ความสุขสามารถเพิ่มค่าได้ด้วยการเพิ่มตัวแปรสำคัญ
เข้าไปในกลไกแห่งความสุข ดังนี้
• เพิ่มความดี
ความดีเป็นตัวแปรของความสุขประการหนึ่ง
แต่ความ สัมพันธ์ระหว่างความดีกับความสุขนั้น
อยู่ที่ตัวปรับค่าสองตัว คือ ความดีที่พอดี
กับความเป็นอิสระเหนือความดี
ความดีที่พอดี
ความดีที่พอดีจึงนำมาซึ่งความสุข
ส่วนความขาดพอดี หรือเกินพอดี
ล้วนนำภัยและหายนะมาให้ได้ เช่น
พ่อแม่ที่ให้กำเนิดลูกแล้ว ถือว่าให้ชีวิตแล้วก็ดีแล้ว
ที่เหลือดิ้นรนเอาเอง ดิ้นรนไม่ได้ก็ตายไป
แล้วละทิ้งลูก ก็จะถูกลูกผูกอาฆาต
แม้ไม่ผูกโกรธก็มักมีปัญหาและสร้างปัญหา
ให้กับสังคมนานาประการ นั่นเพราะดีน้อยไป
หรือพ่อแม่ที่หลงลูก ดีกับลูกเกินพอดี
พยายามตามใจ ลูกทุกกรณี
แม้ความต้องการของลูกจะดีหรือไม่ก็ตาม
แม้นั่นจะดูเหมือนดี และทำไปด้วยความรัก
ความหวังดีจริงๆ แต่เป็นการทำลายอนาคตลูกในระยะยาว
ลูกจะเสียนิสัย เสียคน และสร้างกรรมชั่วร้าย
ที่ไร้ความเป็นธรรมมากมาย
สร้างผลกระทบที่ไม่ดีต่อคนอื่น
และในที่สุดลูกที่ได้รับการปรนเปรอเกินพอดีนั่นเอง
จะกลับมาเนรคุณพ่อแม่ที่อยาก ดีจนเกินพอดี
ความเป็นอิสระเหนือความดี
ดังที่เห็นแล้วว่าการหลงดี บ้าดี เมาดี
ก็เป็นที่มาแห่งทุกข์ภัยทั้งหลาย
การทะเลาะเบาะแว้งและสงครามทั้งหมด
ล้วนเกิดมาจากต่างคนต่างถือดี
และดูหมิ่นว่าคนอื่นชั่ว หรือดีน้อยกว่า ตนทั้งสิ้น
การหลงว่าตนดีกว่าคนอื่น
จึงคือจุดเริ่มต้นของความ เลวร้ายและหายนะภัย
ดังนั้น ความดีนั้นดี แต่ความหลงดีนั้นชั่ว
จะดีให้ดีต้องเป็นอิสระเหนือความดีด้วยเสมอ
เสมือนการสร้างบ้านอาศัย
เราต้องเป็นอิสระเหนือบ้านจึงจะสร้างบ้านสำเร็จ
ดังนั้นทำดีให้พอดี และเป็นอิสระเหนือความดีเสมอ
ความดีที่ทำก็จะผันมาเป็น
ปัจจัยแห่งความสุขอย่างสงบโดยไม่พยศ
• เพิ่มความยินดี
เทคนิคที่ง่ายและลัดย่อในการพัฒนาความสุข
คือ เพิ่มความยินดีในทุกสิ่งที่มี และทุกกิจที่ทำ
ตนนั้นหากไม่ยินดีในตน
ก็จะอยู่ไปอย่างไร้ความภาคภูมิ ด้อยความเชื่อมั่น
แต่หากเพิ่มความยินดีเข้าไปในตน
ความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นก็จะเริ่มปรากฏขึ้น
และจะเริ่มเป็นความสุขในตน
เมื่อเป็นความสุขมากๆ จิตใจก็สงบ มั่นคง
เมื่อมั่นคงมากๆ จิตใจก็มีพลังอำนาจมากขึ้น
ครอบครัวที่มีนั้น หากไม่ยินดีก็จะอยู่กัน
ด้วยความเบื่อ- หน่าย เซ็ง หรืออาจถึงกับเกลียดชังกัน
