดี
เป็นอกุศลวิบาก ๑ ดวง รับรู้เสียงที่ไม่ดี)
โสตวิญญาณ (จิตได้ยิน)
เกิดร่วมกับ "อุเบกขาเวทนา" ทั้ง ๒ ดวง
มี "เสียง" ไม่มี "อะไรหนอ ?"
จึงไม่มีการเกิดขึ้นของ "จิตได้ยิน"
คำตอบ ก็คือ มี "เสียง" ไม่มี "โสตปสาทรูป"
จึงไม่มีการเกิดขึ้นของ "จิตได้ยิน"
เป็นคนพิการ "หูหนวก" นั่นเอง.
................................................
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
................................................
ลักษณะแห่งการอบรมเจริญปัญญา 'ญาณ'
ทางอินทรีย์ หรือ "อินทรียภาวนา" ชั้นเลิศ
.........................................
กราบนอบน้อมอาราธนา
'พระสัพพัญญูพุทธเจ้า'
.........................................
อานนท์ อินทรียภาวนาชั้นเลิศ
(อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)
ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ในกรณีนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่ชอบใจ และ ไม่เป็นที่ชอบใจ
เกิดขึ้นแก่ภิกขุ เพราะเห็น "รูป" ด้วย "ตา"
ภิกขุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า...
"อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)
เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก)
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน);
แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับ และ ประณีต,
กล่าวคือ "อุเบกขา" ดังนี้... (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่ชอบใจ และ ไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกขุนั้น ย่อมดับไป,
"อุเบกขา" ยังคงดำรงอยู่.
อานนท์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่ชอบใจ และ ไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกขุนั้น
ย่อม "ดับ" ไป "เร็ว"
เหมือน "การกระพริบตา" ของคน
ส่วน "อุเบกขา" ยังคงเหลืออยู่.
อานนท์ นี้แล เรา 'ตถาคต' เรียกว่า...
อินทรียภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่ง "รูป" ที่รู้แจ้งด้วย "จักษุ"
(ในกรณีแห่ง "เสียง" ที่รู้แจ้งด้วย "โสตะ"
กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ
รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา
โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย
และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ
ก็ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็ว
ในการดับแห่งอารมณ์นั้นๆ
คือ ในกรณีแห่ง "เสียง"
เปรียบด้วยความเร็ว
แห่งการดีดนิ้วมือ เป็นต้น)
..........................................
ในขณะที่ได้ยินเสียง ได้กลิ่น
ลิ้มรส กระทบสัมผัส ก็เช่นกัน
ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะ "ปกตูปนิสสยปัจจัย"
คือ กรรมหนึ่งกรรมใด ที่มีกำลัง
เป็น "ปกตูปนิสสยปัจจัย"
ทำให้วิบากจิตนั้นๆ เกิดขึ้น
"รู้" อารมณ์ที่กำลัง "ปรากฏ" ในขณะนั้นๆ
(ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
และ ทางใจ)
{อารมณ์มี ๖}
"รู้" ได้
ทางทวารทั้ง ๖
คือ......
๑. รูปารมณ์
"รู้" ได้ ทางตา (จักขุทวาร)
๒. สัททารมณ์
"รู้" ได้ทางหู (โสตทวาร)
๓. คันธารมณ์
"รู้" ได้ทางจมูก (ฆานทวาร)
๔. รสารมณ์
"รู้" ได้ทางลิ้น (ชิวหาทวาร)
๕. โผฏฐัพพารมณ์
"รู้" ได้ ทางกายทวาร.
๖. ธัมมารมณ์
"รู้" ได้ทางมโนทวาร.
{อารมณ์ที่ ๖ ธัมมารมณ์}
เป็นอารมณ์ ที่ "รู้" ได้
เฉพาะ "ทางใจ" ทางเดียว เท่านั้น
มี ๖ อย่าง คือ......
ปสาทรูป ๕
สุขุมรูป ๑๖
จิต
เจตสิก
นิพพาน
บัญญัติ.
................................................
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
................................................