แต่หากใส่ความยินดีในครอบครัวเข้าไป
ที่เคยเป็นทุกข์ก็จะเริ่มผันเป็นสุข
ยิ่งเพิ่มค่าความยินดี ค่าความสุขก็จะเพิ่มมากขึ้น
หรือแม้การงานที่ทำ หากไม่ยินดีก็จะเบื่อหน่าย
ขี้เกียจ หรือเครียดได้ แต่หากใส่ความยินดีเข้าไป
ในงานที่เคยเบื่อหน่ายก็จะรู้สึกท้าทายขึ้นมา
ยิ่งเพิ่มค่าความยินดีเข้าไป
มากงานที่เคยทำให้เครียด
ก็จะกลายเป็นงานที่สนุกขึ้นมา
ดังนั้นความยินดี
จึงเป็นตัวเพิ่มค่าความสุขในทุกสิ่งโดยตรง
• เพิ่มความเชื่อมั่น
ความเชื่อมั่นทำให้เกิดความอบอุ่น
ความเชื่อมั่นในตนเองก็ทำให้อบอุ่นในตัวเอง
ความเชื่อมั่นในครอบครัว
ก็ทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว
ความเชื่อมั่นในหมู่คณะก็ทำให้อบอุ่นในหมู่คณะ
ความเชื่อมั่นที่มากขึ้นจะทำให้ความสุขมากขึ้น
ความเชื่อมั่นจะมากขึ้นได้ก็ด้วยความเข้าใจตน
และความเข้าใจกันและกัน
บนฐานความจริงใจผสานความไว้วางใจได้
ดังนั้น การยังความเข้าใจกันและกันเสมอ
จริงใจต่อกันจริง และทำตนให้เป็นที่ไว้ใจได้
เป็นตัวแปรเพิ่มค่าแก่ความสุขที่พึงยังให้เกิดขึ้นเสมอ
• เพิ่มสมาธิ
สมาธิ คือ บ้านของความสุข
การเพิ่มสมาธิ คือ การขยายบ้านแห่งความสุข
ให้กว้างขวางมากขึ้น ก็จะมีความสุขเหลือ เฟือมากขึ้น
ตลอดเวลาที่อยู่ในสมาธิ
จิตใจร่างกายย่อมเป็นสุขอย่างยิ่ง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ใยเล่าจะไม่เพิ่มสมาธิ
ให้มากขึ้นในชีวิตจิตใจเสมอ
• เพิ่มความสำเร็จอันชอบ
ความสำเร็จในปรารถนาอันชอบ
ย่อมยังความสุขให้บังเกิด
ในขณะที่ความสำเร็จในปรารถนาอันไม่สมควร
ย่อมนำทุกข์ภัยมาให้ในที่สุด
ดังนั้น เมื่อมีปรารถนาใดๆ ให้ตรวจสอบก่อนว่า
ปรารถนานั้นเป็นปรารถนาอันชอบหรือไม่
หากเป็นปรารถนาอันชอบ
ก็ควรทุ่มเททำให้สำเร็จ
เมื่อสำเร็จแล้วย่อมเป็นสุขโดยสมควร
แต่หากเป็นปรารถนาอันไม่ชอบ
คือ เป็นการเบียดเบียนตน หรือเบียดเบียนคนอื่น
หรือทั้งสองอย่าง หรือเป็นความเพ้อเจ้อที่เป็นไปไม่ได้
หรือเป็นไปได้แต่ไม่คุ้มค่า
เหล่านี้ล้วน เป็นปรารถนาอันไม่ชอบที่ไม่ควรทำตาม
ขืนทำ จะเป็น ทุกข์กาย ทุกข์ใจภายหลัง
• เพิ่มปัญญา
ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้จิตใจมืดมน
คิดพล่าน ฟุ้งซ่าน สงสัย เครียด
คือ ความมีปัญญาน้อยไปจนไม่เข้าใจสิ่งต่างๆ
ที่ชีวิตต้องเผชิญ หรือปัญญาเฉเก
จนเข้าใจสิ่งต่างๆ ผิดพลาดไป