วาจาจริง ไม่ใช่พาล
ไม่ได้เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน
แต่... อนุเคราะห์ให้ได้เข้าใจถูก
เมื่อได้พิจารณาว่าถูกหรือเปล่า จริงแค่ไหน
เพราะว่า... "ความจริง"
ต้องเป็น "ความจริง" ตลอด
จะเป็นเท็จไม่ได้
เพราะฉะนั้นไม่ได้เบียดเบียน ไม่ใช่พาล
แต่... คำไม่จริงต้องเป็นพาลแน่
เพราะ.. ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
และ สังเกตดูว่า.. "บางคน" พอใจ
ที่จะคบคำผิด ความเห็นผิด
ความเข้าใจผิดหรือเปล่า
แทนที่จะได้รู้ว่าบัณฑิต
คือ ผู้มีวาจาสัจจะ
และ ทุกคำเป็นประโยชน์เกื้อกูล
แต่การสะสมมาอาจจะทำให้ "บางคน"
ไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้
เพราะ "คนนั้น" นิยมความเป็นพาล ง่าย ๆ
แต่ว่า.. โทษมากเหลือเกิน
เพราะ.. ไม่ใช่คำจริง
ด้วยเหตุนี้ "ข้อแรก" คือ "ไม่คบพาล"
หมายความว่า การคบ คือ "สนิท" คุ้นเคย
การคุ้นเคยบ่อย ๆ
ทำให้พลอยเป็นไปด้วย
ค่อย ๆ ซึมไปทีละน้อย
อาหารบางอย่าง
ครั้งแรกที่ดื่ม หรือ รับประทาน
รู้สึกว่าทนไม่ไหว ขมขื่นบ้างอะไรบ้าง
แต่พอคุ้นเคยมาก ๆ ชอบ
เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า..
เมื่ออาศัยความไม่รู้ ว่า..
อะไรเป็นคุณเป็นโทษแล้วก็เสพจนคุ้น
ก็ย่อมเป็นไปตามสิ่งนั้น นั่นเอง.
*
ยิ่งสนิท "คุ้นเคย"
กับทางฝ่าย "กุศล"
ทำให้เป็นอย่างไรหนอ ?
คำตอบ ก็คือ คุ้นเคยกับทางฝ่าย "กุศล"
ทำให้บุญ "กุศล" ความดี
ก็จะมีกำลังขึ้น นั่นเอง.
ใครนั้น ก็คือ "คนชั่ว"
ที่กล่าวตู่ 'พระพุทธเจ้า' นั่นเอง
ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า "ผู้ตกต่ำ" อย่างไรหนอ ?
สัตว์ผู้ไปต่ำ ก็คือ สัตว์ที่ไปสู่นรก
ไปสู่ดิรัจฉานกำเนิด ไปสู่เปรตวิสัย
ชื่อว่า "ไปต่ำ"
ผู้ไปต่ำอย่างนี้ จึงชื่อว่า "ผู้ตกต่ำ"
การ "กล่าวตู่" หมายถึง พูดมุสา พูดไม่จริง
ทำให้คนอื่นเสียหาย เดือดร้อน บาปมาก
ตัวอย่าง เช่น นางจิณจมาณวิกา
กล่าวตู่ว่า ได้มีท้องกับพระพุทธเจ้า
ภายหลังก็ถูกจับได้
และ ถูกแผ่นดิบสูบไปสู่อเวจีนรก
...................................................
การ "กล่าวตู่" พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีโทษอย่างไรหนอ ?
ถูกแผ่นดิบสูบไปสู่อเวจีนรก
บุคคล "บางคน" ในโลกนี้
เป็นคนไม่ดี, ชั่ว (เป็นคนเลว)
ทำลายพุทธศาสนาแต่งตำราออกขาย
ได้เงินมากมาย แบบสบายๆ
เรา "คนชั่ว" ไม่กลัวความผิดพลาดใดๆ
เรา "ยอมผิด" บ่อยๆ (แต่.. สวดอิติปิโส
ตลอดวัน ตลอดคืน แม้จะสวดจน "ตลอดชีวิต")
เมื่อแตกกายตายไป เข้าสู่ทุคติ
อบายภูมิ มี "นรก" เป็นต้น
เวียนว่ายตายเกิดไม่จบไม่สิ้น
'พระพุทธเจ้า' ตรัสว่า...
ดูกรกัจจานะ "ธาตุ" คือ "อวิชชา" นี้
เป็นธาตุใหญ่แล
ดูกรกัจจานะ
สัญญาที่เลว ทิฏฐิที่เลว
วิตกที่เลว เจตนาที่เลว ความปรารถนาที่เลว
ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว
บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยธาตุที่เลว
บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง
ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย
ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่เลว
เรา 'ตถาคต' กล่าวว่า...
อุปบัติของบุคคลที่เลวนั้น ย่อมเลว.
**
ไม่มีการฟัง (อ่าน, ศึกษา) พระธรรม
คำสอนของ 'พระพุทธเจ้า'
จะสามารถรู้แจ้ง "สภาพธรรม"
ตามความเป็นจริง ได้ไหม ?
คำตอบ ก็คือ "ไม่ได้"
ถ้ายัง "ทะลึ่ง" คิดนึกเอาเอง
คาดคะเนเอาเอง แต่งตำราเอาเอง
จะไม่สามารถรู้แจ้ง "สภาพธรรม"
ตามความเป็นจริง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น