ซึ่งสร้างปัญหานานาประการต่อเนื่องตามมาในชีวิต
ความเข้าใจนั้นเป็นความแจ่มแจ้งแห่งจิต
หรือพูดอีกนัยหนึ่ง จิตที่แจ่มแจ้งย่อมมีความเข้าใจชัดเจน
แม่นยำและหากจิตได้รับการฝึกมาดีจนไร้ขอบเขต
ก็ย่อมมีปัญญาอันไร้ขอบเขตด้วยเช่นกัน
ปัญญาทั้งหมดเป็นคุณสมบัติแห่งจิตในการรู้
ดังนั้น ตัวแปรในการเกิดปัญญา คือ จิตโดยตรง
ปัญญาเป็นปัจจัยหลักแห่งความเข้าใจ
ความเข้าใจที่ถูกต้อง
เป็นปัจจัยแห่งความปลอดโปร่งแห่งชีวิต
ความโปร่งเบาสบายเป็นปัจจัยแห่งความสุข
ดังนั้น ยิ่งเข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างแม่นยำชัดเจนมาก
ย่อมหาความสุขได้ง่ายจากทุกสิ่งในทุกภาวการณ์
เช่น หากเจ็บป่วย และไม่เข้าใจว่าทำไม
ตนต้องเจ็บป่วยด้วยก็จะเต็มไปด้วยความอึดอัด
และไม่ชอบใจภาวะที่ตนต้องเผชิญ
แต่หากเต็มไปด้วยความเข้าใจว่า
ที่ป่วยเพราะดูแล ตัวเองผิดไปนิดเดียว
หรือเพราะลืมดูแลตัวเองไปหน่อย
จึงไปดื่มสารพิษเข้าไป
เพียงแค่เลิกทำลายตัวเองด้วยสารพิษ
หรือมนุษย์มลพิษ ตนก็ไม่ต้องป่วย
เมื่อปัญญาเข้าใจแจ่มแจ้ง
จะทำให้เกิดความตั้งใจที่จะไม่ทำพลาดอีก
และจะรักษาสุขภาพด้วยดี
ความเข้าใจและความตั้งใจออกจากปัญหานั้น
จะทำให้
จิตใจโปร่งโล่งและเป็นสุขสบายโดยสมควร
ปัญญาดี จึงมีความสุขโดยง่าย
ปัญญาร้าย ความสุขจักหายโดยพลัน
• เพิ่มอิสรภาพ
อิสรภาพเป็นปัจจัยโดยตรงของความสุข
หากชีวิตจิตใจถูกคุมขังให้อยู่โดยไม่อยากอยู่
หรือถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ต้องการทำ
จิตใจจะเต็มไปด้วยความอึดอัด
ขัดขืนต่อต้านและทุกข์ตรมทุกขณะ
ที่ต้องอยู่หรือต้องทำในสิ่งที่ไม่ปรารถนานั้น
ในทางตรงกันข้าม หากชีวิตมีอิสระที่จะเลือก
ในสิ่งที่ตนต้องการจริงๆ เสมอ
ก็จะเป็นสุขในอิสรภาพนั้น
ดังนั้น จงทำใจให้อิสระ และเลือกใช้ชีวิต
ด้วยกลยุทธ์ทางปัญญาที่เหนือชั้นให้มาก
อย่าทำตัวเหมือนเดรัจฉานให้ คนเขาหลอกใช้
• เพิ่มความบริสุทธิ์
ยิ่งบริสุทธิ์มาก ก็ยิ่งสุขสนิทและนิจนิรันดร์
ไม่มีอะไรอีกแล้วในจักรวาลทั้งปวง
ที่จะมีค่ายิ่งไปกว่าความสุขอันบริสุทธิ์
การเพิ่มค่าความบริสุทธิ์
จึงเป็นการเพิ่มค่าความสุขสูงสุดโดยตรง
ดังนั้นจงหมั่นชำระจิตใจตนให้บริสุทธิ์เสมอ
เหล่านี้คือการเพิ่มค่าความสุขให้มากขึ้น เข้มขึ้น สูงส่งขึ้น
ที่มา http://www.rd.go.th/region6
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น